อ้อยคั้นน้ำ เป็นพืชที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำอ้อยพร้อมดื่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทส เพื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำอ้อยสดบริโภคภายในประเทศ และน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์เพื่อจำหน่ายต่างประเทศ การผลิตอ้อยคั้นน้ำต้องอาศัยการจัดการด้านพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เพื่อให้ได้ อ้อยคั้นน้ำพร้อมดื่มที่มีคุณภาพ
พันธุ์สุพรรณบุรี 50 ใบสีเขียวเข้ม ลำมีขนาดใหญ่สีเขียวอมเหลือง ปล้องยาวเป็นรูปทรงกระบอก แตกกอ 5-6 ลำต่อกอ ไว้ตอได้ 3-4 ครั้ง ทนทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8 เดือน ผลผลิตน้ำอ้อย 4,600-5,200 ลิตร/ไร่ ความหวาน 15-17 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับปลูกทั้งในสภาพที่ดอนและที่ลุ่ม
ประวัติ
อ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์ เอสพี 074 (SP 074) ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และประเมินผลที่ศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรในจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 ให้ผลผลิตน้ำอ้อยดีกว่าพันธุ์เดิมที่ใช้กันอยู่ คือ พันธุ์สิงคโปร์ ในทุกสภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี โดยเฉพาะในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกที่เป็นแหล่งปลูกอ้อย
ลักษณะเด่น
ความต้านทานโรค
มีความทนทานต่อโรคแส้ดำ โรคใบขาว และโรคลำต้นเน่าแดง
ความต้านทานแมลง
พบการเข้าทำลายของหนอนนกอ้อยน้อย ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะประจำพันธุ์
การปลูกและดูแลรักษา
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีการให้น้ำ
การเตรียมดินปลูก
การปลูก
ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกให้สับเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมี 3 ตา วางท่อนพันธุ์ในร่องให้ห่างกัน 50 เซนติเมตร แล้วกลบดินหนาประมาณ 3 5 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้พันธุ์อ้อยประมาณ 500 ลำ
การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ย อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละเท่า ๆ กัน ใส่ครั้งแรกอายุ 1 เดือนครึ่ง โดยการโรยรอบต้น หรือข้าง ๆ ต้น พร้อมกับพูนดินกลบโคนและถากหรือกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่ออ้อยอายุ 2 เดือนครึ่ง
การควบคุมหรือป้องกันกำจัดวัชพืช
เพื่อให้ทุ่นแรงในการกำจัดวัชพืช ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอาทราซีน ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมน้ำฉีดพ่นหลังการปลูกอ้อย
การดูแลรักษาอ้อยตอ
อ้อยตอ คือ อ้อยที่เกิดหรือได้จากการแตกหน่อใหม่ หลังจากการเก็บเกี่ยวอ้อยปลูก ซึ่งอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 แตกหน่อได้ดีหลังจากตัดหรือเก็บเกี่ยวและไว้ตอได้นาน 3 4 ตอ โดยหลังจากเก็บเกี่ยวอ้อยแล้วต้องตัดแต่งตออ้อยให้ชิดดิน แล้วให้น้ำอย่างพอเพียง เพื่อให้หน่ออ้อยที่เจริญออกมาใหม่แข็งแรง
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตอ้อยตอสูง คือ การใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช โดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ย ในอัตรา 80 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับในอ้อยปลูกปีแรก และมีการดูแลรักษารวมทั้งการกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม ในขณะที่อ้อยตอยังเล็กอยู่
ขั้นตอนการผลิตน้ำอ้อยพร้อมดื่ม
สรรพคุณทางยาของน้ำอ้อยสด
ทำให้เกิดกำลัง เจริญอาหาร แก้ไข้ และขับปัสสาวะ
ป้ายคำ : พืชไร่