ต้นดอกหน้าวัว (Anthurium andraeanum Lind) มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอเมริกาใต้ ประเทศไทยนำเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 โดยติดมากับต้นไม้ที่พระองค์เจ้าพร้อมสั่งมาจากกัลกัตตา ปัจจุบันเป็นไม้ตัดดอกที่นิยมปลูก และขายกันมากในท้องตลาดภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ
ดอกหน้าวัว มีหลากหลายสี และมีสีสันสดใส ไม่เหี่ยวง่าย สามารถประดับได้นาน 15-20 วัน นิยมนำมาจัดแจกัน จัดซุ้มประดับตามโรงแรม จัดซุ้มประดับงานในวาระสำคัญต่างๆ ผู้ที่มีการชื้อมากจะเป็นร้านรับจัดสวน รับจัดซุ้มไม้ประดับ ร้านจัดดอกไม้ เป็นต้น และผู้ชื้อต้นไปปลูกประดับตามสวน ตามบ้านตัวเอง
ต้นดอกหน้าวัวมีลักษณะค่อนข้างเป็นไม้เลื้อย อายุ 5-8 ปี เจริญเป็นกอ และแตกหน่อ ลำต้นมีข้อสั้นๆ เมื่อลำต้นสูง รากจะลอยตามข้อ ทำหน้าที่ดูดน้ำ และความชื้นในอากาศ ใบมีลักษณะเรียวรี คล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลมยาว เส้นใบเป็นร่างแห ใบจะแตกออกเหนือก้านใบบริเวณข้อ ใบแก่จะทิ้งลงด้านล่างทำให้เกิดเป็นทรงพุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthurium spp.
วงศ์ : Araceae
ชื่อสามัญ : Anthurium
ชื่ออื่น ๆ : Flmingo flower, Pigg-tail flower, หน้าวัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดอกหน้าวัวเกิดจากตาเหนือก้านใบประกอบด้วยปลี (ช่อดอก) และจานรองดอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบติดอยู่ที่โคนปลี แต่มีสีสันสวยงามสะดุดตา จึงทำให้คิดว่าจานรองดอกคือดอกของหน้าวัว ลักษณะของจาน รองดอกมักมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้างและจานรองดอกจะมีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นกับขนาดของต้น ชนิดของพันธุ์และการเลี้ยงดู นอกจากความสวยงามของจานรองดอกด้วย ซึ่งเรียกว่า “ร่องน้ำตา” ในเมืองไทย มักนิยมร่องน้ำตาลึก ๆ เช่น พันธุ์ดวงสมร แต่ในต่างประเทศมักต้องการจานรองดอกที่ค่อนข้างเรียบ จานรองดอกที่ดีควรมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและได้สัดส่วนกันจากโคนมาถึงปลาย ด้านซ้ายและขวา จะต้อง เท่ากันโดยไม่มีรอยแหว่งเว้าของด้านใดด้านหนึ่ง ความหนาของจานรองดอกไม่บางเกินไป ในเมืองไทยนิยมให้โคนของจานรองดอกตั้ง หรือที่เรียกว่า “หูแนบ” แต่ในต่างประเทศไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ส่วนช่อดอกของหน้าวัวหรือที่เรียกว่า ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่าง ๆ เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง แล้วแต่ชนิพันธุ์ เมื่อจานรองดอกบานเต็มที่ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ไล่ไปปลายปลี ลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ดอกบาน และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย ดังนั้นหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง ยกเว้นบางพันธุ์เท่านั้น นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่ จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น ดังนั้นโอกาสที่ผสมพันธุ์ในกรุงเทพฯ จึงมีช่วงระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว
พันธุ์
หน้าวัวมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ และแต่ละชนิดก็มีหลายพันธุ์ คือ
- Anthurium andraeanum ส่วนใหญ่ใช้ตัดดอก สามารถแบ่งได้ตามสี 4 สี คือ
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีแดง ในเมืองไทยที่พบมีพันธุ์จักรพรรดิ ดวงสมร กรุงธน นครธน กษัตริ์ศึกธนบุรี บางกล จอมพล กรุงเทพฯ แดงนุกูล ดาราไทย ฯลฯ แต่พันธุ์ที่นิยมเป็นไม้ตัดดอกของเมืองไทย คือ ดวงสมร ลักษณะของพันธุ์นี้จะมีจานรองดอกเป็นสีแดงเข้ม เป็นมันสวยงาม เป็นรูปหัวใจ หูชิดเท่ากันสองด้าน ร่องน้ำตาย่นลึก ปลีมีสีเหลือง เมื่อแก่จะมีสีขาว
