อาหารสัตว์เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของการเลี้ยงสัตว์ การลดต้นทุนอาหารสัตว์โดยใช้วัสดุที่ราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น จะช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้ทำให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนมากขึ้น
การทำอาหารสุกรจากหยวกกล้วยหมัก
วิธีทำ
อาหารหมักผักตบชวาสำหรับหมูหลุม
วัตถุดิบและวิธีการ
นำผักตบชวามาสับขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปเลี้ยงให้หมูหลุมกินตลอดทั้งวัน
ประโยชน์ของอาหารหมักผักตบชวา
หมายเหตุ : น้ำหมักปลา
วัตถุดิบ
– เศษปลา จำนวน 3 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล จำนวน 3 กิโลกรัม
– พด.2 จำนวน 1 ซอง
– น้ำเปล่า จำนวน 10 ลิตร
วิธีการ
– ละลายจุลินทรีย์ พด. 2 ในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
– เทกากน้ำตาลลง แล้วตามด้วยเศษปลา
– หมักใส่ภาชนะพลาสติกปิดฝาไม่ต้องสนิท นาน 1 เดือน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ประโยชน์
ประโยชน์ของน้ำหมักปลาสำหรับหมูหลุม
– เพิ่มโปรตีนและเพิ่มความหอมให้กับอาหารหมูหลุม ในอัตราส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ + รำอ่อน 5 กิโลกรัม
– ใช้ผสมกับอาหารหมักผักตบชวา ในอัตรา 1 : 1
การทำน้ำหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมีในสัตว์
ช่วยเสริมสร้างคุณค่าทางอาหาร ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์และยารักษาโรค โดยการนำวัสดุหรือผลผลิตที่มีมาเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
ขั้นตอนการทำ
1. การใช้น้ำหมักผลไม้ชีวภาพ เพื่อสุขภาพสัตว์ลดความเครียด มีวิธีการ ดังต่อไปนี้
1.1 ใช้วัตถุดิบ ผลไม้สุก 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน
1.2 นำผลไม้สุกสับให้พอดี แล้วนำมาลงถังพร้อมกากน้ำตาลและน้ำ คนให้เข้ากัน
1.3 หมักน้ำหมักผลไม้ชีวภาพ จำนวน 3 วัน นำไปผสมรำ เป็นอาหารสุกร
2. การใช้น้ำหมักสมุนไพร รักษาโรค สร้างภูมิต้านทานโรค
2.1 นำผลไม้ 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน สมุนไพร 1 ส่วน ( ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน เหงือกปลาหมอ หัวผักหนาม อ้อยดำ)
2.2 นำมาหมัก ใช้เวลา 7 วัน ผสมในรำใช้เป็นอาหารสัตว์
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์
2. ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์และยารักษาโรค
3. เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สัตว์มีอัตราการเจริญเติบโตดี
การใช้ส่าเหล้าเป็นอาหารสุกร
ส่าเหล้าเป็นผลผลิตขั้นตอนสุดท้ายของการกลั่นเหล้า โดยผ่านกระบวนการหมักและกลั่น มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ทำเป็นหัวเชื้อหลายชนิด เช่น ลูกกระวาน พริก ขิง ตะไคร้ ข้าว
วัสดุ/อุปกรณ์
ขั้นตอนปฏิบัติ
โดยนำส่าเหล้ามาผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น เช่น แกลบ รำละเอียด หัวอาหารสุกร หยวกกล้วย พืชผัก ตามสัดส่วนที่พอเหมาะ หรือที่มีอยู่ในฟาร์ม และน้ำหมักชีวภาพ
การนำมาใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารสุกร นำมาเลี้ยงสุกร ที่มีอายุตั้งแต่ 35 วันขึ้นไปโดยในช่วงแรก ผสมในอาหารทีละน้อย แล้วเพิ่มปริมาณในภายหลังใช้เลี้ยงสุกร 4 เดือนได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 80 กิโลกรัมเป็นการลดต้นทุนอาหาร สัตว์โตเร็ว แข็งแรง ไม่เป็นโรค
อาหารหมูหลุมแบบธรรมชาติ
วัตถุดิบ
ขั้นตอนการทำ
ผสมกันราดด้วยน้ำหมัก ๗ ชนิดอย่างละ ๒ ซ้อน น้ำตาลทรายแดง ๑๔ ซ้อนที่ละลายในน้ำ ๑๐ ลิตร
เมื่อผสมเรียบร้อยได้อาหารสำหรับให้หมูหลุมประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ใส่กระสอบไว้ เก็บไว้ได้ ๑๔ วัน
สูตรอาหารหมูหลุม
จุลินทรีย์จากผลไม้ (ลดปัญหากลิ่นอุจจาระหมู)
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูกินหรือใช้รดน้ำผัก ผลไม้
จุลินทรีย์ราขาวจากป่าไผ่ (ลดปัญหากลิ่นเหม็นของอุจจาระหมู)
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร รดพื้นคอกและตัวหมูทุกเช้าและเย็น
โยเกิร์ตหมูหลุม (ช่วยให้หมูมีระบบย่อยอาหารดีขึ้นเมื่อหมูมีอาการป่วย)
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
โยเกิร์ต 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่ม
หมากฝรั่งหมูหลุม
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
โยนให้หมูกินได้ตลอด
เหล้าดองยาหมูหลุม (ลดความเครียด กระตุ้นการกินอารของหมู)
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่มอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
อาหารหมักหมูหลุม
วัสดุอุปกรณ์
วิธีการทำ
วิธีการใช้
เริ่มให้อาหารหมัก เมื่อเริ่มเลี้ยงเดือนที่ 2 ตักอาหารหมัก 5 ถัง ผสมรำอ่อน 2 ถ้วย และอาหารสำเร็จรูป 2 ถ้วยให้หมูกินต่อ 1 มื้อ
ผลการวิจัย
จากการพิสูจน์ซากหมูหลุม 10 ตัว ไม่พบพยาธิในอวัยวะของหมูหลุม เนื้อหมูมีสีแดงไม่เหม็นคาว ลำไส้สะอาด และไขมันน้อย จึงเป็นเนื้อหมูชีวภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะเลี้ยงจากการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Microorganisms: IMO)
ที่มา:
ป้ายคำ : จุลินทรีย์, น้ำหมักชีวภาพ, เกษตรอินทรีย์