หมากเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทย ในอดีตคนไทยนิยมกินหมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดามักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้งมีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้เรียกว่าข้าวยากหมากแพง ปัจจุบันคนนิยมกินหมากกลดน้อยลง ความสำคัญแห่งวัฒนธรรม ปัจจุบันหมากเปลี่ยนเข้าไปมีบทบาทในแง่อุตสาหกรรมหลายชนิด มีการส่งออกจำน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปลูกง่ายการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โรคแมลงรบกวนน้อย ลงทุนไม่สูง ทำรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานานนับสิบปีโดยแนะนำให้ปลูกในลักษณะผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อเสริมรายได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysalidocarpus lutescens H. Wendl.
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Yallow plam, Areca plam, Butterfly plam, Hawaiian bamboo plam,
ชื่อพื้นเมือง หมากเหลือง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หมากมีชื่อวิทยาศาสตร์ Areca eatechu Linn เป็นพืชตระกูลปาล์มชื่อภาษาอังกฤษ Betel
Nuts หรือ Arecanut หรือ Arceanut plam เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีราคแก้ว รากฝอยกระจายรอบโคนต้นมากน้อยขึ้นอยู่กับอายุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรณีมีน้ำท่วมขังหมากสามารถสร้างรากอากาศได้ ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรให้น้ำท่วมขังนาน
ลำต้น
หมากเป็นไม้ยืนต้นมีลำต้นเดี่ยวไม่แตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 นิ้ว ระยะแรกจะมีการเจริญโตด้านกว้างและด้านสูง หลังจากหยุดเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง รูปทรงกระบอกตรง หมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้นถ้ายอดตายหมากจะตาย ตากยอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบเรียกว่าข้อ ข้อของหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี หมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาว ๆ จับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนกลางลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่นเหมือนด้านนอกและมีเนื้อไม้อ่อนนุ่นคล้ายฟองน้ำทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกโอนเอนได้มาก
ใบ
เกิดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายยอด ปลายลำต้นประกอบด้วยโคนกาบใบเรียกว่ากาบหมากหุ้มติดลำต้นเป็น แผ่นใหญ่ ก้านประกอบด้วยใบย่อย เมื่อหมากออกดอก ดอกหรือภาษาท้องถิ่นเรียกจั่นหมาก ซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกาบหมาก เมื่อกาบหมากแก่หลุดร่วงไปจะเห็นดอกหมาก
ดอก
ดอกหมากหรือจั่นหมากเกิดบริเวณซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยโคนจั่นยึดติดอยู่ที่ข้อของลำต้น ก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวแตกออกโดยรอบแกนกลาง ก้านช่อดอกจะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยตัวผู้อยู่ส่วนปลายตัวเมียอยู่ด้านล่างหรือด้านใน ดอกตัวผู้ใช้เวลานาน 21 วัน หลังจากนั้น 5 วัน ดอกตัวเมียเริ่มบาน
ผล
ผลหมากมีลักษณะกลมหรือกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 2.5 โดยเฉลี่ยผลรวมกันเป็นทะลาย ใน 1 ทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10 150 ผล ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เรียกหมากดิบ ผลแก่จะผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผลเรียกหมากสุกหรือหมากสง ผลประกอบด้วย 4 ส่วน คือเปลือกชั้นนอก ส่วนเปลือกเป็นเยื่อบาง ๆ สีเขียว เนื้อเปลือกมีเส้นใยละเอียด เหนียว เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยหนามากมองเห็นชัด เมื่อผลอ่อนเส้นใยอ่อน แก่จะเหนียวแข็ง เปลือกชั้นในเป็นเยื่อบาง ๆ ละเอียดติดอยู่กับเนื้อหมาก ส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมากถัดจากเยื่อบาง ๆ เข้าไปเป็นส่วนของเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล เนื้อจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง
กาบหมาก
