เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรม ชาวนาคุณธรรม

2 กุมภาพันธ์ 2557 แหล่งเรียนรู้ 0

ชาวนาคุณธรรม คือ กลุ่มชาวนาอาชีพ ที่พากันลุกขึ้นมารวมกลุ่มกัน เพื่อเดินทวนกระแสโลก ประกาศตัวที่จะธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของชาวนา และสิทธิในการรักษาฐานอาหารซึ่งเป็นความมั่นคงของชีวิตและสังคมด้วยการผลิตข้าวอินทรีย์ ไร้สารพิษ ที่เกื้อกูลต่อโลก ต่อสรรพชีวิตในระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม ทวนกระแสการผลิตในระบบทุนนิยม บนวิถีของการพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง บนฐานของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคุณธรรม

จากจุดก่อเกิดของกลุ่มข้าวคุณธรรม ที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคน ไปสู่การประกอบสัมมาชีพ ที่มีคุณธรรมเป็นฐาน ชาวนากลุ่มนี้ จึงไม่เพียงปลูกข้าวอินทรีย์ที่ไม่ทำร้ายโลก ทำร้ายตนเอง และได้รับรองมาตรฐานสากล(IFOAM) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2538 เท่านั้น แต่ชาวนาคุณธรรม ยังเป็นชาวนาที่ไม่ได้ทำนานเพียงเพื่อให้ได้ ข้าว แต่เป็นชาวนาที่ ทำนาเพื่อเอานา ทำนาเพื่อบ่มเพาะความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ ทั้งยังทำนาเพื่อยกระดับจริยธรรมและจิตวิญญาณ

ด้วยการมองเห็นปัญหา ว่า แม้ชาวนาจะปลูกข้าวอินทรีย์ แต่หากไม่สามารถพัฒนาจิตใจด้านใน ยังมัวเมา หลงใหลอยู่กับอบายมุขร่ำสุรา สูบบุหรี่ ตีไก่ชน บริโภคแบบไม่บันยะบันยัง และใช้ชีวิตไปในทางละเมิดศีลธรรม ชาวนาก็ไม่มีหนทางที่จะเดินออกจากกรอบกรงขังเดิม ๆ ของระบบทุนนิยม ที่ส่งเสริมให้ผู้คนบริโภคแบบล้างผลาญทำลายทรัพยากรด้วยความโลภได้ และหาเป็นเช่นนี้ หนี้สินของชาวนาก็ไม่มีวันลด ปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมาเป็นลูกโซ่ ไม่มีหนทางแก้ไข เมื่อถึงวันหนึ่งชาวนาก็ต้องสิ้นนา และผู้สืบทอดมรดกการทำงานก็จะสูญหายไป

กลุ่มชาวนาอินทรีย์จาก จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหารจึงได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสรุปบทเรียนรวมกลุ่มเป็น ชาวนาคุณธรรม ประกาศปฏิญญาชาวนา โดยมีข้อตกลงร่วมกัน คือ ชาวนาต้องรวมกลุ่มออมสวัสดิการกองบุญหนุนเกื้อ ปฏิบัติตามหลักศีล ๕ ลด ละ เลิกอบายมุข ไม่ดื่มสุราของมึนเมา ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน และทำการผลิตในระบบเกษตรกรอินทรีย์ ที่มีการรับรองมาตรฐาน เพื่อชาวนาได้ปฏิบัติธรรม ไปพร้อม ๆ กับการทำงาน ไร่นา เหมือนเช่นดังที่ท่านพุทธทาสได้เทศนาไว้ว่า การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะนำวิถีแห่งชาวนาแท้ ซึ่งเป็นวิธีแห่งเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ให้กลับคืนมาสู่สังคมชาวนาไทย

วันนี้ กลุ่มข้าวคุณธรรม ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นความจริงเชิงประจักษ์ ว่า ชาวนาที่ยึดถือเอาทำงานในท้องทุ่ง เป็นสิ่งเดียวกับการปฏิบัติธรรม และการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมข้างในตน คือ ต้นทางของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ทั้งการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสู่การปฏิบัติ จนปรากฏเป็นรูปธรรมความจริง คือ หนทางแห่งการพัฒนาคน ให้กับชาติบ้านเมือง อย่างแท้จริง ชาวนาคุณธรรม คือ กลุ่มชาวนาอาชีพ ที่พากันลุกขึ้นมารวมกลุ่มกัน เพื่อเดินทวนกระแสโลก ประกาศตัวที่จะธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของชาวนา และสิทธิในการรักษาฐานอาหารซึ่งเป็นความมั่นคงของชีวิตและสังคมด้วยการผลิตข้าวอินทรีย์ ไร้สารพิษ ที่เกื้อกูลต่อโลก ต่อสรรพชีวิตในระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม ทาวนกระแสการผลิตในระบบทุนนิยม บนวิถีของการพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง บนฐานของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคุณธรรม

