การผลิตเกลือสินเธาว์

27 พฤศจิกายน 2556 อาหารเพื่อสุขภาพ 0

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินเค็ม เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยาในพื้นที่หลายๆ จังหวัดมีชั้นเกลือหินและโพแทชอยู่หลายชั้น ซึ่งจะละลายปนอยู่ในชั้นน้ำใต้ดินเป็นสารละลายเกลือ และเกิดการแพร่กระจายไปตามทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน และบางส่วนก็ถูกพาขึ้นมาสะสมอยู่บนผิวดิน ซึ่งเราสามารถแยกเกลือออกมาโดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามลักษณะของการเกิดเกลือตามธรรมชาติ ดังนี้

เกลือจากผิวดิน
ทำได้โดยขุดคราบเกลือตามผิวดินมาละลายน้ำ กรองเศษดินหรือตะกอนออก นำน้ำเกลือที่ได้ไปเคี่ยวให้แห้งจะได้เกลือตกผลึกออกมา การทำเกลือโดยวิธีนี้นิยมทำกันมากในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ มหาสารคาม อุดรธานี สกลนคร และร้อยเอ็ด เป็นต้น

เกลือจากน้ำเกลือบาดาล
เกลือบาดาลจะมีอยู่หลายระดับ อาจเป็นระดับตื้น 5-10 เมตร หรือระดับลึก 30 เมตร ในการผลิตเกลือจากน้ำเกลือบาดาลนี้ ทำได้โดยขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้ำเกลือขึ้นมา แล้วนำน้ำเกลือที่ได้ไปต้มในกระทะเหล็กใบใหญ่ โดยใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่ากันมาก ต่อมาจึงใช้ลิกไนต์แทนฟืน

klerboo

นอกจากวิธีต้มแล้ว การตาก เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องเชื้อเพลิง แต่ใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้น้ำระเหยไป จะได้เกลือตกผลึกออกมา วิธีนี้เรียกว่า การทำนาตาก โดยสูบน้ำจากบ่อเกลือบาดาลมาใส่ในนาตาก ซึ่งทำเป็นลานดินหรือลานซีเมนต์

klerboohang

ปัจจุบันมีการทำนาเกลือบาดาลกันมากบนเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ และหนองคาย เป็นต้น

เกลือจากชั้นเกลือหิน
ทำได้โดยอัดน้ำจืดลงไปละลายเกลือในชั้นเกลือหิน แล้วนำสารละลาย ที่ได้มาทำให้บริสุทธิ์ โดยเติมสารละลาย NaOH กับ Na2CO3 เพื่อกำจัด แคลเซียม ไอออนและ แมกนีเซียม ไอออน ดังปฏิกิริยา

klerstep

เกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างยิ่ง เพราะมีความชื้นและแมกนีเซียมต่ำมาก และแคลเซียมค่อนข้างต่ำ ส่วนเกลือสมุทรเหมาะที่จะใช้บริโภคเนื่องจากมีปริมาณไอโอดีนสูงกว่าเกลือสินเธาว์ กล่าวคือ ในเกลือ 10 กรัมเท่ากัน เกลือสมุทรจะมีไอโอดีนประมาณ 38.5 ไมโครกรัม ส่วนเกลือสินเธาว์มีเพียง 10 ไมโครกรัมเท่านั้น

ไอโอดีนเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยปกติร่างกายมีความต้องการไอโอดีนประมาณ 75 มิลลิกรัมต่อปี ซึ่งนอกจากจะได้รับจากการบริโภคเกลือสมุทรแล้ว ยังได้จากการบริโภคอาหารทะเลอีกด้วย เมื่อร่างกายได้รับไอโอดีนจะนำไปเก็บไว้ที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสมอง ประสาท และเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าร่างกายขาดไอโอดีนจะทำให้เป็นโรคคอพอก หรือทำให้ต่อมไทรอยด์บกพร่อง ถ้าขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็กจะทำให้ร่างกายแคระแกร็น รูปร่างหน้าตาและสติปัญญาผิดปกติ หูหนวก เป็นใบ้ ตาเหล่ แขนขาเป็นอัมพาต หรือเดินโซเซ อาการขาดไอโอดีนดังกล่าวนี้มักจะเกิดกับประชาชนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ห่างไกลทะเล ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มธาตุไอโอดีนเข้าไปในเกลือสินเธาว์ โดยอาจผสมเข้าไปในรูปของไอโอด์ หรือไอโอเดด และเรียกเกลือนี้ว่า เกลืออนามัย หรือ เกลือไอโอเดต