ชาวสวนหมากใช้ประโยชน์จากทางหมากส่วนที่ห่อหุ้มลำต้น ซึ่งเรียกว่า กาบหมาก ได้หลายวิธี เช่น นำมาตัดเป็นรูปทรงคล้ายช้อน เรียกว่า เนียน ใช้คดน้ำพริก หรือชาวสวนที่ทำน้ำตาล ก็จะทำเนียนให้มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อใช้ปาดน้ำตาลในขณะที่เคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว และหาก นำมาทำเป็นกระทง เรียกว่า กาบปูเล ใช้เป็นภาชนะใส่ของต่างๆ ชาวหนองตะพานประยุกต์นำกาบหมากมาปั๊มขึ้นรูปแบบภาชนะกาบหมากใช้รับแขก นักท่องเที่ยวที่มารับประทานอาหารที่บ้านสวนศิลปะบนนาข้าว
เยื่อกาบหมาก
เยื่อกาบหมากได้มาจากการลอกเยื่อบางบริเวณใต้ท้องด้านในของกาบหมาก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ใช้สำหรับห่อกาละแม และขนมกวนต่างๆ
ทางหมาก
ใช้ทำรั้วแบบบังตา โดยนำทางหมากมาห้อยผูกเชือกเป็นแนว นอกจากนี้ เด็กชาวสวนเมื่อ ๕๐ ๖๐ ปีที่แล้วล้วนเคยเล่นลากทางหมาก โดยนำทางหมากแห้งมาริดใบออก คนหนึ่งนั่งบนกาบ อีกคนจับส่วนปลายอีกด้าน วิ่งลากเล่นเป็นที่สนุกสนาน
หมากเจริญเติบโตดี ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 30 ปี หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก 1 เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
พันธุ์หมาก
พันธุ์หมากไม่มีชื่อเรียกแต่จะแบ่งตามลักษณะของผลและของต้น คือ
การขยายพันธุ์
หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อ
การขยายพันธุ์ได้ การขยายพันธุ์ใช้เพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดหมากที่มีอายุ 7 8 เดือน เปลือกเป็นสีเหลืองเข้ม
การปลูกการดูแลรักษา
หมากเจริญเติบโตดี ตกผลเร็วสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา หมากอาจให้ผลผลิตถึง 20 30 ปี
หมากสามารถเจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดด ดินตะกอน ดินเหนียวมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดี มีหน้าดินลึก 1 เมตร ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์จะให้ผลดกมีผลขนาดใหญ่
ฤดูปลูก
ฤดูปลูกที่เหมาะจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม สิงหาคม ระยะปลูกมี 2 แบบ คือ
การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ใส่ปุ๋ยขณะลูกหมากอ่อน ๆ ทำให้ผลร่วงการใส่ปุ๋ยควรใส่ระหว่างต้นปุ๋ยที่ใส่
1. ปุ๋ยอินทรีย์ 4 ครั้ง/ปี อัตรา 500 1,000 กก./ไร่
การหุ้มต้น
เมื่อหมากอายุ 1 ปี จะเริ่มย่างปล้อง ลำต้นยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ถ้าถูกแดดเผาจะทำให้ต้นแห้งไม่เจริญเติบโตและตายได้ การหุ้มจะหุ้มหลังจากหมดฤดูฝนด้วยทางมะพร้าวหุ้มปิดลำต้นแล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น ไม่ควรหุ้มต้นตลอดจะเป็นที่สะสมโรคแมลง
โรคแมลง
โรคแมลงที่สำคัญจะมี 4 โรค
การป้องกันกำจัด
แมลง
แมลงศัตรูหมากมีหลายชนิด ได้แก่
ผลผลิต
การให้ผลผลิตหมากแบ่งออกได้ 2 ช่วง ซึ่งหมากจะให้ผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่กับอายุของต้นหมาก สภาพแวดล้อม อายุและความอุดมสมบูรณ์ ช่วงการเก็บเกี่ยวมีดังนี้
1. หมากปี จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ตุลาคม ช่วงผลผลิตหมากมาก กรกฎาคม – สิงหาคม
2. หมากทะวาย เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่กุมภาพันธ์ พฤษภาคม หมากทะวายจะมีราคาแพงกว่าหมากปี
การเก็บเกี่ยว
1. ใช้คนปีนขึ้นไปเก็บบนต้น การปีนต้นหมากเหมือนปีต้นมะพร้าว อาจใช้เท้าเปล่าหรือปลอกสรวมเพื่อผ่อนแรง และพักกลางลำต้น ถึงคอหมากจะรองหน้าหมากโดยเก็บมาผ่าดูว่าแก่พอดีหรือไม่ ถ้าใช้ได้ก็จะตัดทะลาย โดยเฉือนบริเวณขั้วให้เกือบขาดแล้วกระชากโยนลงน้ำในร่องสวนหรือวางบนเข่าแล้วเป็นลงมา
2. ใช้ตะขอสอย โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นด้ามยาวตามความต้องการ ปลายมีตะขอเหล็กลักษณะคล้ายเคียวติดอยู่ใช้โดยให้ตะขอเกี่ยวที่ขั้วทะลายแล้วกระชากให้ขาดล่วงลงมา โดยโคนต้นหมากจะมีคน 2 คน ถือกระสอบรอรับหมากที่หล่นลงมาไม่ให้กระแทกกับพื้น
การทำหมากแห้ง
ผลผลิตหมากนอกจากจำหน่ายเป็นหมากสดหรือหมากดิบก็จะหน่ายเป็นหมากแห้ง การทำหมากแห้งทำได้หลายวิธี
1. หมากแห้งที่ทำจากหมากดิบ มี 5 ชนิด
2. หมากแห้งที่ทำจากหมากแก่หรือหมากส่ง มี 4 ชนิด
อัตราส่วนหมากดิบทำเป็นหมากแห้ง
ตลาดและการจำหน่าย มีการจำหน่าย 3 ลักษณะ คือ
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง