หมามุ่ยเป็นพืชลุ้มลุกตระกูลถั่ว มีชื่อคุ้นหูคนไทยมานานแล้ว แต่เมื่อจินตภาพถึงก็จะไปโยงถึงอาการคันคะเยอ แพ้เป็นผื่นบวมแดง แต่ล่าสุด หมามุ่ยกำลังผงาดขึ้นมา สร้างคุณประโยชน์สรรพคุณทางยาที่สำคัญ ภายหลังจากนักวิจัยไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สามารถสกัดเอาสารตามธรรมชาติในหมามุ่ยมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุงสเปิร์ม และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens (L.) DC.
ชื่อพ้อง Mucuna prurita Hook
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่นๆ บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กาญจนบุรี) กล้ออือแซ (แม่ฮ่องสอน) หมามุ้ย ตำแย
หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย ภาษาอังกฤษ Mucuna มีชื่อวิทศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. มีลักษณะเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก หลุดล่วงง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ เพราะขนหมามุ่ยเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ซึ่งฝักจะออกมาในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง เมล็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์ และยังเป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมายาเม็ดเรียบร้อยแล้ว เพราะร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้ หมอยาแผนโบราณมีการนำหมามุ่ยมาใช้อย่างหลากหลาย โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เมล็ด โดนเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเมล็ดที่ถือว่า เป็นพระเอกของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ ! ขนหมามุ่ยหากถูกผิวหนังจะทำให้มีอาการคะคายเคือง คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงเป็นอย่างมาก สำหรับวิธีการรักษาให้รีบกำจักขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือจะใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้งๆจนหมด แต่หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา หรือจะใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ก็ได้ อาการก็จะดีขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีเถาเลื้อย ยาว 2-10 เมตร มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 3 ใบ ที่ปลาย รูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางมักมีขนาดใหญ่ที่สุด กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร แผ่นใบทั้งสองด้านมีขนสีเทาปกคลุม ฐานใบเบี้ยว ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมี 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบ ห้อยลงมา ยาว 15-30 เซนติเมตร ดอกสีม่วงคล้ำ มีกลิ่นเหม็นเอียน รูปดอกถั่ว ดอกย่อยมีจำนวนมาก ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร กลีบกลางรูปไข่ ปลายกลีบเว้า กลีบคู่ข้างรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูป ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีน้ำตาลอ่อน มีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมกันเป็น 2 กลุ่ม อับเรณูมีสองแบบ เกสรเพศเมียมีรังไข่รูปแถบ มีขนยาวสีเทา รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผล เป็นฝักโค้งรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร หนาประมาณ 5 มิลลิเมตร มีลักษณะม้วนงอที่ปลายฝัก ตามผิวมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหนาแน่น เป็นขนแข็งและสั้น พอฝักแห้งขนจะหลุดร่วงปลิวตามลมได้ง่าย เมื่อโดนผิวหนัง จะทำให้คัน ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดมี 4-7 เมล็ด สีดำเป็นมัน พบตามชายป่า ป่าไผ่ และที่โล่งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกและติดผลราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ขนหมามุ่ยหากถูกผิวหนังจะทำให้มีอาการคะคายเคือง คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงเป็นอย่างมาก สำหรับวิธีการรักษาให้รีบกำจักขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือจะใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้งๆจนหมด แต่หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา หรือจะใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ก็ได้ อาการก็จะดีขึ้น
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เมล็ด ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงประสาท ฝาดสมาน แก้พิษแมงป่องกัด โดยตำเป็นผงใส่น้ำเล็กน้อย พอกบริเวณที่ถูกกัด รักษาโรคบุรุษ กระตุ้นกำหนัด กระตุ้นและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย ราก ขับปัสสาวะอย่างแรง รากหมามุ่ยผสมกับรากมะเขือขื่น แช่น้ำกินแก้ไอ ใบ เป็นยาพอกแผล ขน จากฝักทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง ทำให้คันและเป็นผื่นแดง ปวดและบวม
ชาวเขาเผ่าอีก้อ ใช้ ใบ ตำคั้นน้ำ ทา หรือพอก รักษาอาการไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ตำราอายุรเวทของอินเดีย ใช้รักษาอาการของโรคคล้ายกับพาร์กินสัน ปัจจุบันพบ สาร L-dopa ในรากและเมล็ด ที่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรคพาร์กินสัน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่าเพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ ยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ให้นานขึ้น ลดอาการหลั่งเร็ว เพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศ การวิจัยทางคลินิกในเพศชาย พบว่าช่วยลดความเครียด คุณภาพของน้ำเชื้อดีขึ้น ปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศชาย
องค์ประกอบทางเคมี
เมล็ด พบสาร L-dopa หรือ L-3,4- dihydroxyphenylalanine สารกลุ่มอัลคาลอยด์ เช่น prurienine, prurienidine, nicotine ขน พบสาร serotonin และเอนไซม์ที่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง เช่น proteinase, mucanain
สำหรับคนทั่วไปก็สามารถนำเมล็ดหมามุ่ยมาเป็นยาสมุนไพรกินเองได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง เพราะการเก็บหมามุ่ยต้องรู้วิธีเพื่อไม่ให้คัน โดยเลือกจากต้นที่ฝักแก่ สังเกตง่ายๆ คือเมล็ดฝักเหมือนจะปริแตก แล้วฉีดน้ำให้เปียกเพื่อป้องกันขนอ่อนที่ฝักฟุ้งกระจาย สวมถุงมือป้องกันแล้วเก็บเมล็ดมาคั่วไฟ แล้วนำไปล้างน้ำก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ ส่วนข้อควรระวังในการกินเมล็ดหมามุ่ย คือต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิดสารพิษบางอย่างขึ้น ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอล-โดปา ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้
ไวอะกร้าฉบับคนไทย
“หมามุ่ย หรือ ตำแย” เป็นพืชที่ทำให้เกิดอาการคัน แต่เมล็ดมีสรรพคุณทางยาช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก ในเมล็ดหมามุ่ยมีสารคือ แอล-โดปา สารสื่อประสาทที่มีอิทธิพลต่อระบบสืบพันธุ์ การสกัดสารออกมาจากเมล็ดหมามุ่ยต้องใช้ความร้อนและน้ำ เป็นตัวดึงสารสำคัญออกมา โดยการนำเมล็ดไปคั่วด้วยไฟปานกลางบนกระทะประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นบดให้เป็นผง
วิธีรับประทานทำได้หลายอย่าง เช่น นำเมล็ดมาชงกับน้ำร้อนจิบเป็นชา หรือผสมกับกาแฟในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เภสัชกรแนะนำให้รับประทานวันละ 5-10 เมล็ด หรือ 1-2 ช้อนชาในรูปผง ถือเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่รับประทานง่าย และได้ผลดีไม่แพ้ยาแผนปัจจุบัน
นายเพ็ง สุขบัว หมอยาพื้นบ้านเมืองเลย กล่าวถึง การนำเมล็ดหมามุ่ยมาทำเป็นยาแฮงว่า เมล็ดหมามุ่ยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย กระตุ้นและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย วิธีกินก็ง่าย เอาเมล็ดตำแยมาคั่ว แช่น้ำก่อนกินหรือไม่ก็คั่วบดชงผสมกับกาแฟดื่ม
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า เม็ด ใช้ทั้งกินเม็ด คั่ว นึ่ง และบด เป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ที่มา ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน, สมุนไพร