อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกท้องถิ่นแตกต่างกันไป อาหรับ เรียก ตามัล มลายู เรียก ตามา มาเลย์ เรียก กุรหม่า มีหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย ลำต้นมีความสุงประมาณ 30 เมตร มีขนาดลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ ทานได้ทั้งผลดิบและสุก ผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกมักจะนำไปตากแห้ง สามารถเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี มีรสชาติหวานจัด จึงมักถูกเข้าใจผิดว่ามีการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
อินทผลัม : เป็นคำผสมสองคำในภาษาบาลีสันสกฤต คำบาลี “อินฺท” (inda) หรือ สันสกฤต “อินฺทฺร” (indra) หมายถึง พระอินทร์ และ คำสันสกฤต “ผลมฺ” (phalam) ที่มีความหมายว่า ผลไม้ จึงได้ชื่อว่า “ผลไม้ของพระอินทร์”
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phoenix dyctylifera L.
วงศ์: Palmae
กลุ่ม: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
อินทผาลัมเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลปาล์ม มีมีความสุงประมาณ 30 เมตร ลำต้นมีขนาดประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ
ต้นอินทผาลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุ 5 7 ปี และมีอายุยืนยาวถึงกว่า 100 ปี โดยจะให้ผลผลิตต่อปีเฉลี่ยประมาณ 7,000 8,000 ลูกต่อปี หรือ ประมาณ 100 150 กิโลกรัม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น อินทผาลัมสามารถทานได้ทั้งผลดิบและสุก โดยผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้มและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกจัดมักนิยมนำไปตากแห้ง ทำให้สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลาหลายปี และมักมีคนเข้าใจผิดว่ารสหวานจัดของอินทผาลัมเกิดนั้นการแปรรูปด้วยการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล
อินทผาลัมนั้นเป็นผลไม้ที่มีหลากหลายพันธุ์เช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่น ๆ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็มีเกรด ราคา รวมทั้งรสชาติแตกต่างกันด้วย ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกกันนั้นได้แก่
อินทผาลัมเป็นผลไม้ที่ไม่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ นอกจากนี้เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามิน A, วิตามิน B1, วิตามิน B2, วิตามิน B6, วิตามิน K, แคลเซียม, ซัลเฟอร์, เหล็ก, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, แมงกานิส, แมกนีเซียม และน้ำมันโวลาไทล์ แถมยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยในการลดอาการท้องผูก
ที่มา
ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ป้ายคำ : ผลไม้