การทำเกลือสินเธาว์จากดินเค็ม ผิวดิน
ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ
เกลือเป็นอาหารแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อ ร่างกายและใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมโรง งานหลายชนิด เช่น โรงงานทำกระจก โรงงานฟอก หนัง เป็นต้น เกลือที่ใช้อยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ เกลือสมุทร ที่ได้จากน้ำทะเลโดยวิธีการ นำน้ำทะเลมากักเก็บไว้ให้ระเหยจนเหลือ แต่เม็ดเกลือและเกลือสินเธาว์ที่ได้จากหินเกลือ ชั้นใต้ดิน ส่วนใหญ่จะพบมากในภาคอีสาน ซึ่งมีวิธีผลิต 2 ชนิดคือ

  1. การผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครอบ ครัว เป็นผลิตที่ทำง่าย ๆ ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี ขั้นต่ำ เพื่อผลิตเกลือไว้รับประทานหรือจำหน่าย
  2. การผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมส่งออก เป็นการผลิตที่ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีระดับสูง มี ทั้งชนิดที่สูบน้ำเกลือจากใต้ดินมาต้ม และวิธีอัดแรงดันน้ำเข้าพังทะลายชั้นหิน เกลือใต้ดิน นำน้ำเกลือมาขังเป็นนาเกลือ ให้แห้งเช่นเดียวกับการทำเกลือสมุทร การผลิต เกลือทั้ง 2 วิธีดังกล่าว เป็นการผลิตขนาดใหญ่ ที่ต้องการเกลือปริมาณมาก ๆ ส่งขายตามแหล่งอุต สาหกรรมเป็นสำคัญ

การผลิตเกลือเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวเป็น สิ่งที่มีความสำคัญ เป็นวิถีชีวิตของชาวอีสาน ที่อยู่ในพื้นที่มีแหล่งเกลือจะใช้เวลา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นฤดูฝน ราวเดือน พฤษภาคมครอบครัวไปทำเกลือมาเก็บไว้รับประทาน และใช้ประโยชน์อื่น ๆ แทนการซื้อเกลือจากร้าน มารับประทาน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการต้มเกลือ

  • ไม้คาดทา หรือไม้กวาดขี้เถ้า มีลักษณะ คล้ายคราด ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ มีความยาว มาก กว่า 2 เมตรขึ้นไปปลายข้างหนึ่งต่อเข้ากับ ไม้ มีลักษณะแบน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สำหรับ ขูดหน้าดินที่มีคราบเกลือจับอยู่หรือดิน ขี้ทามารวมกัน และใช้เป็นไม้กวนใน ขั้นตอนการผสมเกลือกับดินขี้ทาให้เข้า กันที่ลานเกลืออีกด้วย
  • สาด คือ เสื่อสานด้วยไม้ไผ่ วางอยู่บนหลุมเล็ก ๆ ใช้สำหรับตากเกลือและรองน้ำในหลุมนั้นมารวมต้มอีกครั้งหนึ่ง
  • กระทอ เป็นไม้ไผ่สานคล้ายตะกล้าหรือกระบุง ภายในกระทอจะรองด้วยใบตองชาดหรือ ใบตองกุง ใช้สำหรับใส่เกลือที่ตากแห้งแล้ว เพื่อรอการขายกระทอหนึ่งใส่เกลือได้น้ำ หนักราว 12 กิโลกรัม

วิธีการต้มเกลือ
การทำเกลือในแหล่งนี้ ใช้วิธีผสมน้ำเกลือ กับดินขี้ทาเพื่อเพิ่มความเค็มของน้ำเกลือ ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ได้เม็ด เกลือจากการต้มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

