อ้อยเคี้ยวเป็นพืชที่ทำรายได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น เกษตรกรมีความต้องการปลูกอ้อยเคี้ยวกันมากขึ้นแต่มีปัญหาขาดแคลนพันธุ์อ้อยเคี้ยวที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งอ้อยเคี้ยวและอ้อยคั้นน้ำ เพราะอ้อยพันธุ์เมอริชาดเป็นอ้อยเคี้ยวคุณภาพดีแต่ให้ผลผลิตต่ำ แตกกอน้อย ข้อถี่ ปล้องสั้น ไว้ตอไม่ได้ ทำน้ำอ้อยไม่ได้เพราะสีน้ำอ้อยจะเป็นสีน้ำตาลคล้ำ
อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 เป็นอ้อยเคี้ยวพันธุ์แรกในประเทศไทยที่เกิดจากงานวิจัยและเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตรในปี 2547 ได้มาจากการผสมเปิดของอ้อยเคี้ยวพันธุ์เมอริชาดโคลนพันธุ์ A2 ในปี 2538 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี โดยทำการคัดเลือกลูกอ้อยเคี้ยวโคลนพันธุ์ต่าง ๆ ในปี 2539 และ 2540 จากนั้นเข้าขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ในปี 2541 และ 2542 นำโคลนพันธุ์ดีเด่นเข้าขั้นตอนการเปรียบเทียบมาตรฐานและท้องถิ่น ในปี 2542-2545 และทดสอบในไร่เกษตรกร (ปี 2544-2546) โดยใช้พันธุ์เมอริชาดที่เกษตรกรปลูกอยู่เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ผลการทดลองพบว่า อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 มีลักษณะดีเด่นดังนี้คือ ให้ผลผลิตเนื้ออ้อยสุทธิ 6.3 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เมอริชาด 1.9 เท่า ค่าความหวานอ้อย 19.3 บริกซ์ สูงกว่าพันธุ์เมอริชาด 12 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนลำต่อไร่ 13,260 ลำ สูงกว่าเมอริชาด 75 เปอร์เซ็นต์ มีศักยภาพในการไว้ตอดี มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งอ้อยพันธุ์เมอริชาดไม่มี คือ น้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม เช่นเดียวกับอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นอ้อยเคี้ยวและอ้อยคั้นน้ำ
เมื่อมีการจัดกลุ่มอ้อยปลูกแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ อ้อยส่งโรงงาน อ้อยคั้นน้ำ และอ้อยเคี้ยวหรืออ้อยควั่น พบว่าอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 นั้นเป็นอ้อยที่สามารถคั้นน้ำได้อย่างเดียวโดยไม่สามารถนำมาเคี้ยวได้ ส่วนอ้อยเคี้ยวดั้งเดิมคือพันธุ์เมอริชาด ซึ่งปลูกกันมานานกว่า 30 ปี จึงเกิดการเสื่อม ไม่สามารถไว้ตอได้ และไม่สามารถนำไปคั้นน้ำได้ จึงได้มีการตัดเลือกหาอ้อยเคี้ยวที่ให้คุณสมบัติในการไว้ตอได้ดี ในปี 25439จึงได้มีการผสมเปิดอ้อนพันธุ์เมอริชาดและทำการตัดเลือกจาก 700 โคลน จนเหลือ 7 โคลนที่นำมาเปรียบเทียบในท้องถิ่น อ้อยปลูก อ้อยตอ 1 และอ้อยตอ 2 เปรียบเทียบกับเมอริชาด
พบว่าอ้อยเคี้ยวโคลน A21-1 ให้คุณสมบัติในการเป็นอ้อยเคี้ยวที่ดี และมีผลผลิตเนื้ออ้อยสุทธิ (ส่วนที่สามารถเคี้ยวได้)สูงกว่าเมอริชาดถึง 1.9 เท่ามีความหวานสูง 19.3 บริกซ์ ซึ่งสูงกว่าเมอริชาติ 12% มีจำนวนลำ 13,260 ลำต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าเมอริชาด 75% สามารถไว้ตอได้ดี และผลผลิตเนื้ออ้อยสุทธิในอ้อยตอ 1 ได้ 6.0 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าเมอริชาด 3 เท่า น้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว รสชาติหอมเช่นเดียวกับอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 ผลผลิตน้ำอ้อยใกล้เคียงกันคือ 4,900 ลิตรต่อไร่ และใช้ชื่อว่า อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 ในปี 2547 แนะนำเพื่อทดแทนอ้อยพันธุ์เมอริชาด
ประวัติ
อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 เป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมเปิดของอ้อยพันธุ์เมอริชาดซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรีและประเมินผลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สถานีทดลองพืชไร่ ตลอดจนในไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 – 2546
อ้อยเคี้ยวพันธุ์สุพรรณบุรี 72 ให้ผลผลิตเนื้ออ้อยควั่นสูงกว่าพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่คือ พันธุ์เมอริชาดในทุกสภาพแวดล้อม และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี
ลักษณะเด่น
ลักษณะประจำพันธุ์
ความต้านทานโรค
มีความทนทานต่อโรคแส้ดำ และต้านทานโรคลำต้นเน่าแดง
ความต้านทานแมลง
พบการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยน้อย ประมาณ 5 %
การปลูกและดูแลรักษา
ปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีการให้น้ำ
ประโยชน์
การกินอ้อยที่มาจากธรรมชาติแท้ ๆ ป้องกันฟันผุได้ เพราะในอ้อยมีสารแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของฟันในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีสารพวกฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
รับรองพันธุ์เมื่อ
10 พฤษภาคม 2547
การขยายพันธุ์
เตรียมแปลง
หมายเหตุ :
กระดูกป่นและมูลค้างคาวช่วยบำรุงให้อ้อยหวานจัดกลิ่นดีแต่มีปัญหาที่ทำให้อ้อยออกดอกเร็ว ดังนั้นจึงให้ใส่แต่น้อยๆ
เตรียมต้นพันธุ์
ระยะปลูก
วิธีปลูกอ้อย
โดย ดร.วันทนา ตั้งเปรมศรี
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
159 ม.10 ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.กาญจนบุรี 7216 โทรศัพท์/โทรสาร : 035-551543, 551433
ป้ายคำ : พืชไร่
พอจะมีพันธุ์อ้อยสุพรรณบุรี72ขายมั้ยครับ ต้องการมาปลูกไว้เคี้ยวครับ