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีส้ม ในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์ผกามาศ ผกาทอง ตราทอง สุหรานากง โพธิ์ทอง ฯลฯ พันธุ์สีส้มนี้ พันธุ์ที่เป็นไม้ประกวด คือ สุหรานากง และโพธิ์ทอง ส่วนพันธุ์ที่น่าสนใจ คือ ดาราทอง ซึ่งมี หน่อมาก เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์ศรีสง่า ศรียาตรา จักรเพชร ฯลฯ
– พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ขาวนายหวาน ขาวพระสังขศาสตร์ ขาวคุณหนู
พันธุ์ที่มีจานรองดอกสีอื่น ๆ มักไม่ค่อยพบเป็นไม้ตัดดอก เพราะมีจำนวนปลูกน้อยต้น ราคาค่อนข้างแพง
- Anthurium schzerianum พันธุ์นี้มีจานรองดอกสีแตกต่างกัน แต่ไม่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทย เพราะต้องการความเย็นและความชื้นสูงกว่า anthurium andraeanum พันธุ์นี้ปลีงอ หรือเป็นเกลียวปลูกเป็นไม้ตัดดอก และไม้กระถาง
ในสหรัฐอเมริกา นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก คือประมาณ 80% ส่วน 20% เป็นสีชมพู และสีขาว ในประเทศฝรั่งเศสและสวิสเซอร์แลนด์ นิยมสีแดงและสีส้ม ปัจจุบันได้มีผู้พัฒนาวิธีการและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะดี และแปลกออกไป ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการอาบรังสี ให้หน้าวัสเกิดการกลายพันธุ์มากขึ้น
การขยายพันธุ์
- การตัดยอด การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก โดยทำเมื่อต้นสูงขึ้นจากระดับเครื่องปลูกและมีราก 2-3 ราก วิธีปฏิบัติควรทำการขยายพันธุ์แบบนี้เมื่อยอดที่จะถูกตัดนั้นมีรากยาวพอสมควร เพื่อให้ยอดที่ถูกตัด นั้นมีรายการพอสมควร เพื่อให้ยอดที่ถูกตัดเมื่อนำไปปลูก ตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็วไม่ชะงักการเจริญเติบโตนานเกินไป เพราะรากสามารถยึดเกาะติดกับเครื่องปลูกเพื่อพยุงลำต้น และหาอาหารให้กับหน้าวัวได้เลย การตัดแบบนี้ควรเหลือใบไว้ที่ต้นตอเดิมประมาณ 1-2 ใบ เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ได้เกิดหน่อใหม่ได้เร็ว และมีหน่อสมบูรณ์ ถ้าตอไม่มีใบเหลืออยู่จะเกิดหน่อมาก แต่การเจริญเติบโตช้ามาก การตัดยอดไปปลูกนี้ควร ทายากันราที่รอยแผลที่ถูกตัดทั้งยอดและตอเพื่อป้องกันไม่ให้ราเข้าทำลายได้
มีผลการทดลองที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำการตัดยอดหน้าวัวโดยไม่มีรากติดกับยอดนำไปชำในเครื่องปลูกที่เก็บรักษาความชื้นมากและกระชังกับต้น เช่น ใช้ขี้เถ้าแกลบหรือ ขี้เถ้าแกลบผสมกับทราย 1 : 1 เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำไปชำแล้วประมาณ 2 เดือน ยอดจะมีรากและสามารถนำไปปลูกต่อไปได้
- การแยกหน่อ หน้าวัวบางพันธุ์มีหน่อมาก เช่น พันธุ์ดาราทอง หรือหน่อที่เกิดจากตอเดิมที่ถูกตัดยอดไป เมื่อหน่อเหล่านี้มีรากมาก ก็ดึงหน่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้เช่นกัน
- การตัดต้นชำ หน้าวัวบางพันธุ์ไม่ได้ขยายพันธุ์โดยการตัดยอดนานเข้าหน้าวัวจะเจริญเติบโตเรื่อย ๆ ทำให้ลำต้นยาว หลังจากถูกตัดหน่อไปปลูกแล้ว ก็มีลำต้นเหลืออย่างมาก ก็อาจจะขยายพันธุ์ได้อีก โดยการตัดต้น ที่ยาวนี้เป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนจะมีข้อประมาณ 2-3 ข้อ นำท่อนพันธุ์ไปใช้ชำในทรายหรืออิฐทุบก้อนเล็ก ๆ ที่ขึ้นอยู่เสมอ จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาตามข้อหรือปล้องนั้น เมื่อต้นมีรากก็แยกไปปลูกต่อไป
- การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการที่สามารถผลิตหน้าวัวได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาที่สั้น แต่จะมีปัญหาอยู่คือการทำความสะอาดชิ้นส่วนของหน้าวัวทำได้ยาก เพราะหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบความชื้น ฉะนั้นจึงทำให้มีทั้งเชื้อราและแบคทีเรียตามต้นพันธุ์มาก แต่เมื่อได้เนื้อเยื่อที่ปลอดเชื้อและยังมีชีวิตอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตต่อไป เมื่อมีต้นอ่อนเจริญเติบโตในหลอดอาหารและเมื่อโตเพียงพอก็ย้ายออกจาก หลอดนำไปปลูกเลี้ยงในโรงเรือนที่ชื้นสม่ำเสมอในะระยนี้ต้องมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่มิฉะนั้นต้นจะตายง่ายโดยเฉพาะถ้าขาดความชื้น
- การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์เดิม ในประเทศไทยปกติสภาพของกรุงเทพฯ การบานของเกสรตัวผู้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ซึ่งมักจะมีละอองเกสรเฉพาะ ช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะต้นพันธุ์ที่ดี ส่วนพันธุ์ป่าโดยมากบานเกือบทั้งปี แต่มีโอกาสที่หน้าวัวจะติดเมล็ดเองมีน้อย เพราะเกสรตัวผู้และตัวเมียบานไม่พร้อมกัน โดยมากเกสรตัวเมียบานแล้ว จึงมีละอองเกสรตัวผู้จะสังเกต เห็นละอองเกสรตัวผู้จะบานไล่จากโคนปลี ไปหาปลายปีหน้าวัวมีน้ำเหนียวเป็นเงาเอามือแตะดูจะรู้สึกเหนียว ๆ แสดงว่าเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมแล้วจึงเอามือหรือพู่กันขึ้น ๆ แตะบนละอองเกสรตัวผู้ มาป้ายบนยอดเกสร ตัวเมีย ซึ่งจะบานไล่จากโคนไปด้านปลายปลีเช่นกัน หลังจากผสมแล้วถ้าผสมติดจะสังเกตเห็นว่าปลีบวม เพราะรังไข่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ เป็นตุ่มและเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง และถ้าแก่เต็มที่ผลจะหลุดออกจากปลี ผลหนึ่งมีเมล็ด 1-3 เมล็ด ระยะเวลาตั้งแต่ผสมจนถึงเมล็ดแก่ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เมื่อเมล็ดแก่ก็นำมาเพาะต่อไป
การเพาะเมล็ดควรเตรียมวัสดุให้พร้อมคือ อิฐละเอียดที่มีขนาด 0.3-0.6 เซนติเมตร ร่อนให้สะอาดแช่น้ำให้ชุ่มชื้น นำใส่กระถางที่วางบนจานรองมีน้ำสะอาดต่อไป นำเมล็ดที่ล้างเอาเมือกออกหมดแล้วโรยบนอิฐให้ทั่วใช้ กระจกปิดปากกระถางเพื่อรักษาความชื้น เมล็ดหน้าวัวจะงออภายใน 4-5 ใบ ย้ายลงกระถางใหม่เตรียมอิฐที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เครื่องปลูกโปร่งขึ้น
การเพาะเลี้ยงเมล็ดนี้จะเสียเวลารอเมล็ดแก่นาน จึงมีการเพาะเลี้ยง embryo (embryo culture) คือเมื่อผสมติดแล้วประมาณ 2-3 เดือน นำเมล็ดผ่าเอา embryo มาเลี้ยงในหลอดทำให้ได้ลูกผสมในระยะเวลาสั้นขึ้น การเพาะเลี้ยงแบบนี้ได้ต้นโตเร็ว และได้จำนวนมากภายในเวลา 2 เดือน ก็สามารถนำต้นออกมาเลี้ยงนอกหลอดทดลองได้แล้ว แต่ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นเดียวกับต้นอ่อน
ดอกหน้าวัวในโรงเรือน
ดอกหน้าวัว เป็นส่วนสำคัญที่เป็นจุดเด่น โดยดอกจะแทงออกเหนือก้านใบสลับกันไปในแต่ละข้อของต้น จะประกอบด้วยส่วนของก้านดอก จานรองดอก และปลีดอก ส่วนที่เป็นจุดเด่น และให้สีสันจะเป็นส่วนจานรองดอก ซึ่งจะมีสีต่างๆ อาทิ สีแดง สีชมพู สีขาว สีส้ม เป็นต้น โดยขนาดของจานรอง และสีของดอกจะเป็นตัวกำหนดราคาของต้น และดอก
ส่วนของปลีจะเป็นดอกที่อยู่เหนือจานรองดอก ประกอบด้วยดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน ถือเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน
วิธีการปลูก
- การปลูกในแปลง ควรใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือหากหาไม่ได้จริงๆก็ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการชำหรือจากการแยกเหง้า ปลูกในระยะ 3030 หรือ 3040 ซม.
