หอมใหญ่เป็นที่รวมตัวของสารอาหารสารพัดอย่างชนิด ที่หาผักอื่นทาบรัศมีได้ยาก ทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน มีสารอาหารอัดแน่นทุกอณูอย่างนี้นี่เอง หอมหัวใหญ่จึงเป็นผักที่รักษาโรคได้มาก ป้องกันมะเร็งลำไส้ สลายลิ่มเลือด ลดอาการปวดอักเสบ ทำให้เจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด กระจ่ายเลือด แก้บวม แก้ปวด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แก้ลมพิษ ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แก้ความดันโลหิตสูง ลดโคเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้หอบหืด และเบาหวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium cepa L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Onion
ชื่ออื่น : หอมฝรั่ง หอมหัวใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หอมหัวใหญ่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium cepa L. อยู่ในตระกูล Amaryllidaceae แต่บางตำราจัดอยู่ในตระกูล Liliaceae จัดเป็นพืชสองฤดู แต่มักปลูกเป็นพืชฤดูเดียว ยกเว้นในการผลิตเมล็ดพันธุ์
ฤทธิ์และรส
หอมหัวใหญ่ (Allium cepa) เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกระเทียม อุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน ช่วยลดอาการกระตุกของกล้มเนื้อ มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษทั้งที่เป็นโลหะหนักและพยาธิ นอกจากนี้หอมหัวใหญ่ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆในร่างกายดังนี้
โคเลสเตอรอลและความดันเลือดสูง
หอมหัวใหญ่มีผลคล้ายกระเทียมในการลดโคเลสเตอรอลและความดันเลือด มีสารไซโคลอัลลิอิน ที่สามารถละลายลิ่มเลือดได้ ผลการศึกษากลุ่มคนกินมังสวิรัติในประเทศอินเดียที่กินกระเทียม 10 กรัมต่อสัปดาห์ และกินหอมหัวใหญ่ 200 กรัมต่อสัปดาห์ มีปริมาณโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เฉลี่ย 172 และ 75 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าดังกล่าวในกลุ่มควบคุม (ไม่ได้กินกระเทียมและหอมหัวใหญ่) คือ 208 และ 109 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การกินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัวในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันเอชดีแอลในผู้ป่วยดังกล่าวจากร้อยละ 20 เป็น 30 มีผลลดระดับโคเลสเตอรอลในภาพรวม และเพิ่มอัตราส่วนระหว่างไขมันเอชดีแอล (ไขมันดี) ต่อไขมันแอลดีแอล (ไขมันเลว) อย่างน่าพอใจด้วย
ภูมิแพ้และหอบหืด
หอมหัวใหญ่มีความสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลพอกซีจีเนสและไซโคลออกซีจีเนส ซึ่งสร้างสารพรอสตาแกลนดินและทรอมบอกเซนซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ เมื่อให้หนูตะเภากินสารสกัดแอลกอฮอล์ของหอมหัวใหญ่ 1 มิลลิลิตร พบว่าสามารถลดอาการหืดหอบจากการหดลองสูดดมสารก่อภูมิแพ้ได้ หอมหัวใหญ่มีเควอเซทิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์เชิงเภสัชวิทยาของมัน พบว่าเควอเซทินสามารถยับยั้งการปล่อยฮิสตามีนจากมาสต์เซลล์ และยับยั้งการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่นลิวโคทรีนได้ เควอเซทินพบมากที่สุดในผิวชั้นต้นๆ ของหอมหัวใหญ่ และพบมากกว่าในหอมหัวใหญ่สีม่วงและหอมแดงแต่ฤทธิ์ป้องกันอาการหอบหืดและภูมิแพ้คาดว่ามาจากสารกลุ่มไอโซโอไซยาเนต
เบาหวาน
หอมหัวใหญ่แสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผลงานการศึกษาทางการแพทย์และทางคลินิกหลายชิ้นสารออกฤทธิ์ในหอมหัวใหญ่เชื่อว่าเป็นสารอัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ (Allyl propy disuldhide หรือ APDS) และ มีฟลาโวนอยด์อื่นร่วมด้วย หลักฐานจากการทดลองและสังเกตในคลินิกพบว่า APDS ลดระดับกลูโคสโดยแข่งกับอินซูลิน (ซึ่งเป็นไดซัลไฟด์เช่นกัน) ในการเข้าสู่จุดยับยั้งการทำงานโดยอินซูลิน (Insulin-inactivating sites) ในตับ ทำให้มีอินซูลินอิสระเพิ่มขึ้น การกินหอมหัวใหญ่ 1-7 ออนซ์ (16 ออนซ์ประมาณครึ่งกิโลกรัม) มีผลลดปริมาณน้ำตาลในเลือดผลนี้พบทั้งในหอมหัวใหญ่ทั้งดิบและที่ต้มแล้ว
หอมหัวใหญ่กับภูมิคุ้มกัน
แคลเซียมมีการเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ ที-เซลล์ (T-cells) ใช้ในการต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมและช่วยเม็ดเลือด ขาวในการทำลายและย่อยสลายไวรัส ปกติแคลเซียมจะได้มาจากผลิตภัณฑ์นม ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก ไขมันอิ่มตัวมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบ (Proinflamatory) ซึ่งมีผลในเชิงลบกับระบบภูมิคุ้มกันการกินหอมหัวใหญ่จึงได้แคลเซียมโดยปราศจากไขมัน (ถ้าไม่กินเป็นหอมหัวใหญ่ชุบแป้งทอด) หอมหัวใหญ่มีธาตุอาหารสำคัญอื่นๆ อีก ธาตุซีลีเนียม ที่พบมากในหอมใหญ่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างแอนติบอดี ถ้าขาดธาตุนี้ร่างกายจะขาดความสามารถในการต้านการติดเชื้อที่เกิดขึ้นซ้ำซากได้ นอกจากนี้ ซีลีเนียมยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเอนไซม์กลูตาไทโอนเพอร์ออกซิเดส เอนไซม์นี้ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย หอมหัวใหญ่อุดมไป ด้วยธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นธาตุที่มักพบได้น้อยในอาหารประจำวัน มีความสำคัญในการสร้างคอมพลีเมนต์ ซึ่งมีความสำคัญในการทำลายเซลล์มะเร็งและกำจัดไวรัส ตัวอย่างของคอมพลีเมนต์ ได้แก่ อินเทอฟีรอน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังมีธาตุแมกนีเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้างพรอสตาแกลนดินและการควบคุมปริมาณฮิสตามีน นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่มีธาตุกำมะถัน ช่วยให้เอนไซม์ตับทำงานขับสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ตำราอาหารโยคะบำบัดจากประเทศอินเดียกล่าวไว้ว่าในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องให้กินหอมหัวใหญ่วันละ 1 หัว เพื่อป้องกันพยาธิทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ อาจเติมในโยเกิร์ต สลัด ผักนึ่ง หรือในข้าวก็ได้ และกินนมแพะสีทองเพื่อป้องกันแบคทีเรีย ไวรัส เสริมฤทธิ์ต้านอักเสบและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
พันธุ์
เกษตรกรนิยมใช้พันธุ์กราเน็กซ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่นำมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หัวมีลักษณะค่อนข้างกลม คอเล็ก เปลือกสีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อมีสีขาว อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน นับตั้งแต่วันเพาะเมล็ด
การปลูกหอมหัวใหญ่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น หยอดเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง และเพาะกล้าปลูก สำหรับในประเทศไทยนิยมเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก
การเพาะกล้า
การเตรียมแปลง
การดูแลรักษา
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน