หญ้าชันกาด เป็นพืชจำพวกหญ้าขน แต่ตามต้นใบไม่มีขน ดอกกลมเล็กๆ สีขาว เป็นช่อกระจุก ออกตามยอด มีหัวเป็นข้อๆ คล้ายขิงแต่แข็งเหมือนหวาย เป็นหญ้าซึ่งชอบขึ้นในที่แห้งแล้ง รกร้าง ข้างถนน และตามสวน หญ้าชันกาดมีสรรพคุณ คือ นํ้าต้มเหง้าซึ่งรสขื่น สามารถใช้ดื่มเพื่อแก้ระบบปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ ขับ นิ่ว ลดไข้ และแก้ประจำเดือนไม่ปกติ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panicum repenns Linn.
ชื่อวงศ์ : Poaceae (Gramineae )
ชื่ออื่น : หญ้าชันกาด แขมมัน;หญ้าขิง;หญ้าครุน;หญ้าชันอากาศ;หญ้าใบไผ่;หญ้าหวาย (อีสาน);หญ้าอ้อยน้อย, ดอกหญ้าชันกาด, ต้นหญ้าชันกาด, ใบหญ้าชันกาด, ผลหญ้าชันกาด, รากหญ้าชันกาด, แขมมัน, หญ้าขิง, หญ้าชันอากาศ, หญ้าอ้อน้อย
ลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงหรือเป็นข้องอที่โคน ไม่แตกแขนง ปล้องรูปทรงกระบอก กลวง ข้อเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นเยื่อ ยาว 0.4 -1.0 มม. มีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบกว้าง 2-8 มม. ยาว 4-15 ซม. ขอบใบสากเล็กน้อย อาจมีขนที่โคนใบ ดอกช่อแยกแขนง ยาว 3-19 ซม. ช่อดอกย่อย กว้าง 1.0-1.3 มม.ยาว 2.6 -3.0 มม. รูปขอบขนานแกมวงรีถึงรูปใบหอกแกมวงรี บางครั้งอาจมีสีม่วง ปลายแหลมกาบช่อย่อยแผ่นล่าง รูปไข่ยาว 0.6-0.8 มม. ปลายตัดถึงกลมกว้าง กาบช่อย่อยแผ่นบนยาวเท่าๆกับช่อดอกย่อย ดอกย่อยล่างๆเป็นดอกตัวผู้ กาบล่างและกาบบนยาวเท่าๆกัน ดอกย่อยบนๆรูปวงรี กว้าง 0.8-1.1 มม. ยาว 1.7-2.2 มม. สีขาวผิวเกลี้ยงเป็นมัน ปลายแหลมอับเรณูสีส้ม ยาว 1.4-1.7 มม.
ประโยชน์
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก หญ้าชันกาด ผสมหัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ลำต้นหัวร้อยรู แก่นสัก และรากทองพันชั่ง ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวานได้ ตำรายาแผนไทย ราก หญ้าชันกาด ต้มน้ำดื่มแก้ไตพิการ ช่วยให้ไตทำงานสะดวกขึ้น แก้กระเพาะปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว หนองในได้ดีมาก มีชื่อเรียกอีกคือ
กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อน พบตามพื้นที่เปิดโล่ง แดดส่องถึงไปจนถึงพื้นที่มีร่มเงาเล็กน้อย ที่ลุ่มริมลำน้ำ อาจพบบริวณหาดทรายริมทะเล หรือแนวตะเข็บป่าชายเลน
ป้ายคำ : หญ้า