เก็กฮวย แก้กระหายหอมชื่นใจ

16 ธันวาคม 2557 สมุนไพร 0

ดอกเก๊กฮวย หรือจวี๋ฮัว (Juhua) มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยา คือสีขาว Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ตระกูล Asteraceae และส่วนสายพันธุ์ดอกสีเหลือง Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L . มีใช้แตกต่างเล็กน้อยจากสีขาว สำหรับพันธุ์อื่น เป็นเก๊กฮวยป่า Dendranthema boreale (Makino) Ling ต้นเก๊กฮวยดอกสีขาว สูง 60-150 เซนติเมตร ปลูกได้คุณภาพดีที่มณฑลเจอะเจียง อันฮุย และเหอหนาน การเก็บดอกเป็นยา จะเก็บเมื่อปลายฤดูใบไม้ร่วง และช่วงต้นของฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกไม้ชนิดนี้บาน นำมาตากในที่ร่วมจนแห้ง คุณสมบัติประจำตัว คือมีกลิ่นฉุน ขม และ รสหวาน มีความเย็น มีผลโดยตรงต่อปอด และ ตับ การออกฤทธิ์ ขับไล่ลม (วาตะ) ความร้อน ช่วยขจัดความร้อนหรือไฟออกจากตับ อันจะมีผลช่วยในการรักษาโรคทางตา และขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

kekhoaydok

ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) : Chrysanthemum
ชื่ออื่น : เบญจมาศสวน เบญจมาศหนู (ไทยภาคกลาง) เก๊กฮวย (จีน)
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :

  • ดอกเก๊กฮวยสีขาว : ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat.
  • ดอกเก๊กฮวยสีเหลือง : ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema indicum L. หรือ Chrysanthemum indicum L.
  • ดอกเก๊กฮวยป่า : ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema boreale (Makino) Ling

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เก๊กฮวยเป็นไม้ดอกตระกูลเดียวกับทานตะวัน ปลูกมากทางภาคเหนือ เป็นไม้ล้มลุกลำต้นตรง ลักษณะใบเป็นรูปใข่ ปลายใบแหลม ขอบเว้า ออกดอกเป็นกระจุก ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก ดอกเก็กฮวยจะเก็บเมื่อดอกบาน นำมาตากแห้งเก็บไว้ได้นาน ต้มกับน้ำจะมีสีเหลืองอ่อน

kekhoaybai kekhoayban kekhoaya kekhoaykaw

สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์

  • ใช้รักษาโรคทางร่างกายภายนอกหรือนอกอวัยวะ เนื่องมาจากลม และความร้อน อย่างเช่น เริ่มมีไข้ใหม่ ๆ ตามฤดูกาล ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดศีรษะ และ ไอ มักใช้ ร่วมกับใบหม่อน เมนทอล และ สมุนไพรชื่อเหลี่ยงเคี้ยว ( Fructus forsythiae ) นอกจากนี้ยังใช้กับอาการหวัดเนื่องจากอาการร้อน
  • ใช้สำหรับอาการตาบวม แดง และปวดตา ตามองไม่ชัด หรือเบลอ และอาการอ่อนแรง สำหรับอาการตาบวมแดง ปวดตาเนื่องมาจากลม และความร้อนกระ ทบต่อ ตับ หรือ ไฟในตับมาก มักใช้ร่วมกับ ใบหม่อน ชุมเห็ดไทย และหญ้าเล่งต้า ( Radix gentianae ) สำหรับการพร่องของตับ และไต พร้อมกับอาการตามัว อาจใช้ร่วมกับ เก๋ากี้ เส็กตี่ ( Radix Rehmanniae Praeparata )
  • ใช้สำหรับการมึนศีรษะ และปวดหัว เนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ สามารถใช้ร่วมกับ โกฐสอ และอื่น ๆ
  • กรณีเป็นฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ อาจใช้ดอกสด แล้วนำมาบดผสมน้ำ แล้วดื่ม แล้วนำกากมาพอกอาการอักเสบที่ตา อาจใช้พอกโดยตำดอกสดประคบภายนอกดวงตา

ตำรายาเวียตนามกล่าวถึง เก๊กฮวยจีนดอกสีขาวว่าใช้เหมือนดอกสีเหลือง มีประโยชน์ต่อเลือด และการไหลเวียนเลือด ให้พลังชีวิต ดอกใช้ในการแก้หวัด ปวดหัวและตาอักเสบ ใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในการรักษาผมร่วง หรือทำให้ไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา

สรุปการใช้เก๊กฮวย แก้หวัด แก้ร้อนใน แก้อาการตาเจ็บ ตาบวม ขนาดการใช้ ใช้ดอกแห้ง ประมาณ ๕-๙ กรัม ต้มกิน หรือทำเป็นชา ต้มดื่มในปริมาณที่เหมาะสม

แม้ว่าเก๊กฮวย เป็นพืชดั้งเดิมของ จีนและญี่ปุ่น แต่แพร่กระจายทั่วไปในกัมพูชา ลาว และไทยสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศไทย มีการจำหน่ายโดยเก็บดอกสด มานึ่งระยะเวลาสั้น แล้วทำให้แห้งโดย อบแห้งที่อุณหภูมิ๔๐ องศาเซลเซียสจนแห้ง ประมาณ สามวัน อย่างไรก็ดี เก็กฮวยที่นำมาปลูกใช้เอง ควรเลือกสายพันธุ์ที่ถูกต้อง ไม่เก็บมาจากป่า เพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน

kekhoaykor

ดอกเก๊กฮวย มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid), สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin), สารอดีนีน (Adenine), สตาไคดวีน (Stachydrine), โคลีน (Choline) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
ประโยชน์ของน้ำเก๊กฮวย ช่วยดับกระหาย เพิ่มความสดชื่น

  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยขับเหงื่อ ช่วยบำรุงตับ ไต
  • ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
  • ช่วยยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่างๆ
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงโลหิต
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว แก้อาการตา
  • อักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ
  • ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย
  • ช่วยแก้ไข้ ช่วยแก้อาการหวัด
  • แก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม
  • เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยแก้อาการไอได้
  • เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยบำรุงปอด
  • ใช้รักษาฝีเป็นหนอง บวมและเป็นพิษ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาบดผสมน้ำแล้วดื่ม และนำกากที่เหลือมาพอกบริเวณที่เป็น
  • ช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา

การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กมาก ค่อนข้างยาก จึงนิยมเพาะกล้าขยายพันธุ์ด้วยการปักชำหรือการแยกหน่อ ชอบมากถ้าดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่างเป็นกลาง อุณหภูมิ 12-35 องศาเซลเซียส ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-500 เมตร สูงกว่านี้อาจออกดอกช้าหรือไม่ก็ต้องควบคุมอุณหภูมิแบบในเรือนกระจก

kekhoaykla kekhoaytoom kekhoayton

ที่มา
หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันพุธที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๖ .คอลัมน์ภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ หน้า ๕

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น