หญ้าตีนกา หญ้ามีสรรพคุณ

26 สิงหาคม 2558 ไม้พุ่มเตี้ย 0

หญ้าตีนกาเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นสั้นตั้งเป็นกอ ความสูงของกอประมาณ 50 ซม. ลำต้นแบนสีขาว – เขียวอ่อน แตกต้นใหม่ที่โคนกอเป็นกอขนาดใหญ่ ใบรูปแถบยาวปลายเรียวแหลม โคนใบมีขนไม่แข็งนัก กาบใบค่อนข้างใหญ่สีเขียวอ่อน – ขาวหุ้มซ้อนทับใบที่เกิดลำดับหลัง ออกดอกที่ปลายยอด ก้านดอกสีเขียวกลมยาว และแตกช่อดอกที่ส่วนปลาย 3 – 8 ช่อ ในแต่ละช่อย่อยมีดอกย่อยจำนวนมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleusine indica (L.) Gaertn.
วงศ์ Poaceae
ชื่อท้องถิ่น – สะญ้าย(ลั้วะ), ตะทาน(เมี่ยน) – หญ้าปากควาย (กลาง) หญ้าตีนกับแก้ (เลย) หญ้าตีนนก (กรุงเทพฯ) หญ้าปากคอก (สระบุรี) หญ้าผากควาย (ภาคเหนือ)

yateenkaton

ลักษณะ
ไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า อายุปีเดียว แตกกิ่นก้านมากที่โคนต้น ลำต้นสูง 25 60 ซม. แบน สีเขียวอ่อนมันเป็นเงา เหนียว อาจจะแผ่ติดพื้นดินหรือตั้งตรงก็ได้ กาบโอบหุ้มลำต้น ลักษณะแบนเช่นเดียวกับลำต้น มีลายตามยาว ตามขอบและที่คอต่อมีขนยาวห่าง ๆ ที่คอต่อมีลิ้นสั้น ๆ บาง ๆ ยาว 0.2 0.5 มม. ปลายตัดเรียบ หรือเป็นครุย

  • ใบ รูปยาวแคบ กว้าง 4 10 มม. ยาว 15 25 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ตามขอบใบใกล้ปลายใบมีขนสาก ด้านบนมีขนยาวประปราย มีแถบสีเหลืองใสจากโคนใบ ยาว 2 3 มม.
  • ดอก ออกเป็นช่อ 2 6 ช่อ รวมกันเป็นช่อใหญ่แบบซี่ร่ม แต่มีอยู่ช่อหนึ่งมักจะออกจากลำต้นและอยู่ต่ำกว่าช่ออื่น ๆ แต่ละช่อกว้าง 4 8 มม. ยาว 4 7 ซม. แต่ละช่อมีหลายช่อดอกย่อย (spikelets) ยาว 5 7 มม. ออกจากแกนกลางด้านเดียว แต่ละช่อดอกย่อยมี 3 8 ดอก (florets) เกลี้ยง กาบของช่อดอกย่อยใบล่าง (lower glume) กว้าง โค้งเป็นรูปเรือขอบบางใสหรือมีสีม่วง ยาว 2 3 มม. มีเส้นตามยาว 2 4 เส้น ใบบนยาว 3 4 มม. มี 6 9 เส้น ส่วนดอกย่อยมีกาบล่าง (lemma) ยาว 3 3.5 มม. ปลายแปลมโค้งเป็นรูปเรือเห็นได้ชัด มีเส้นใกล้ขอบข้างละ 1 2 เส้น แต่มองเห็นไม่ชัด ที่สันมีขนสากและมีเส้น 3 4 เส้น มองเห็นชัดเจน กาบบน (palea) ยาว 2.5 3 มม. ปลายแหลม มีเส้นตามยาวเห็นเด่นชัด 2 เส้น อับเรณูรูปไข่แกมรูปขอบขนานกว้าง สีเหลือง ยาว 0.5 0.75 มม. ปลายเกสรเพศเมียสีม่วง มองเห็นไม่ชัด
  • ผล มีเปลือกซึ่งโปร่งแสงหุ้มอยู่อย่างหลวม ๆ สีออกแดงเข้มปนน้ำตาล ตามขอบมีริ้วออกเป็นรัศมีโดยรอบ ยาวประมาณ 1 2 มม.

yateenkas yateenkako yateenkabai yateenka

สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์

  • ราก ต้มหรือแช่น้ำดื่มแก้อาการท้องอืด(ลั้วะ)
    ราก นำมาต้มน้ำผสมกับรากดั้งสบหรือดั้งเว่ย(หวาย) เป็นยาแก้อาการปวดท้องสำหรับสตรีมีครรภ์ที่ปวดท้องแต่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด(เมี่ยน)
  • ราก และ ต้น น้ำต้มรากหรือทั้งต้น (รากให้ผลดีกว่า) กินเป็นยาขับเหงื่อ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้บิด และเป็นยาบำรุงตับ ใบ น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร

ที่มา
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น