หูกระจง หูกวางแคระ

15 มิถุนายน 2558 ไม้ดอกไม้ประดับ 0

ต้นหูกระจง หรือ แผ่บารมี (Terminalia ivorensis Chev.) เป็นไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีอายุยืน สำหรับในประเทศไทยพบต้นหูกระจงอยู่ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ หูกระจงธรรมดา หูกระจงหนาม และหูกระจงแคระ ทั้งนี้ หูกระจงธรรมดาเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยม ในการซื้อไปปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด ทั้ง ๆ ที่หูกระจงหนามมีทรงพุ่มที่สวยกว่า และใบของต้นหูกระจงหนามจะเป็นเงา และแน่นกว่าเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง เหตุผลที่สำคัญที่คนสนใจปลูกต้นหูกระจงหนามไม่มาก เนื่องจากความเชื่อเรื่องหนามที่ไม่เป็นมงคลต่อผู้ปลูก สำหรับหูกระจงแคระ เป็นหูกระจงที่หายากกว่าหูกระจงสายพันธุ์อื่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia ivoriensis A. Chev.
ชื่อวงศ์ : Combretaceae
ชื่อพื้นเมือง : หูกวางแคระ แผ่บารมี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ หนาทึบ แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง ตาม แนวยาว สีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยด่างขาวทั่วทั้งลำต้น

  • ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 1 -1.5ซม. ยาว 1.5-3 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบ สอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว ก้านใบยาวประมาณ 0.4 ซม.
  • ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ เกสรเพศผู้ 10 อัน
  • ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีเนื้อ และชั้นหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและเหนียว
  • เมล็ดรูปรี สีน้ำตาลออกดอกติดผลเกือบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

hookrajongking hookrajongbai hookrajongdok hookrajongkings

หูกระจงเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ อายุยืน โตไวทันใจ ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 15-20เมตร กิ่งก้านจะแตกรอบๆ ลำต้นขนานไปกับพื้นดิน และจะแบ่งตัวเป็นชั้นๆ ดูคล้ายฉัตร ทรงพุ่มรูปไข่ พุ่มใบหนาทึบ ให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ในบ้านเรามีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธ์

  1. ) หูกระจงธรรมดา สายพันธ์นี้เห็นได้ทั่วไปนิยมนำมาใช้จัดสวน
  2. ) หูกระจงหนาม สายพันธ์นี้ฟอร์มต้นสวยกว่าสายพันธ์แรก แต่มีหนามทำให้ไม่เป็นที่นิยมนำมาจัดสวน แต่อาจจะมีนำมาปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับบ้างเล็กๆ น้อยๆ
  3. ) หูกระจงแคระ เป็นสายพันธ์ต้องการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากจะนิยมนำไปทำเป็นไม้ดัด(บอนไซ) ราคาค่อนข้างสูง

การดูแลรักษา
หูกระจงเป็นไม้ที่ชอบดินร่วนหรือร่วนปนทราย รากจะชอนไชลงไปยังชั้นดินได้ดีกว่าดินเหนียวหรือดินแข็งๆ ถ้าสภาพดินที่จะปลูกเป็นดินเหนียวแข็งควรปรับสภาพดินก่อนปลูกด้วยการผสมเอาวัสดุปลูกอื่นๆ ลงไปในดิน เช่น กาบมะพร้าวสับ ใบก้ามปูหรือใส่ทรายลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ดินไม่จับตัวกันแน่นจนรากชอนไชลงไปไม่ได้

ต้องการน้ำสม่ำเสมอ (ว่ากันว่าถ้าหูกระจงได้น้ำ ใบจะร่วงน้อยลง ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะตามธรรมชาติแล้ว ต้นไม้ที่ได้น้ำไม่เพียงพอหรือลดการสูญเสียน้ำด้วยการทิ้งใบ) เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัด ทนแดด ทนฝน

hookrajongkla

หากปลูกในพื้นที่แคบหรือใกล้ตัวบ้าน ก็ควรจำกัดบริเวณให้กับต้น ด้วยการใช้มีดสับรากที่พยายามชอนไชเข้ามาใกล้ตัวบ้าน เสริมกับการตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ เนื่องจากการแผ่ขยายของรากจะเท่าๆ กับทรงพุ่มของต้น หรือเลือกปลูกในกระถางขนาดใหญ่แทนการปลูกลงดิน ตัดแต่งกิ่งออกบ้างเพื่อไม่ให้ร่มคลึ้มจนเกินไป หรือถ้าอยากจะควบคุมรูปทรง จำนวนชั้นของกิ่งก้านก็ต้องหมั่นตัดกิ่งอ่อนที่แตกใหม่ตรงเรือนยอดอยู่เสมอ

hookrajongkan

การขยายพันธ์นิยมใช้การเพาะเมล็ดเพราะจะให้ต้นที่แข็งแรงกว่าการขุดล้อม รากจะแข็งแรงกว่าและแผ่ขยายออกไปทั่วบริเวณ ส่วนต้นที่ได้จากการขุดล้อม รากแก้วจะถูกตัดออกบางส่วนทำให้ต้นต้องใช้เวลาปรับสภาพเป็นเวลานานกว่าที่จะเริ่มแผ่ขยายรากออกมา ต้นก็จะโตช้ากว่า ควบคุมทรงพุ่มได้ง่ายกว่า แต่ต้นก็จะไม่แข็งแรง โคนได้ง่ายกว่าเมื่อโดนลมพัดแรงๆ

hookrajongklas

การนำไปใช้งาน
เนื่องจากเป็นไม้ใหญ่ โตเร็ว ทรงพุ่มกินอาณาบริเวณกว้าง เหมาะที่จะเป็นไม้ประธาน และเพื่อให้ได้ฟอร์มต้นแผ่ออกได้รูปทรง ควรปลูกในพื้นที่โล่งกว้าง ต้นจะแผ่กิ่งก้านออกเป็นชั้นๆ สวยงาม แต่ถ้าปลูกใกล้ๆ กัน ต้นจะเบียดชิดกัน ทำให้กิ่งก้านลู่ขึ้นหาอากาศด้านบน ไม่แผ่ออก หรือปลูกในพื้นที่สาธารณะ เช่น ริมถนน ลานจอดรถ หรือสถานที่ที่มีพื้นที่โล่งกว้าง

hookrajongtona

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ดอกไม้ประดับ

แสดงความคิดเห็น