หญ้าตีนนก เป็นไม้เล็กๆ จำพวกหมากดิบน้ำค้าง และใบก็เล็กคล้างคลึงกันมีเมล็ดเล็กๆ ประมาณโตเท่าเมล็ดงาติดตามต้นๆสูงประมาณ 4-6 นิ้วฟุต ลำต้นทอดไปกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร กาบใบเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นแผ่นยาว ช่อดอกมี 4-7 แขนง ช่อดอกย่อยซึ่งกระจายจากปลายโคนก้านลักษณะเหมือนพู่ โดยทั่วไปแล้วจะงอกพร้อมข้าว มักพบในที่รกร้างและริมถนน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Digitaria longiflora (Retz.) Pers.
ชื่อวงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่ออื่น หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย (ภาคกลาง) หญ้าตีนนก (กรุงเทพ)หญ้าปากคอก (สระบุรี) หญ้าผากควาย (ภาคเหนือ) เยอคุม (เงี้ยว) goose grass, wire grass, yard grass, crows foot grass
ลักษณะ
ลำต้นทอดไปกับพื้นและยกสูงขึ้นได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร
คุณค่าทางอาหาร
อายุ 45 วัน มีโปรตีน 9.6 – 10.1 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.89 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.70 เปอร์เซ็นต์ ADF 31.1 40.2 เปอร์เซ็นต์ NDF 63.3 69.5 เปอร์เซ็นต์ DMD 59.6 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ลิกนิน 5.4 เปอร์เซ็นต์
การใช้ประโยชน์ ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี โดยการตัด หรือปล่อยสัตว์แทะเล็ม
สรรพคุณ
แก้ไข้ ปวดศรีษะ แก้ลม แก้โลหิตและเสมหะเป็นตรีโทษ ทำให้ตัวร้อนะท้านหนาวให้เจ็บเป็นเวลา ไม่เป็นเวลาให้ครั่นตัว ปวดศรีษะ นัยนืตาพร่างพราย
ตำรับยาโบราณกล่าวถึงสรรพคุณยาตำรับนี้ไว้ว่า แก้ลม แก้โลหิต และเสมหะเป็นตรีโทษ ทำให้ตัวร้อนสะท้านหนาวให้เจ็บเป็นเวลาไม่เป็นเวลาให้ครั่นตัว ปวดศีรษะ นัยน์ตาพร่างพราย
ที่มา
องค์ความรู้เรื่องข้าว (Rice Knowledge Bank- RKB) สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
ป้ายคำ : หญ้า