หญ้าหนวดฤาษีเป็นพืชอายุค้างปี ต้นสูง 70 100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1.2 1.6 มิลลิเมตร ข้อมีปุยขนสีขาว ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เป็นวงรอบ รูปร่างใบเรียวไปที่ปลายใบ ใบกว้าง 0.4 0.5 เซนติเมตร ยาว 19.2 25.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนแข็งสั้นๆ กระจายปานกลาง หลังใบมีขนน้อยกว่า กาบใบยาว 4.5 5.5 เซนติเมตร หญ้าหนวดฤาษีมีใบดกติดดอกและเมล็ดได้ดี สัตว์ชอบกิน (ชาญชัย, 2527) ช่อดอกแบบ spike เมล็ดมีหางยาว 2.0 2.3 เซนติเมตร เมื่อสุกแก่หางเป็นสีน้ำตาลดำ ข้อของเมล็ดที่ติดกับก้านดอกมีปลายแข็งแหลมเป็นหนาม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบตามพื้นที่รกร้างและบริเวณริมถนน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heteropogon contortus (L.) P.Beauv. ex Roem. et Schalt.
ชื่อวงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่ออื่น หญ้าหนวดฤาษี หญ้าลูกหนอง (ภาคกลาง) หญ้าพุ่งชู้ (ประจวบคีรีขันธ์) หญ้ารังตั๊กแตน (ชุมพร) หญ้าเหล็ม หญ้าแหล็ม (เชียงใหม่) หญ้าฉมวก (กาฬสินธุ์) หญ้าหน่อง (มหาสารคาม) หญ้าหนวดแมว speargrass, black / bunch speargrass
ลักษณะ
หญ้าหลายปี เป็นกอ สูง 25-100 เซนติเมตร กาบใบ ยาว 5-7 เซนติเมตร แผ่นใบ ขอบใบขนานยาว 10-25 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.8 มิลลิเมตร ลิ้นใบ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เนื้อบางคล้ายเยื่อ ปลายมีขน ช่อดอก แบบช่อกระจะคล้ายช่อเชิงลด ยาว 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร มีขนกระจาย ก้านช่อดอก สากมือ ช่อดอกย่อยคู่เหมือน ประกอบด้วย ช่อดอกย่อยไร้ก้าน เพศผู้ รูปหอก ยาว 7.2-7.5 มิลลิเมตร กว้าง 1.2-1.3 มิลลิเมตร แบนทางด้านบน-ล่าง ด้านหลังมีขนฐานกลมกระจาย กาบช่อย่อยล่าง รูปหอกหรือรูปเรือ ยาว 7.1-7.2 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เนื้อหยาบแข็ง ขอบพับ เส้นภายใน 15 เส้น ปลายเฉียง ขอบส่วนปลายแผ่ออกเป็นสีชมพู กาบช่อย่อยบน รูปเรือหรือรูปหอก ยาว 6.8-7 มิลลิเมตร เนื้อโปร่งบางคล้ายเยื่อ ขอบมีขนคล้ายไหม กระจาย เส้นภายใน 3 เส้น ส่วนปลายแผ่ออกและแหลม ส่วนบนเป็นสันมีหนามเรียงจนถึงปลาย กาบล่าง ยาว 6.1-6.2 มิลลิเมตร เนื้อบางคล้ายเยื่อ ปลายแหลม เส้นภายใน 2 เส้น ขอบมีขนคล้ายไหม กาบบน รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร เนื้อโปร่งบาง เส้นภายในไม่มี ขอบมีขนคล้ายไหมยาวไปจนถึงปลาย กลีบเกล็ด รูปกรวย ยาว 0.4-0.5 มิลลิเมตร ปลายหยักหรือเป็นแฉก อับเรณู ยาว 3.4-3.5 มิลลิเมตร สีเหลือง ช่อดอกย่อยมีก้าน เพศผู้ มีลักษณะและขนาดคล้ายกับช่อดอกย่อยไร้ก้าน ก้าน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ช่อดอกย่อยคู่ต่าง อยู่ส่วนบนของช่อกระจะ จำนวน 6-9 คู่ ช่อดอกย่อยไร้ก้าน เพศเมีย ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร อยู่บนแคลลัส ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม กาบช่อย่อยล่าง รูปทรงกระบอก ยาว 1.4-4.5 มิลลิเมตร กว้าง 1.4-1.5 มิลลิเมตร เนื้อหยาบคล้ายหนัง เส้นภายใน 12 เส้น ปลายเป็นเยื่อบางโค้ง กาบช่อย่อยบน รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ผิวมีขนสากมือปลายมน เส้นภายใน 3 เส้น เนื้อหยาบคล้ายกระดาษ กาบล่าง เป็นรยางค์แข็งยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายรยางค์เป็นเยื่อบาง ลำของรยางค์มีขนสากมือ ส่วนล่างสีน้ำตาลเข้มส่วนบนสีเหลืองหรือสีฟาง กาบบน รูปขอบขนาน เนื้อบางคล้ายเยื่อ ช่อดอกย่อยมีก้าน เพศผู้หรือไม่มีเพศ ลักษณะเหมือนกับช่อดอกย่อยไร้ก้านของกลุ่มช่อดอกย่อยที่ไม่มีรยางค์
การกระจายพันธุ์
กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อน เขตอบอุ่น และเมดิเตอร์เรเนียน พบตามเนินเขาแห้งๆ ริมถนน ป่าหญ้า ทั้งบริเวณที่แดดส่องถึงและในที่ร่ม ระดับความสูง 400-4500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกติดผลช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม
คุณค่าทางอาหาร อายุ 90 120 วัน มีโปรตีน 6.8 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.15 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.50 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.13 เปอร์เซ็นต์ ADF 51.1 เปอร์เซ็นต์ NDF 78.2 เปอร์เซ็นต์ DMD (โดยวิธี Nylon bag) 47.7 เปอร์เซ็นต์ ออกซาลิกแอซิค 96.0 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.11 เปอร์เซ็นต์ มิโมซีน 0.07 เปอร์เซ็นต์ ไนเตรท 567.20 พีพีเอ็ม ไม่พบไนไตรท์
การใช้ประโยชน์
ในประเทศอินเดียใช้ปลูกป้องกันดินพังทลายในพื้นที่ที่มีความลาดชัน
ต้นอ่อนเป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ ลำต้นทำเยื่อกระดาษ และ ทอเสื่อ สมุนไพร ลดใช้ (ปัทมา, 2543 ก)
ป้ายคำ : หญ้า