อาโวคาโด ผลไม้ช่วยสลายไขมัน

2 กุมภาพันธ์ 2560 ไม้ผล 0

อาโวคาโด คือผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในแถบอเมริกาและยุโรป เพราะมีสารอาหารหลากหลายที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ หลายคนกลับไม่นิยม แถมติว่ารสไม่หวาน มีไขมันสูง กินแล้วอ้วน ผลไม้ชนิดนี้จึงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ผลไม้ดีช่วยสลายไขมันใน 7 วัน

อาโวคาโดเป็นแหล่งของกรดไขมันดี คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acids) ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติลดไขมันร้ายในหลอดเลือด เช่น แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ จึงช่วยป้องกันการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือด และลดโอกาสเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และหัวใจวาย ในอนาคต

ชื่อสามัญ Avocado
ชื่อวิทยาศาสตร์ Persea Americana Mill
ชื่อวงศ์ Lauraceae
ชื่ออื่นๆ อะโวคาโด, อาโวคาโด, อาโวกาโด, อโวคาโด้, ลูกเนยอะโวคาโด

อะโวคาโด เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ อบเชย เบย์ลอเรล(bay laurel) และกระวาน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในรัฐปวยบลาของประเทศเม็กซิโก และมีปลูกทั่วไปในแคลิฟฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สำหรับในประเทศไทยมีการนำมาปลูกเป็นครั้งแรกที่จังหวัดน่าน โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน และได้มีการแพร่ขยายออกไปมากขึ้นทั่วประเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้น อะโวคาโดเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุนานหลายปี ลักษณะเปลือกลำต้นเป็นผิวขรุขระ สีน้ำตาลอ่อน ขนาดของต้นที่โตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ สีเขียวสด สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบ ขอบใบเรียบ ออกเรียงเวียนสลับกันบริเวณปลายกิ่ง
  • ดอก ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง มีสีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก
    ผล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ กลม หรือคล้ายผลสาลี่ เปลือกผลสีเขียว อาจหนาหรือบางขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ภายในผลจะมีเนื้อมันละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้มคล้ายเนย ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสหวาน
  • เมล็ด ภายในเนื้อผลจะมีเมล็ดสีน้ำตาลที่มีรกหุ้มอยู่จำนวน 1 เมล็ด

อะโวกาโดเป็นพืชพื้นเมืองในแผ่นดินใหญ่ของอเมริกาแถบร้อน ส่วนในประเทศไทยอะโวกาโดมีปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 90 ปี โดยมิชชันนารีชาวอเมริกันนำเข้ามาปลูกที่จังหวัดน่าน ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ดร. อัญเชิญ ชมภูโพธิ์ หัวหน้าสถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง ได้นำพันธุ์อะโวกาโด (Persea americana Mill.) จากมลรัฐฮาวาย จำนวน ๙ สายพันธุ์เข้ามาปลูกที่สถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง ( สถานีวิจัยปากช่อง) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้นำพันธุ์อะโวกาโดมาปลูกอีกจำนวน ๑๔ สายพันธุ์ คือพันธุ์ บูช ๗ (Booth 7) บูช ๘ (booth 8) แคทาลีนา (Catalina) โชเควท (choquette) ฟุค (Fuchs) ฮอลล์ (Hall) แฮส (Hass) ลูลา (Lula) มอนโร (Monroe) เนเดียร์ (Nadir) ปีเตอร์สัน (Peterson) ซิมเมอร์ (Simmonds) เทเลอร์ (Taylor) และพันธุ์วอลดิน (Waldin) ปัจจุบัน สถานีวิจัยปากช่องยังคงรวบรวมพันธุ์อะโวคาโดไว้ ใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการคัดเลือกพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต และเพื่อตอบปัญหาให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุ์ที่เหมาะสมที่จะปลูกในสภาพอากาศในประเทศไทย

พันธุ์อะโวคาโดในสถานีวิจัยปากช่อง
พันธุ์แฮสส์ (Hass) ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระมาก ผิวสีเขียวเข้ม เมื่อสุกอาจเป็นสีเขียวหรือม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 200-300 กรัม เนื้อสีเหลือง เมล็ดเล็กถึงขนาดกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนธันวาคม กุมภาพันธ์ มีไขมัน 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นพันธุ์การค้าอันดับ 1 ของโลก
บูช 7 (Booth-7) ผลค่อนข้างกลม ผลขนาดกลางน้ำหนักประมาณ 300-500 กรัม ผิวผลขรุขระ สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน รสดี เมล็ดขนาดกลาง ติดอยู่ในช่องเมล็ดแน่น เมื่อสุกแก่จะมีรอยจุดสีน้ำตาล มีไขมัน 7-14 เปอร์เซ็นต์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณวันที่ ตุลาคม ถึง ธันวาคม อายุ 5 ปี 249 ผลต่อต้น
ปากช่อง 3-3 (Pakchong 3-3) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด ผลขนาดใหญ่ประมาณ 600 700 กรัม เนื้อค่อนข้างเละ ปริมาณเนื้อมาก ผลรูปร่างค่อนข้างกลม บริเวณขั้วผลมีสีแดง เมื่อสุกสีม่วงเข้ม รสปานกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม ธันวาคม อายุ 5 ปี 110 ผลต่อต้น


