สําเนาว์ ฤทธิ์นุช ต้นตำรับเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

26 มิถุนายน 2556 ปราชญ์ของแผ่นดิน 0

“เห็ดฟาง” เป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักดีและนิยมบริโภคมากที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นเห็ดที่มีการวางขายกันทั่วประเทศและมีตลอดทั้งปี วิธีการเพาะเห็ดฟางในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีรูปแบบในการเพาะมากมายหลายวิธีจนถึงรูปแบบอุตสาหกรรม เช่น การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อส่งผลผลิตเข้าแปรรูปเป็นเห็ดฟางกระป๋องเพื่อการส่งออก ที่ผ่านมาการเพาะเห็ดแบบนี้ส่วนใหญ่จะล้มเหลวและพบกับสภาวะขาดทุน เนื่องจากเป็นวิธีการเพาะที่ใช้ต้นทุนในการผลิตสูงและมีเทคโนโลยีค่อนข้างซับซ้อน ในขณะที่วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบชาวบ้านส่วนใหญ่จะเพาะแบบกองเตี้ย ถึงแม้วิธีการนี้จะเป็นรูปแบบการเพาะที่ต้นทุนต่ำก็จริง แต่จะพบข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ทำแล้วจะต้องทำอีก

อาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ได้ประยุกต์วิธีการเพาะเห็ดแบบกองเตี้ยเข้ากับวิธีการเพาะเห็ดแบบโรงเรือนมาเป็น วิธีการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติก ประสบผลสำเร็จได้ผลผลิตเห็ดฟางดีและลงทุนน้อย นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของการเพาะเห็ดฟางเนื่องจากปฏิบัติได้ง่ายและปลอดสารพิษ นับเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจมากในขณะนี้

อาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท ได้คิดค้นวิธีการเพาะเห็ดฟางแนวใหม่ขึ้น คือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยประยุกต์จากวิธีการเพาะเห็ดแบบกองเตี้ยเข้ากับวิธีการเพาะเห็ดแบบโรงเรือน ที่มาของแนวคิดนี้ก็เนื่องมาจากการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อส่งผลผลิตเข้าแปรรูปเป็นเห็ดฟางกระป๋องเพื่อการส่งออก ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะล้มเหลวและพบกับสภาวะขาดทุน เพราะเป็นวิธีการเพาะที่ใช้ต้นทุนในการผลิตสูงและมีเทคโนโลยีค่อนข้างซับซ้อน ในขณะที่วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบชาวบ้านส่วนใหญ่จะเพาะแบบกองเตี้ย ถึงแม้วิธีการนี้จะเป็นรูปแบบการเพาะที่ต้นทุนต่ำก็จริง แต่จะพบข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ทำแล้วจะต้องทำอีก ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดนี้ขึ้น การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้มีข้อดีหลายอย่าง คือ วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ สามารถทำไว้บริโภคภายในครัวเรือน หรือเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลในหมู่บ้านหรือผู้บริโภคอื่นๆได้ สะดวกในการขนย้ายผลผลิต สามารถทำได้ยั่งยืน และเป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านได้ เห็ดฟางที่ได้เป็นเห็ดที่มีความปลอดภัย ไร้สารพิษ และมีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกาย

soanouhed

จากการศึกษาและทดลองเปรียบเทียบข้อดีของการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกเปรียบเทียบกับการเพาะวิธีอื่น พอที่จะสรุปข้อดีได้หลายประการ อาทิ ใช้พื้นที่ในการเพาะน้อยและไม่จำเป็นจะต้องย้ายพื้นที่บ่อยๆ เพาะได้ทั้งกลางแจ้ง ใต้ร่มไม้ใหญ่ ฯลฯ วัสดุที่ใช้เพาะหาได้ง่ายในท้องถิ่นแล้วแต่จะประยุกต์ใช้ ถ้าเกิดความเสียหายจากการระบาดของโรคและแมลงจะเสียหายเฉพาะในตะกร้านั้น ไม่ค่อยลามไปยังตะกร้าอื่น การเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติกใช้เงินลงทุนต่ำ ใช้แรงงานน้อย และมีวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก “การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก” จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปฏิบัติกันต่อไป

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น