หญ้าเจ้าชู้ หญ้าหลายปีมีสรรพคุณทางสมุนไพร

18 สิงหาคม 2558 ไม้พุ่มเตี้ย 0

หญ้าเจ้าชู้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า หญ้ากล่อน หญ้าขี้ครอก หญ้านกคุ่ม (ภาคกลาง) หญ้าก่อน (ภาคเหนือ) หญ้ากะเตรย หญ้าขี้เตรย (ภาคใต้) หญ้านํ้าลึก (ตราด) เป็นหญ้าที่ขึ้นได้ทั่วไปในหลากหลายพื้นที่ หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าหญ้าเจ้าชู้มีสรรพคุณทางสมุนไพรเช่นกัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysopogon orientalis (Desv.) A. Camus
ชื่อวงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อเรียกอื่น หญ้ากร่อน หญ้ากระเตรย หญ้าก่อน (ภาคเหนือ) หญ้าขี้ครอก หญ้าขี้เตรย (ภาคใต้) หญ้านกคุ่ม (ภาคกลาง) หญ้าน้ำลึก (ตราด)

ลักษณะ
หญ้าหลายปี เป็นกอเหง้าแข็ง ตั้งขึ้นสูง 1.5-2 เมตร โคนมีขน กาบใบ เป็นแผ่นหยาบแข็งมีขนสีขาว สูง 4-10 มิลลิเมตรขอบเกลี้ยงแผ่เป็นเยื่อบาง แผ่นใบ รูปแถบ ยาว 35-60 เซนติเมตร กว้าง 15-25 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอก แบบช่อแยกแขนงกว้าง ยาว 15-25 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร สีทองหรือสีน้ำตาลเข้ม แขนงช่อดอก เรียวยาวเป็นเส้นแตกจากแกนกลางแบบเวียนรอบข้อหรือเอียงเล็กน้อย ช่อดอกย่อยไร้ก้าน สมบูรณ์เพศ หรือเพศเมีย ยาว 6.2-6.3 มิลลิเมตร สีชมพูหรือสีเหลือง มีแคลลัสยาว 2-2.5 มิลลิเมตร กาบช่อย่อยล่าง รูปเรือหรือรูปหอก เนื้อแข็ง ขอบโอบเข้าแคบ ยาว 5.8-6 มิลลิเมตร กว้าง0.5-0.6 มิลลิเมตร เส้นภายใน 5 เส้น ปลายมีขนแข็งเป็นแผง ปลายเว้าเป็นแฉก กาบช่อย่อยบน รูปหอกยาว 5.8-6 มิลลิเมตร เส้นภายใน 5 เส้น ด้านหลังมีขน ปลายเป็นแฉกเว้า รยางค์สามเหลี่ยม 1 เส้น แข็งยาว 11-11.5 มิลลิเมตร มีขน เรียงกันไปจนถึงปลายที่เรียวแหลม ดอกล่างไม่มีเพศหรือลดรูป ดอกบน สมบูรณ์เพศ กาบบน เนื้อบางคล้ายเยื่อ เส้นภายใน 1 เส้น ส่วนบนเป็นรยางค์แข็งยาว 4-5 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม ขนละเอียด กาบบนรูปเรือ เนื้อบางคล้ายเยื่อ ยาว 4-4.5 มิลลิเมตร เส้นภายใน 1 เส้น ขอบมีขนคล้ายไหมเรียงไปจนถึงปลาย ปลายมนหรือเว้า กลีบเกล็ด รูปกรวย ยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร ปลายเฉียง รังไข่ รูปกระสวยยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมีย สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อับเรณูยาว 2.6-3 มิลลิเมตร สีเหลือง ผล รูปรียาว 3-3.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ช่อดอกย่อยมีก้าน เพศผู้ รูปขอบขนานหรือรูปหอก ยาว 8.5-9 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร สีเขียว ก้าน เป็นเส้นแบน เนื้อแข็ง ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร แบนทางด้านบนล่าง ขอบมีขนสีทองเป็นแถบไปจนถึงขอบเว้าหรือแหลมเป็นแฉก กาบช่อย่อยล่าง รูปเรือ ยาว 7.5-8 มิลลิเมตร เนื้อบาง ผิวเกลี้ยง ขอบโอบด้านในคล้ายกาบเรือ เส้นภายใน 7 เส้น ปลายมีรยางค์แข็งยาวประมาณ 1.2-1.3 มิลลิเมตร สีทองบนลำมีขนเรียงไปจนถึงปลาย กาบช่อย่อยบนรูปเรือหรือรูปหอก ยาว 8.5-9 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร เส้นภายใน 3 เส้น สีม่วง ขอบโอบเข้ามีขน คล้ายไหมปลายแหลม ดอกล่างลดรูป ดอกบนเพศผู้ กาบล่างรูปเรือ เนื้อบางคล้ายเยื่อ โปร่งบาง ยาว 6-6.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.6-0.7 มิลลิเมตร เส้นภายใน 5 เส้น ขอบมีขน สีม่วง กาบบนรูปเรือ เนื้อบางคล้ายเยื่อ ยาว 4-4.5 มิลลิเมตร เส้นภายใน 3 เส้น ขอบเป็นแผ่นบาง ปลายเรียวแหลม สีม่วง อับเรณูยาว 3.4-3.5 มิลลิเมตร สีเหลือง

yahchowchoona yahchowchoodok yahchowchoo

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • ราก : แก้ท้องเสีย
  • ต้น : เป็นยาขับปัสสาวะ และถอนพิษบางชนิด เถ้าจากต้นกินแก้ปวดข้อ
    แก้ไข้ทับระดู หญ้าเจ้าชู้มาหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาดมัดเป็นสามเปลาะใส่หม้อต้ม ใส่น้ำให้ท่วมตัวยา ต้ม 10 นาทีแล้วตักกินครั้ง 1 แก้ว ถ้ากินหนึ่งแก้วให้แก้มัดหนึ่งเปลาะพอกินครบสามเปลาะอาการจะหายทันที
  • นํ้าต้มรากกินแก้ท้องเสีย
  • นำส่วนต้นของหญ้าเจ้าชู้มาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ และ ถอนพิษบางชนิด
  • เถ้าจากต้นกินแก้ปวดข้อ
  • เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม

yahchowchoos

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น