  • น้ำเค็มถูกตักมาขังไว้ในบ่อพัก โพนขี้ทา หรือ กองดินเกลือถูกขุดมารวมไว้ นำดินขี้ทาและน้ำเกลือมาผสมกันให้น้ำเค็มยิ่งขึ้น
  • ไขน้ำเข้าบ่อพัก เตาต้มน้ำเกลือ น้ำเกลือในภาชนะถังแดงขนาดถังใหญ่ผ่าซีก
  • โดยขั้นแรกชาวบ้านจะใช้ไม้กวาดขี้ทา มากองรวมกันไว้ จากนั้นจึงตักเอาน้ำ เกลือจากบ่อน้ำเกลือหรือบ่อน้ำสร้างมาผสม กับดินขี้ทาในลานเกลือโดยจะใช้ถัง ตักเกลือจากบ่อ เทลงไปจนได้ระดับน้ำ ครึ่งหนึ่งของบานเกลือ แล้วจึงเทดินขี้ทา ตามลงไป อัตราส่วนระหว่างน้ำเกลือกับดินขี้ ทาที่ผสมกันนี้ไม่มีความแน่นอนขึ้น อยู่กับผู้ทำ แ ต่โดยปกติแล้วมักจะ ใช้อัตราส่วน 1:1 ถัง ใช้ไม้คาดทา กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่ว โมง เพื่อให้ดินตกตะกอนจนน้ำใส แล้วจึง ปล่อยน้ำผ่านท่อไม้ไผ่ลงไปในบ่อพัก น้ำเกลือ ส่วนดินจืดที่เหลือจากการตกตะกอน จะถูกนำมาพอกกับคันลานเกลือ เพื่อให้ หนาขึ้น
  • การต้มเกลือ จะตักน้ำเกลือที่เก็บไว้ใน บ่อพักน้ำเกลือเทลงไปในถังแดงที่ วางเรียงกัน ใส่ฟืนและคอยดูความร้อนให้ สม่ำเสมอ ระยะเวลาที่ใช้ในการต้มเกลือแต่ละ ครั้งประมาณ 6 ชั่วโมง น้ำเกลือจะค่อย ๆ งวด ลงจนเกลือตกผลึก แล้วจึงตักเกลือใส่ใน สาดที่วางอยู่บนหลุมเล็ก ๆ น้ำเกลือที่ ตกค้างอยู่จะไหลลงสู่หลุมเล็กและจะ ถูกนำกลับมาต้มอีกครั้งหนึ่ง

klerlang klerdin klerdintom klerdintoa klerdintae

ในสมัยนั้น การต้มเกลือจะทำตลอดทั้งวัน ทั้งคืน โดยจะแบ่งช่วงเวลาในการต้มออก เป็น 4 ช่วง คือ เช้า-เที่ยงวัน เที่ยงวัน- เย็น เย็น-เที่ยงคืนเที่ยงคืน-เช้า ในระหว่าง นั้นจะมีการผลัดเปลี่ยนกันมาเฝ้าเตาต้ม เกลือ หลังจากนั้นจะมีพ่อค้ามารับซื้อ เกลือที่บรรจุใส่กระทอไว้รอการขายแหล่ง ที่พบ
การผลิตเกลือชนิดนี้จะพบทั่วไปในเขต ลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง เช่น ที่บ้านเสียว บ้านบะ หว้า บ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เขตติด ต่อกับอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ซึ่งพบหลักฐาน การปลิตเกลือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำนักสงฆ์โพน สวรรค์ บ้านเม่นใหญ่ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการผลิตเกลือโบราณ ในเขต 4 หมู่บ้าน เป็นโพนดินขนาดใหญ่ที่ มีภาชนะดินเผากองสุมกันเป็นเนินดินอีก หลายแห่ง นับว่าวิธีการผลิตเกลือดังกล่าวมี มานานแล้ว ในระดับนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสิน ค้าอุตสาหกรรม

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด อาหารเพื่อสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น