การทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์

การทำหญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบ ในภาชนะปิดที่ป้องกัน อากาศจากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่า ทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการหมัก ได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับ เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ฤดูฝนก็ไม่สามารถเก็บถนอมในการทำ หญ้าแห้งได้ ฉะนั้นการทำหญ้าหมักจึงเป็นตัวช่วยเกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาหารในยามขาดแคลน

พืชสดที่ผ่านการหมักเพื่อรักษาธาตุอาหารในพืชไม่ให้เน่าเปื่อย ทำนองเดียวกับผักดองมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้เป็นอาหารโคกระบือในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด การรักษาเนื้อเยื่อพืชไม่ให้เน่าเปื่อยเกิดจากกระบวนการซึ่งอาศัยเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด เช่น บัคเตรีในกลุ่มแล็กโตบะซิลัส บัคเตรีกลุ่มนี้จะย่อยแป้งในต้น ใบหรือเมล็ดพืชและเปลี่ยนให้เป็นกรด เรียกว่า กรดแล็กติก กรดที่เกิดขึ้นนี้เป็นสารที่ช่วยรักษาเนื้อพืชไม่ให้เน่า การหมักแบบนี้เกิดขึ้นในที่ที่อับอากาศ โดยใช้หลุมหมักซึ่งเรียกว่า ไซโล การทำหญ้าหมักมีกระบวนการตรงข้ามกับการทำหญ้าแห้ง เพราะการทำหญ้าแห้งอาศัยกระบวนการไล่ความชื้นออกจากพืช แต่การทำหญ้าหมักต้องการรักษาความชื้นไว้ การทำหญ้าหมักต่างจากปุ๋ยหมัก ตรงที่การทำปุ๋ยหมักนั้นเชื้อราจุลินทรีย์จะย่อยสลายเนื้อเยื่อของพืชจนเน่าเปื่อย ปลด-ปล่อยแร่ธาตุให้พืชดูดซึมเป็นปุ๋ยได้ การทำหญ้าหมักมีขั้นตอนดังนี้

1. การเลือกพันธุ์หญ้า ควรเลือกพันธุ์หญ้าที่มีแป้งและน้ำตาลมาก เช่น ต้นข้าวฟ่าง ข้าวโพด พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ทำหญ้าหมักได้หญ้าคุณภาพดีมาก นอกจากนั้นอาจใช้หญ้าเนเปียร์หญ้ามอริชัส หรือหญ้าอื่นๆ ที่มีลักษณะอวบน้ำแต่การใช้ต้นหญ้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องเติมกากน้ำตาลด้วย เพราะว่าหญ้าเหล่านี้มีแป้งเป็นส่วนประกอบน้อย ทำให้มีอาหารสำหรับเชื้อบัคเตรีไม่เพียงพอ ทำให้การหมักได้ผลไม่ดีพอ

2. การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ทำหญ้าหมักประกอบด้วยอุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า หลุมหมัก วัสดุคลุมปิดหลุม เช่น แผ่นผ้าพลาสติก หรือดิน กากน้ำตาล และอุปกรณ์สำหรับขนหญ้าลงหลุมหมัก

yamakbodk

อุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า ฟาร์มขนาดเล็กอาจใช้มีดตัดหั่นหญ้าเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ฟาร์มขนาดใหญ่มีจำนวนโคมาก จะใช้เครื่องตัดหั่นหญ้าโดยเฉพาะ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้กำลังงานจากรถแทรกเตอร์ มีใบมีดตัดต้นพืชและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วมีเครื่องพ่นชิ้นหญ้าออกจากเครื่อง กล่าวคือ ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันจะทำงานทั้งการตัดต้นพืช หั่นเป็นชิ้น และพ่นออกจากเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ราคาสูงมาก