Duke 7 ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระ ผิวสีเขียวเข้มเป็นพันธุ์ต้านทานต่อโรครากเน่า เหมาะในการทำเป็นต้นตอ แต่ได้ต้นต่อที่มีขนาดเล็ก เมล็ดขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 150-300 กรัม รสปานกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม ธันวาคม
Fuerte ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระเล็กน้อย ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อสีเหลืองครีม เมล็ดขนาดกลาง น้ำหนักผลประมาณ 150-300 กรัม รสดี ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม ธันวาคม เป็นพันธุ์การค้าของโลก
Ruehle ผลรูปแพร์ ผิวเรียบเป็นเงา ผิวสีเขียวเหลือง น้ำหนักผลประมาณ 150-300 กรัม รสปานกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม ธันวาคม
Whit Sell ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระเล็กน้อย ผิวสีเขียวเข้ม เมล็ดขนาดปานกลาง น้ำหนักผลประมาณ 250-350 กรัม รสปานกลาง ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม ธันวาคม

การขยายพันธุ์
ทำได้โดยการเพาะเมล็ดซึ่งมักจะให้ผลผลิตได้ในปีที่ 8 หรืออาจใช้วิธีติดตา ตอนกิ่ง เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ และเพื่อให้ได้ผลผลิตเร็วขึ้น ซึ่งมักจะอยู่ในปีที่ 3 ของการปลูก แต่ต้องมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย ในปีแรกๆ ของการปลูกหากต้นยังไม่แข็งแรงพอ ควรเด็ดผลทิ้งเพื่อเร่งต้นให้เจริญเติบโตเสียก่อน

วิธีการปลูกอะโวคา
ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกอะโวคาโด คือช่วงต้นของฤดูฝน แต่ถ้ามีน้ำให้ได้อย่างเพียงพอก็สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขังได้ ใช้ระยะปลูกที่เหมาะสมประมาณ 86 เมตร หรือ 810 เมตร

ก่อนนำต้นพันธุ์ลงปลูก ควรให้มีการปรับสภาพด้วยการนำไปวางไว้กลางแจ้งประมาณ 2-3 วันก่อน แล้วขุดหลุมปลูกให้มีขนาด 60x60x60 ซม. ผสมดินที่ขุดขึ้นมาด้วยปุ๋ยคอก 1-2 บุ้งกี๊ หรือปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ 1 กำมือ วางต้นพันธุ์ลงปลูก กลบดินผสมปุ๋ยให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ปักค้ำยึดต้นไว้กันโยก ใช้ฟางข้าว เศษไม้ หรือแกลบ คลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ให้น้ำวันละ 15 ลิตร/ต้น และลดการให้น้ำเหลือเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เมื่อมีอายุได้ 1 ปี

การใส่ปุ๋ย
หลังจากปลูกได้ประมาณ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 200 กรัม/ต้น โดยในปีแรกควรให้ทุกๆ 3 เดือน ส่วนที่ปีที่ 2 ให้ในปริมาณ 400 กรัม ในปีที่ 3 เป็นต้นไปให้ในปริมาณ 500 กรัม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตพอดี ควรงดการให้น้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ออกดอก

โรคสำคัญ
โรคที่มักเกิดกับอะโวคาโด ได้แก่ โรครากเน่า และโรคแอนแทรกโนส สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ต้นพันธุ์ที่ทนต่อโรค พื้นที่ปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี และใช้น้ำผสมเด๊กซอน(Dexon) รดกิ่งพันธุ์ในโรงเรือนก่อนนำไปปลูก ส่วนโรคทางใบและผล

การตัดแต่งกิ่ง
ในช่วงแรกของการปลูก เมื่อลำต้นสูงประมาณ 50 ซม. ให้ตัดยอดออกไปเหลือไว้เฉพาะต้นตอเพื่อเป็นการเร่งให้ยอดใหม่ 3-4 ยอดแตกขึ้นมา ส่วนต้นที่เติบโตแข็งแรงดีแล้วก็ให้ตัดกิ่งที่เป็นโรค หรือกิ่งที่ไม่ต้องการออก และเพื่อให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวจึงควรตัดให้มีทรงพุ่มต่ำในลักษณะแผ่ออกด้านข้าง หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจึงค่อยทำซ้ำอีกครั้ง ตามด้วยการบำรุงต้นโดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี

การใช้ประโยชน์
ไม้ประดับ ผลรับประทาน ใช้ในอุตสาหกรรมทำสบู่ น้ำมัน และเครื่องสำอางประเทืองผิว

ที่มา
สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น