หญ้าปากควาย อาหารสำหรับโค กระบือ

8 พฤศจิกายน 2558 ไม้พุ่มเตี้ย 0

หญ้าปากควายเป็นพรรณไม้มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นในเอเชีย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก และถูกนำเข้าไปปลูกในอเมริกาและแอฟริกา ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบได้ตามพื้นที่ที่ถูกรบกวน ตามพื้นที่เปิดโล่ง ตามริมถนนหนทาง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นดินทราย ที่ระดับความสูง 50-650 เมตร

ชื่อสามัญ Beach wiregrass, Crowfoot grass, Yaa paak khwaai.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dactyloetenium aegyptiaca Willd., Eleusine aegyptiaca Desf.
ชื่อวงศ์ GRAMINEAE
ชื่ออื่น หญ้าปากกล้วย (สิงห์บุรี), หญ้าปากควาย (ภาคกลาง), หญ้าปากคอก, หญ้าสายน้ำผึ้ง, หญ้าตีนตุ๊กแก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หญ้าปากควายเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าลำต้นกลมเป็นปล้องกลวง กว้างราว 5 มม. ใบเป็นแผ่นบาง รูปหอกแคบเรียวยาว 3-4 นิ้ว เหมือนหญ้าขน แต่ผิวเรียบไม่มีขน ดอกเล็กๆสีขาวแซมเขียว แบนๆออกเรียงติดกันบนก้านดอกเป็นแท่งกว้างราว 3-5 มม. ยาวราว 1 นิ้ว หนาราว 3-5 มม. ก้านดอกติดชนกันที่ปลายก้านช่อ 4 แท่ง ตั้งฉากต่อกัน เป็นสี่แฉก ก้านช่อกลมสีเขียวอ่อนตั้งตรงสูง เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป มักเกิดร่วมกับ หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก

yapakkways yapakkwaya
หญ้าปากควายเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้ามีอายุปีเดียว ลำต้นเลื้อยทอดนอนไปตามพื้น แตกลำและรากที่ข้อแล้วตั้งตรงลำต้นกลมเป็นปล้องกลวง มีความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และมีความสูงของต้นประมาณ 15-50 เซนติเมตร ใบเป็นรูปแถบ มีความยาวประมาณ 9.5-32 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบตัด ส่วนขอบใบมีขนยาวห่าง ลักษณะของแผ่นใบเกลี้ยง มีกาบใบสั้นหรือยาวกว่าปล้อง มีความยาวประมาณ 3.2-5.5 เซนติเมตร เกลี้ยง ขอบเกลี้ยง ส่วนลิ้นใบเป็นเยื่อ มีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ส่วนปลายมีและมีขน ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ ช่อดอกแยกแขนงคล้ายรูปนิ้วมือ ออกที่ปลายกิ่ง ช่อย่อยมีประมาณ 3-5 ช่อ ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร แกนช่อเป็นเหลี่ยม ช่อดอกย่อยออกเดี่ยวๆ ติดที่แกนแขนงช่อดอกด้านเดียว แบบเรียงสลับ ไร้ก้าน ร่วงหรือกาบ โดยช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนด้านข้าง ส่วนดอกบนเป็นแบบสมบูรณ์เพศ กาบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน เนื้อบาง และกาบล่างจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายยาวคล้ายหาง มีขนขึ้นบริเวณขอบกาบ มีเส้นกาบ 3 เส้น โดยกาบบนยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายแหลม มีขนขึ้นบริเวณเส้นกลางกาบและขอบกาบ มีเส้นกาบ 1 เส้น ผลขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายรูปไตหรือกลม สีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.1-1.2 มิลลิเมตร ผิวเป็นคลื่นสีน้ำตาลเข้ม ในผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก

yapakkway

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินชื้นในข้าวไร่จะขึ้นพร้อมข้าว

สรรพคุณทางสมุนไพร
ทั้งต้น รสขมเย็น ต้มดื่ม ดับพิษกาฬ แก้ไข้พิษ ไข้หัวทุกชนิด เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ตำกับสุราพอกหรือทาแก้ปวด บวม อักเสบ ดับพิษร้อน
สรรพคุณทางยา :
ทั้งต้น ช่วยทำให้เจริญธาตุไฟ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ยาช่วยดับพิษกาฬ แก้ไข้หวัดทุชนิด แก้พิษไข้ แก้ไข้ตรีโทษ และไข้หัวทุกชนิด ช่วยในการย่อยอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยาแก้พิษฝี แก้อาการปวด บวม และอาการอักเสบ
วิธีการใช้ :
ช่วยทำให้เจริญธาตุไฟ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย ยาช่วยดับพิษกาฬ แก้ไข้หวัดทุชนิด แก้พิษไข้ แก้ไข้ตรีโทษ และไข้หัวทุกชนิด ช่วยในการย่อยอาหาร ยาขับปัสสาวะ ยาแก้พิษฝี นำทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
แก้อาการปวด บวม และอาการอักเสบ นำทั้งต้นนำมาตำผสมกับเหล้าใช้พอกหรือทาแก้อาการปวด บวม และอาการอักเสบ

yapakkwayhang

ประโยชน์ของหญ้าปากควาย
นอกจากจะใช้เป็นสมุนไพรแล้ว ยังใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับโค กระบือ โดยเฉพาะม้าได้ด้วย จะตัดให้กินหรือปล่อยให้สัตว์แทะเล็ม คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าปากควาย ที่มีอายุราว 45 วัน ประกอบไปด้วย โปรตีน 7.4-8.6%, ธาตุแคลเซียม 0.50-0.53%, ธาตุโพแทสเซียม 1.41-1.60%, ADF 27.6-42.2%, NDF 55.1-75.6%, DMD 55.2-59.1%, ลิกนิน 4.2%

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น