- การปลูกในกระถางจะใช้ต้นพันธุ์ในลักษณะเดียวกัน เพียง 1-2 ต้น/กระถาง และกระถางที่ใช้ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 เพื่อให้มีระยะห่างระหว่างต้นของกระถางเพียงพอ
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ดอกหน้าวัวเป็นพืชที่ต้องการความชื้นตลอดจึงต้องให้อย่างสม่ำเสมอ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด หากเป็นน้ำคลองควรทำการพักน้ำในบ่อพักเพื่อตกตะกอนเสียก่อน การให้น้ำแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- การให้น้ำบริเวณโคนต้น โดยอาจให้ด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสปริงเกอร์ในระดับโคนต้น วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น
- การให้น้ำเพื่อรักษาความชื้น จะให้เป็นระบบสปิงเกอร์ด้านบนยอดของต้นไม้ เพื่อให้รักษาความชื้น และให้ความเย็นแก่บริเวณโดยรอบ
การตัดแต่ง
เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตและสะดวกในการจัดการ การปลูกหน้าวัว ควรทำการตัดแต่งต้นหน้าวัว โดยการตัดแต่งมี 2 แบบ คือ
- การตัดแต่งหน่อ เมื่อปลูกหน้าวัวได้ระยะหนึ่งที่โคนต้นจะเกิดหน่อเล็กๆ เจริญขึ้นเป็นยอด จำนวนมากน้อยแล้วแต่สายพันธุ์ หากทิ้งหน่อไว้มากเกินไปจนกอแน่นจะทำให้ต้นและดอกไม่สมบูรณ์และเล็กลง เนื่องจากการแย่งอาหาร ในการเด็ดหน่อข้างนั้นให้พิจารณาจำนวนยอดต่อพื้นที่โรงเรือนให้มียอดเหลือ ประมาณ 15 ยอด / ตร.ม. ของพื้นที่โรงเรือน ดังนั้น นอกจากยอดของต้นเดิมแล้วเมื่อมีหน่อใหม่แตกออกมา การพิจารณาว่าจะเก็บหน่อใหม่ที่แข้งแรงนั้นไว้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับความถี่ของระยะปลูก และหากต้องเด็ดหน่อออก ควรเด็ดยอดส่วนเกินเหล่านั้นตั้งแต่ยังอ่อนอยู่เพื่อให้กระทบกระเทือนต้น น้อยที่สุด
- การตัดแต่งใบ เมื่อต้นหน้าวัวเจริญได้ระยะหนึ่งจนใบของต้นข้างเคียงชนกัน ควรตัดใบให้เหลือใบไว้กับต้นเป็นใบแก่ ประมาณ 2 – 3 ใบ และใบอ่อน 1 ใบ เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดี ป้องกันการระบาดของโรค และช่วยไม่ให้ต้นล้มหรือคดงอ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากไม่เห็นดอกที่ล้มไป การตัดใบควรเหลือโดนก้านใบติดอยู่กับต้นประมาณ 4 – 5 ซม. เพื่อให้รอยแผลห่างจากโดคต้น ป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย การตัดใบไม่ควรตัดครั้งละมากๆ ในต้นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้ต้นชะงักการเจริญ และทำให้ระบบรากเสียหายได้ ดังนั้นควรทยอยตัดเป็นระยะๆ อย่งสม่ำเสมอ เช่น ทุกครั้งที่ตัดดอกจะตัดใบแก่ด้วย หรือแยกตัดใบอย่างเดียวทุก 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ใบที่ถูกตัดนั้นยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นไม้ตัดใบได้อีกด้วย และไม่ควรตัดใบที่มีดอกกำลังเจริญอยู่ เพราะจะทำให้อาหารไปเลี้ยงดอกลดลง
การรื้อแปลง
เวลาในการรื้อแปลงและปลูก ใหม่นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้น และสภาพการระบาดของโรคแมลง พันธุ์หน้าวัวที่ต้นไม่สูงมากและไม่เป็นโรค อาจรื้อแปลงทุก 5 – 6 ปี ส่วนพันธุ์หน้าวัวที่ต้นสูงล้มไปมายากแก่การจัดการและไม่ทนต่อโรคใบไหม้ อาจต้องรื้อแปลงทุก 4 ปี หรือเร็วกว่านั้น ปัจจุบันได้ศึกษาการยืดอายุการให้ผลผลิตของต้นหน้าวัวโดยการล้มต้นที่มีอายุ ประมาณ 6 ปี หรือต้นสูงเก้งก้าง ให้ต้นเอนในแนวราบ แล้วคลุมลำต้นโดยวัสดุปลูกเพื่อล่อให้เกิดรากและลำต้นมากขึ้น วิธีการนี้ต้นส่วนยอดจะตั้งขึ้นและเติบโตต่อเนื่อง วิธีนี้ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่
ที่มา
สำนักบริการคอมพิวเตอร์,มก.