หญ้าเกล็ดหอย ยาดับพิษร้อน

13 กันยายน 2558 สมุนไพร 0

หญ้าเกล็ดหอย พืชไม้เลื้อย เกิดในท้องนาและริมนํ้า ข้างถนน ลำต้นอ่อนสีเขียว ใบออก ตามกิ่งๆ ละใบ หน้าใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 1 นิ้ว ใบกลมเป็นหยัก 7 หยัก แพร่พันธุ์ในฤดูร้อน ดอกสีขาว เมล็ดรูปกลมแบน ทั้งต้นมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาแก้ไข้ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาแก้ดีพิการ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium triflorum (L.)DC.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่ออื่น ผักแว่นโคก หญ้าตานทราย หญ้าตานหอย หญ้าเกล็ดปลา ผักแว่นดอย ผักตั้ง(ลั้วะ)

ลักษณะ
ต้นจัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูงได้ประมาณ 4.5-12.5 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะแผ่แนบไปกับพื้นดินเป็นวงกว้าง ตามลำต้นและใบมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นมีขนาดประมาณ 0.6-1.1 มิลลิเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,300 เมตร ในสภาพดินเหนียว ดินทราย และดินลูกรัง โดยมักขึ้นทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่รกร้าง สวนป่า ที่สาธารณะ ตามข้างทาง

  • ใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปหัวใจกลับ ขนาดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเว้าตื้น โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบไม่มีขน ส่วนท้องมีขนเล็กน้อยถึงน้อยมาก หูใบย่อยมีขนาดเล็กมาก
  • ดอกออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอดและตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีม่วงสดหรือสีม่วงบานเย็น ช่อดอกยาวประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 2-5 ดอก กลีบรองดอกที่โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน
  • ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนและโค้งเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร มีขนาดกว้าประมาณ 2 มิลลิเมตร ตามฝักมีรอยคอดเป็นข้อๆ ตามจำนวนของเมล็ด ประมาณ 1-6 ข้อ แต่ละข้อยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมื่อแห้งแต่ละข้อจะหลุดออกจากกัน เมล็ดมีขนาดเล็ก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต มันวาว ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน

 

yahkledhoibai yahkledhoiking yahkledhois

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในที่ที่ ชุ่มชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด หรือการแยกลำต้น
ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น

การใช้ประโยชน์ – ยอดอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)

สรรพคุณของต้นหญ้าเกล็ดหอย
ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 15-30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บวม
แก้ ไข้ ดีซาน ขับปัสสาวะ เจ็บคอ ต้อตา ตาแดง ตับอักเสบ โรคบิดถ่ายเป็นมูกเลือด ไอกรน นิ่วในไต หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ผื่นคัน บวม ฟกช้ำจากหกล้ม แผลมีหนองเรื้อรัง หูอักเสบมีหนอง แผลเป็นตุ่มพองรอบเอว เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : หญ้าเกล็ดหอย เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นเองตามที่รกร้าง, ชุ่มชื้น หรือมักพบปลูกตามบ้านเรือนเป็นไม้ประดับ

yahkledhoidin

ตำรับยาของต้นหญ้าเกล็ดหอย (สัตว์)

  1. วัว มีอาการเจ็บคอ คออักเสบ ให้ใช้ลำต้นสดและโล้ยเถ่าเช่าสด ในปริมาณเท่ากัน อย่างละ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำเล็กน้อยให้วัวกิน
  2. สัตว์เลี้ยงเป็นไข้ ให้ใช้ลำต้นสด ประมาณ 250 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำให้กิน
  3. หมู เป็นไตอักเสบ บวมน้ำ ให้ใช้ลำตันสด มั่งแส่โซยกึงป๊วก และผักกาดสด ใช้ในปริมาณเท่ากัน อย่างละ 30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำผสมกับน้ำเต้าหู้ ประมาณ 1/2 ชาม และน้ำตาลทราย ประมาณ 60 กรัม ให้หมูกิน
  4. สัตว์เลี้ยง เยื่อตาอักเสบ ให้ใช้ลำต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อย แล้วนำมาป้ายตา

yahkledhoina yahkledhoiton

ข้อมูลทางคลีนิคของต้นหญ้าเกล็ดหอย
การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคดีซ่านการอักเสบเฉียบพลันจำนวน 10 คน โดยการใช้ลำต้นสดประมาณ 30-60 กรัม. ใส่น้ำและเหล้าหมักจากข้าวเหนียว ใบปริมาณที่เท่ากัน นำมาตุ๋นกิน หลังอาหารเช้า และกลางวัน ผลปรากฏว่าคนไข้ตัวหายเหลืองหมด

ที่มา
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 7
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น