yamakbod

3. การเตรียมหลุมหญ้าหมัก หลุมหญ้าหมักมีหลายแบบ เช่น แบบปล่อง แบบร่องในดิน แบบรางบนผิวดิน หรือแบบใช้ผ้าพลาสติกคลุมเหนือผิวดิน
หลุมแบบปล่อง ก่อด้วยคอนกรีตสูง 2-3 เมตร หรือมากกว่า ส่วนความจุมีตั้งแต่ 10-20 ตัน แล้วแต่ขนาดของฟาร์ม หลุมแบบร่องในดินเป็นแบบที่ต้องขุดร่องลึกตามที่ต้องการและสร้างผนังคอนกรีตเป็นร่องป้องกันดินพังทลายความกว้างและความยาวของหลุมขึ้นกับขนาดของฟาร์มหรือจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ส่วนหลุมแบบรางบนผิวดินมีลักษณะเช่นเดียวกับแบบร่องในดิน แต่สร้างบนผิวดินแทน ปัจจุบันนิยมทำแบบรางบนผิวดิน เพราะสะดวกต่อการทำงาน เช่น การขนหญ้าลงหมัก การกลบดินและการไหลของน้ำเสีย ขนาดของหลุมแบบรางบนผิวดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณหญ้าหมัก และคำนวณได้ตามสูตรข้างบนนี้

yamakkeb

4. การตัดหญ้า เริ่มจากการตัดต้น ข้าวโพด หรือข้าวฟ่างโดยเลือกตัดเมื่อพืชเหล่านี้เริ่มมีเมล็ดอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดยังมีลักษณะเหนียวข้น ไม่ถึงกับเป็นเมล็ดแข็ง ถ้าเลยระยะนี้ไปจะ มีกากมากและน้ำตาลในลำต้นมีน้อย อาหารของบัคเตรีไม่พอ การหั่นต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดยาว 3-5 นิ้ว เพื่อสะดวกต่อการอัดให้แน่น จากนั้นก็ขนลงหมักในหลุมที่เตรียมไว้แล้ว อัดหญ้าให้แน่นจนเต็มหลุม แล้วจึงกลบหลุมโดยใช้เศษพืชทับรองชั้นหนึ่งแล้วใช้ดินกลบทับจนแน่น ป้องกันอากาศเข้าออก การหั่นหญ้าและการอัดหญ้าให้แน่นเป็นขั้นตอนสำคัญมาก ถ้าหั่นหญ้ายาวเกินไป ทำให้การอัดไม่แน่น ไล่อากาศออกไม่หมดอากาศเข้าออกได้จะทำให้เชื้อราเจริญ และหญ้าเน่ากลายเป็นปุ๋ยหมัก
ถ้าใช้หญ้าชนิดอื่น เช่น หญ้าขน หญ้าเน-เปียร์ จะต้องใช้กากน้ำตาลละลายน้ำประพรมทุกครั้งที่ขนหญ้าสดลงหมักในหลุม โดยใช้กากน้ำตาล 30 กิโลกรัมต่อหญ้า 1,000 กิโลกรัมละลายน้ำแล้วพรมให้ทั่ว กากน้ำตาลจะเป็นอาหารของบัคเตรีที่ช่วยในการหมัก เมื่อกลบดินทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะเริ่มเป็นหญ้าหมัก

yamak

หญ้าหมักที่ดีควรมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นผักดอง หรือมะม่วงดอง สีเขียวอ่อน ไม่ดำคล้ำ มีค่าความเป็นกรดประมาณ 4.3-4.4 คุณค่าอาหารจากหญ้าหมักที่ทำด้วยข้าวฟ่าง คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ความชื้น 70.4 โปรตีน 2.8 ไขมัน 1.3 กาก 8.7 แป้ง 14.7 เถ้า 2.1 และความเป็นกรด 4.5
เนื่องจากหญ้าหมักมีรสเปรี้ยวกว่าอาหารอื่นๆ การใช้เลี้ยงโคจึงมีขีดจำกัด โดยปกติแนะนำให้ใช้หญ้าหมัก 3-3.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักโค 100 กิโลกรัม ใส่รางให้กินภายหลังให้อาหารข้นแล้ว

yamakard

เทคนิคการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์ในถุงพลาสติก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

  1. มีดสำหรับสับหญ้า
  2. ถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือเท่าที่มีตามท้องถิ่น เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก
  3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล1.กก, เกลือ 500 กรัม เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก
  4. กระสอบ, ยางรัดของ

yamakwas

วิธีการหมัก
1.หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม.

yamaksap

2.บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถุงพลาสติก

3.อัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถุง ให้ใส่กากน้ำตาล เกลือ ลงไปด้วย โดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

4.ใช้ยางรัดปิดปากถุง ที่บรรจุหญ้าให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้านำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ระวังอย่าให้ถุงมีรอยรั่วซึม เพราะจะทำให้เกิดรา และเน่าเสีย

yamakmad

5.หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

yamakkasob

6.กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ใน ภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

เทคนิคการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นเสบียงอาหารสัตว์ในถังพลาสติก
การทำหญ้าหมักด้วยถังพลาสติก หญ้าที่เหมาะสำหรับทำหญ้าหมัก หญ้าเนเปียร์ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้ารูซี่ ต้นข้าวโพด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหญ้าหมัก

  1. เครื่องตัดหญ้า หรือมีดสำหรับสับหญ้า
  2. ถังพลาสติก 200 ลิตร หรือ ถังที่มีตามท้องถิ่น เพื่อบรรจุหญ้าสำหรับหมัก
  3. สารเสริมที่ทำให้การหมักดีขึ้น เช่น กากน้ำตาล,รำละเอียด, มันเส้น เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพของหญ้าหมัก
  4. ผ้าพลาสติกสำหรับปิดภาชนะ หรืออุปกรณ์สำหรับปิดปากภาชนะอย่างอื่นเพื่อป้องกันอากาศจากภายนอก

วิธีการหมัก
1.หั่นหรือสับหญ้าสดให้มีขนาด 2-3 ซม.

2.บรรจุหญ้าสดที่หั่นแล้วลงในถังหมัก

yamaktang

3.ย่ำอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุหญ้าลงในถัง ละลายกากน้ำตาล รำละเอียด มันเส้น ลงไปด้วย โดยทำเป็นชั้นๆ เพื่อช่วยให้การหมักดียิ่งขึ้น

4.ปิดฝาถังบรรจุหญ้าให้สนิท แล้วปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอากาศและน้ำเข้า

yamaktangmak

5.หมักไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นหญ้าหมัก นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้

6.กรณีเริ่มใช้หญ้าหมัก เลี้ยงควรแบ่งให้วันละน้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เคยชิน

ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมัก

  1. การอัดหญ้าลงในภาชนะที่ใช้หมักต้องอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศที่มีอยู่ในภาชนะออกให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การหมักเกิดได้ดี และหญ้าหมักเสียน้อยที่สุด
  2. การปิดภาชนะที่บรรจุต้องทำให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าไปในกองหญ้าหมัก
  3. เมื่อเปิดภาชนะควรใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และเปิดภาชนะอย่าให้กว้างมาก เพื่อช่วยให้หญ้าหมักเสื่อมช้าลง
  4. หญ้าที่นำมาใช้หมักไม่ควรจะมีความชื้นสูงมากเพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และหญ้าหมักเก็บได้ไม่นาน
  5. ระมัดระวังหนูหรือแมลงสาบที่จะมากัดภาชนะหรือพลาสติกที่ปิดให้เป็นรู อากาศจะเข้าไปทำให้หญ้าหมักเสียได้

ข้อดีของหญ้าหมัก

  1. สามารถทำได้ทุกฤดูกาล
  2. สามารถใช้ทุกส่วนของต้นพืชให้เป็นประโยชน์
  3. ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาน้อย
  4. หญ้าหมักมีลักษณะอวบน้ำสัตว์ชอบกิน
  5. ลดอันตรายจากอัคคีภัย
  6. สามารถเก็บรักษาได้นาน

ข้อเสียของหญ้าหมัก

  1. ต้องมีความรู้ความชำนานในการทำหญ้าหมัก
  2. เปลืองแรงงานและลงทุนสูง
  3. ขาดวิตามินดี
  4. เป็นราเสียหายง่ายเมื่อเปิดถังใช้
  5. หญ้าหมักมีฤทธิ์เป็นกรดจึงทำลายภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะฉะนั้นต้องใช้ภาชนะที่เป็นพลาสติกเท่านั้น

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น