จากจุดก่อเกิดของกลุ่มข้าวคุณธรรม ที่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งมั่นพัฒนาคน ไปสู่การประกอบสัมมาชีพ ที่มีคุณธรรมเป็นฐาน ชาวนากลุ่มนี้ จึงไม่เพียงปลูกข้าวอินทรีย์ที่ไม่ทำร้ายโลก ทำร้ายตนเอง และได้รับรองมาตรฐานสากล(IFOAM) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2538 เท่านั้น แต่ชาวนาคุณธรรม ยังเป็นชาวนาที่ไม่ได้ทำนานเพียงเพื่อให้ได้ ข้าว แต่เป็นชาวนาที่ ทำนาเพื่อเอานา ทำนาเพื่อบ่มเพาะความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ ทั้งยังทำนาเพื่อยกระดับจริยธรรมและจิตวิญญาณ

ด้วยการมองเห็นปัญหา ว่า แม้ชาวนาจะปลูกข้าวอินทรีย์ แต่หากไม่สามารถพัฒนาจิตใจด้านใน ยังมัวเมา หลงใหลอยู่กับอบายมุขร่ำสุรา สูบบุหรี่ ตีไก่ชน บริโภคแบบไม่บันยะบันยัง และใช้ชีวิตไปในทางละเมิดศีลธรรม ชาวนาก็ไม่มีหนทางที่จะเดินออกจากกรอบกรงขังเดิม ๆ ของระบบทุนนิยม ที่ส่งเสริมให้ผู้คนบริโภคแบบล้างผลาญทำลายทรัพยากรด้วยความโลภได้ และหาเป็นเช่นนี้ หนี้สินของชาวนาก็ไม่มีวันลด ปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมาเป็นลูกโซ่ ไม่มีหนทางแก้ไข เมื่อถึงวันหนึ่งชาวนาก็ต้องสิ้นนา และผู้สืบทอดมรดกการทำงานก็จะสูญหายไป

กลุ่มชาวนาอินทรีย์จาก จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหารจึงได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสรุปบทเรียนรวมกลุ่มเป็น ชาวนาคุณธรรม ประกาศปฏิญญาชาวนา โดยมีข้อตกลงร่วมกัน คือ ชาวนาต้องรวมกลุ่มออมสวัสดิการกองบุญหนุนเกื้อ ปฏิบัติตามหลักศีล ๕ ลด ละ เลิกอบายมุข ไม่ดื่มสุราของมึนเมา ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน และทำการผลิตในระบบเกษตรกรอินทรีย์ ที่มีการรับรองมาตรฐาน เพื่อชาวนาได้ปฏิบัติธรรม ไปพร้อม ๆ กับการทำงาน ไร่นา เหมือนเช่นดังที่ท่านพุทธทาสได้เทศนาไว้ว่า การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะนำวิถีแห่งชาวนาแท้ ซึ่งเป็นวิธีแห่งเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ให้กลับคืนมาสู่สังคมชาวนาไทย

kawkuntamt

วันนี้ กลุ่มข้าวคุณธรรม ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นความจริงเชิงประจักษ์ ว่า ชาวนาที่ยึดถือเอาทำงานในท้องทุ่ง เป็นสิ่งเดียวกับการปฏิบัติธรรม และการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมข้างในตน คือ ต้นทางของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ทั้งการน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสู่การปฏิบัติ จนปรากฏเป็นรูปธรรมความจริง คือ หนทางแห่งการพัฒนาคน ให้กับชาติบ้านเมือง อย่างแท้จริง

บุญกุดชุม ในจังหวัดยโสธร ถือเป็นแนวคิดการพึ่งตนเองของชาวบ้าน ที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง ให้คนในชุมชนลดการพึ่งพาภายนอกด้วยรูปแบบธนาคารชุมชน การปลูกข้าวอินทรีย์ ซ้ำยังทำให้สังคมวงกว้างได้ตระนักถึงการบริโภคโดยไม่เบียดเบียนกันและกัน

เราคงไม่สบายใจ หากรู้ว่าข้าวที่กินส่งเสริมการล่าอาณานิคมทางการเกษตร ทำให้ชาวนาเป็นหนี้ จนต้องเช่าผืนนาที่เคยเป็นของตัวเองทำกิน ไม่ก็เลิกอาชีพค้อมหลังให้แม่ธรณีเสียเลย

คงยิ่งแย่หากข้าวจานนั้นมาจากนาเคมี ทำร้ายสรรพชีวิตรายรอบ ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเราเองที่กำลังตักข้าวเข้าปาก

เราคงทำเป็นไม่รู้สึกรู้สาอะไรต่อไปไม่ได้แล้ว

บุญ ชุมชน

เบี้ยกุดชุม เกิดขึ้นจากแนวคิดเศรษฐกิจพึ่งตนเองของชาวบ้านนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เมื่อปี 2542 เพื่อให้ชุมชนลดการพึ่งพาภายนอกด้วยธนาคารชุมชน เบี้ยถูกนำมาใช้เฉพาะแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชนเท่านั้น อาทิ ผลิตผลการเกษตร ข้าว สมุนไพร และสินค้าหัตถกรรมต่างๆ

ทว่าหลังใช้ได้เพียงสัปดาห์เดียว เศรษฐกิจชุมชนรูปแบบนี้ก็ถูกยับยั้งจากรัฐไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งห้ามการใช้เบี้ยกุดชุมเพราะผิดกฎหมาย แต่ในที่สุดเมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ของชุมชนก็ผ่อนผันให้ใช้เบี้ยได้ แต่ต้องเปลี่ยนเป็น บุญกุดชุม ไม่ใช้คำว่า ธนาคาร และ เงิน เบี้ยชุมชนจึงกลับมาอีกครั้งเมื่อปี 2546เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

นอกจากนี้ชาวกุดชุมยังริเริ่มการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ และร่วมกันสร้างโรงสีชุมชนจากเงินบริจาคแหล่งต่างๆ เพื่อแปรรูปผลิตผลกันเองตั้งแต่ปี 2534

ปัจจุบันชาวบ้านที่นี่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ชุมชนเข้มแข็ง เป็นไปได้จริง

เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

คนปลูก+คนกิน = ข้าว 🙂

เครือข่าย ฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายกำเนิดใหม่จากความร่วมมือร่วมใจระหว่าง บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด กับกลุ่มชาวนาคุณธรรม 4 จังหวัด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี

เจตนารมณ์หลักของเครือข่าย มุ่งสร้างสังคมแห่งการเกื้อกูล ที่เป็นมากกว่าคนขายกับคนซื้อ หรือผู้ผลิตกับผู้บริโภค แต่เป็นสายใยถักร้อยระหว่างคนปลูกกับคนกิน ข้าว อย่างแนบแน่น

กลุ่มชาวนาคุณธรรม หรือกลุ่มข้าวคุณธรรม เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มชาวนา จังหวัดยโสธร ที่ทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2538 นำไปสู่การตั้งองค์กรชาวนา เริ่มต้นในพื้นที่แรกๆ ในกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลนาโส่ ตำบลบากเรือ ปัจจุบันได้ขยายกลุ่มเพิ่มเป็น 4 จังหวัดดังกล่าว

นอกจากผลผลิตแบบกสิกรรมธรรมชาติปลอดสารพิษได้มาตรฐานสากลจากโรงสีชุมชน คนปลูกเองก็ต้องปฏิบัติตามปฏิญญาชาวนาด้วยการรักษาศีล 5 ลดละเลิกอบายมุขสิ่งมอมเมาทุกประเภท

ข้าวที่ได้มา นอกจากจะปลอดภัยต่อคนกินและระบบนิเวศแล้ว ย่อมมีส่วนพัฒนาชีวิตและจิตใจคนปลูกด้วยในคราวเดียวกัน

ข้าวของเรากว่า 150 สายพันธุ์

เครือข่าย ฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา แม้หมาดใหม่ แต่เปิดกว้างสำหรับสมาชิกคนกินข้าว 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ รายเดือน ราย 6 เดือน และรายปี

kawkuntam

มีข้าวหลากประเภทให้เลือกรับ ทั้งข้าวหอมมะลิและหอมมะลิแดง (ในรูปแบบข้าวกล้องและซ้อมมือ) ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องงอก จนถึงข้าวกล้องพื้นเมือง 150 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตน้อยมากในแต่ละปี

ต้องยอมรับว่าผู้เข้าร่วมเครือข่ายฯควรมีภูมิลำเนาใกล้กรุงเทพฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจุดรับส่งสินค้าหลักอยู่ที่บริษัท ทีวีบูรพา ในซอยรามคำแหง 43/1

แม้ต้องพาข้าวเดินทางไกลสักนิด แต่แนวคิดเกื้อกูลชาวนาเพื่อการพึ่งตนเองยังอยู่ครบครัน

หันมากิน ข้าว ที่ช่วยสนับสนุนชาวนาตัวจริงให้มีแรงปลูกข้าวอินทรีย์ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

กินอย่างรู้ที่มา

กินอย่างเกื้อกูล เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

กลุ่มชาวนารวมตัวก่อตั้งเครือข่ายข้าวคุณธรรม
ด้วยแนวคิดข้างต้นนี้เอง กลุ่มชาวนาซึ่งเรียกตัวเอง ว่า เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรม โดยการนำของ คุณพ่อวิจิตร บุญสูง ปราชญ์ชาวบ้านระดับชาติ ภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิธรรมร่วมใจ วัดป่าสวนธรรม อ. นาโส่ จ.ยโสธร จึงเกิดขึ้นมา อย่างมั่นคงในช่วงปีที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจาก รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นฝ่ายสนับสนุนในการร่วมพัฒนาแนวคิดของชาวนากลุ่มนี้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับข้าวที่ผลิตได้ ด้วยการชูสโลแกนเรื่องคุณธรรมของชาวนาผู้ผลิตข้าว เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาคนและผลผลิตควบคู่กันไปในการสร้างแบรนด์ ข้าวคุณธรรม

จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากการดำเนินงาน โครงการวิจัยขบวนการพัฒนาสหกรณ์ใน พื้นที่ จ. ยโสธร ภายใต้ชุดโครงการวิจัย การพัฒนาโครงการสหกรณ์ในพื้นที่ 36 จังหวัด โดย ทีมงานและผู้ประสานงานกลางของ รศ.จุฑาทิพย์ ได้พบปะพูดคุยกับแกนนำชาวนา อ. ป่าติ้ว จ. ยโสธร และนัดหมายจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่วัดป่าธรรมะร่วมใจ ใน อ. ป่าติ้ว อีก 3 ครั้ง จึงได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยการสร้างพรีเมี่ยม แบรนด์ของข้าวอินทรีย์ กระจายอยู่ในพื้นที่ ใน 4 จังหวัดของภาคอีสาน

ทั้งนี้ กรอบแนวคิดของเครือข่ายข้าวคุณธรรม มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน ของข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มชาวนาที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาแล้วมากกว่า 3 ปี ภายใต้แบรนด์ ข้าวคุณธรรม ซึ่งมีเจตนารมณ์สำคัญ คือ ต้องการแก้ไขปัญหาการขายข้าวของชาวนาที่ได้ราคาต่ำ เพราะต้องพึ่งอาศัยคนกลางในระบบตลาดเสรี โดยมุ่งหวังให้เกิดการค้าที่ยุติธรรมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ ชาวนาผู้ผลิต ผ่านกระบวนการตลาด จนถึงมือผู้บริโภค จะต้องสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่สำคัญ คือ ต้องก่อให้เกิดอุดมการณ์แห่งความร่วมมือ ซึ่งจะได้ต้นแบบใน 2 มิติ ดังนี้ มิติแรก คือ การเป็นต้นแบบห่วงโซ่อุปทาน (ความต้องการซื้อสินค้า) ที่มีคุณค่า บนกรอบ ความคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำผลผลิตข้าวจากชาวนาไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย อันจะนำไปสู่ผลผลิตชนิดอื่นและพื้นที่การเกษตรอื่นๆ ต่อไป มิติที่สอง เป็นต้นแบบของการพัฒนาคนให้มีความร่วมมือกันที่จะสร้างระบบคุณธรรมให้เกิด ขึ้นภายในกลไกการผลิต และการตลาด ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยให้เกิดการสร้างคน ในทางปฏิบัตินอกห้องเรียน อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ภายหลังจากที่รับทราบถึงปัญหาของตัวเองและตั้งเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ที่จะ แก้ไขแล้ว การหยิบยกเอาเรื่องคุณธรรมเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร จึงเป็นกระบวนการที่ถูกต่อยอดจากคุณธรรมตามศีล 5 ที่ชาวนากลุ่มนี้มีอยู่แล้วแต่เดิมในเวลาต่อมา

เจ้าของแปลงนาต้องถือศีล 5
คุณพ่อวิจิตรเล่าว่า ถึงตอนนี้ มีชาวนาเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวนทั้งสิ้น 108 คน จาก 4 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร มุกดาหาร อุบลราชธานีและอำนาจเจริญ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มมาตรฐาน ดังนี้ 1. กลุ่มข้าวคุณธรรมเต็มรูปแบบ คือ ชาวนาที่ได้รับมาตรฐานข้าวอินทรีย์ตามาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานเกษตร อินทรีย์แห่งประเทศไทย (มทก.)แล้ว และ 2. กลุ่มข้าวคุณธรรมปรับเปลี่ยน จะหมายถึงชาวนาที่ผลผลิต ของตัวเองยังไม่ได้คุณภาพ ตามมาตรฐาน มทก. แต่ก็เข้าสู่กระบวนการข้าวคุณธรรมของโครงการด้วย

ในกระบวนการผลิตข้าวคุณธรรมนั้น เริ่มต้นจากการหว่านข้าวลงในแปลงนา ซึ่งเจ้าของแปลงต้องเป็นชาวนาผู้ถือศีล 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเคร่งครัดในการ ลด ละ เลิก อบายมุข 3 ประการ คือ การงดเสพสุรา ของมึนเมา ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่เล่นการพนัน นอกจากนี้ ในส่วนของกระบวนการตลาด โครงการนี้ก็ต้องการเน้นให้ การดำเนินการเป็นไปโดยโรงสีชุมชน ซึ่งจะคอยทำหน้าที่รวบรวมข้าวสู่คลังสินค้า ตลอดจนการสีข้าวตามการสั่งซื้อร่วมกันและรับหน้าที่การตลาดตามข้อตกลง

ปัญหาเดิมที่คั่งค้างแม้ว่าจะพากันละทิ้งแนวทางของเกษตรเคมี และหันมาปลูกข้าว หอมมะลิในแบบเกษตรอินทรีย์แล้วก็ตาม แต่สภาพความเป็นจริงของชาวนาที่เป็นมาตลอด นั่นคือ แม้ข้าวที่ปลูกจะได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว แต่ก็ต้องประสบกับภาวะของราคาข้าว ตกต่ำ มิหนำซ้ำ แม้ปลูกข้าวเองแต่ทุกวันนี้ก็ยังต้องซื้อข้าวกิน หมดเงินไปกับการจับจ่ายจนแทบไม่มี เงินเหลือเก็บ เป็นหนี้เป็นสิน ทำให้ชาวนาอย่างพวกเราต้องร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไข และสร้างกระบวนการความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนขึ้นมา คุณพ่อวิจิตร กล่าว

เหตุผลข้างต้นจึงกลายเป็นที่มาของการใช้ศีลธรรมประจำใจที่หลายคนในกลุ่มถือ ปฏิบัติอยู่แล้ว ถูกหยิบนำมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนา ลบภาพที่มักจะติดตา คนทั่วไปว่า เป็นชาวนาแต่ต้องเป็นหนี้และมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เนื่องจากที่ผ่านมารายได้ที่มีนั้นแทบจะไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครัวเรือน ทั้งที่เป็นรายจ่ายที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับการ ดำเนินชีวิต เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และใช้รายได้ครัวเรือนให้หมดไปกับการพนันต่างๆ จนทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัวตามมาในที่สุด และเมื่อมีการเริ่มโครงการก็สามารถช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ ซึ่งจะนำ ไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนได้อีกทางหนึ่ง

มีการตรวจสอบศีลอย่างเคร่งครัด
ขั้นตอนของการตรวจสอบศีลนั้น เป็นไปอย่างเคร่งครัดมีทั้งหมด 3 ระดับ โดยแกนนำคนสำคัญ มีทั้งผู้นำกลุ่มชาวนา พระสงฆ์ในชุมชน ผู้ทำหน้าที่สอนเรื่องหลักธรรมให้กับสมาชิกในกลุ่มชาวนา นักส่งเสริมผู้ทำหน้าที่่ประเมินเกษตรกรตามมาตรฐานโครงการ คือ การตรวจที่แปลงนา (ตรวจว่าไม่มีการใช้สารเคมีปนเปื้อนตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่) ส่วนในระดับเพื่อนบ้าน (จะช่วยกันตรวจสอบว่ามีการใช้สารปนเปื้อน และมีการละเมิดผิดศีล หรือเปล่า) และสุดท้ายเป็นการตรวจศีลที่วัด (การจัดสร้างเวทีให้ความรู้และเสวนาธรรมโดย มีพระคุณเจ้าพรหมมา สุภทฺโธ เป็นผู้ตรวจสอบ)

คุณพ่อวิจิตร เล่าว่า ถือเป็นความท้าทายมากว่าจะสามารถรักษาศีลและทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติและวิธีการตรวจสอบ ก่อนอื่นก็ต้องอาศัยความจริงใจและความซื่อสัตย์ของสมาชิกในกลุ่มที่จะคอย เป็นหูเป็นตาไม่ให้ความตั้งใจของกลุ่มเสียหลักการไปตั้งแต่แรก

นอกจากนี้ ที่ขาดไม่ได้ นั่นคือกรรมการบริหารโครงการ ซึ่งจะทำหน้าที่คอยสอดส่อง ตรวจสอบศีล และควบคุมคุณธรรมของสมาชิกในกลุ่ม โดยที่ตัวเองก็ต้องเป็นผู้รักษาศีลและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสียก่อน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกในกลุ่มให้ดีขึ้น ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกลุ่ม มีคุณธรรมในทุกๆ ขั้นตอน จนในที่สุดจาก 108 รายที่เข้าร่วม โครงการเหลือเพียง 38 รายที่ผ่านการคัดเลือกมาตรฐานคุณธรรม

ในระบบการตรวจสอบจะมีผู้ตรวจศีล ซึ่งก็คือชาวนาให้ชาวนาตรวจสอบตนเอง และการตรวจสอบจากผู้ตรวจศีล ซึ่งจะเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้าน รวมทั้งญาติพี่น้องของ ชาวนาจะช่วยกันสอดส่องดูแล ตักตือน และคอยจดบันทึกเพื่อนำมารายงาน โดยทุกๆ ขั้นตอนจะมีระบบการตรวจสอบจากกลุ่มชาวบ้านด้วยกันอย่างเคร่งครัด

คุณพ่อวิจิตรย้ำว่า เพราะถ้าเราบอกกับใครๆว่า เราเป็นชาวนาผู้รักษาศีลที่ปลูกข้าวคุณธรรม แต่เรายังไม่ซื่อสัตย์กับตัวเองว่า เราทำอะไรลงไป ก็คงจะเสียความน่าเชื่อถือได้ ไม่เช่นนั้น อาจะทำให้เกิดข้าวคุณธรรมเถื่อนที่แอบอ้างคุณสมบัติตรงนี้ขึ้นมา โดยที่ชาวนาผู้ปลูกข้าว อาจจะไม่ได้รักษาศีลอย่างแท้จริง

ข้าวคุณธรรม ได้ผลตอบรับที่ดี
ครั้นเมื่อโครงการประสบความสำเร็จ สามารถผลิตข้าวหอมมะลิคุณธรรมที่ได้มาตรฐาน ออกมาจัดจำหน่ายได้ในตลาดระดับบนทั้งในงานนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง งานเกษตรแฟร์ ตลอดจนการขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำหลายแห่งในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป อาทิ ในกรูเม่ต์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน, ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ KU Outlet center ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ทำให้ข้าวคุณธรรมได้รับผลตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นกำลัง ใจให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ช่วยให้คนไทยได้กินข้าวคุณภาพดีมาก กว่าที่จะส่งออกข้าวดีๆ ไปขายให้ต่างชาติอย่างที่ผ่านมา

kawkuntampr

กลุ่มของเราเองมีความตั้งใจที่จะผลิตข้าวคุณภาพออกมาให้คนไทยได้กินข้าวดีๆ ก่อนเป็นอันดับแรก และเมื่อมีผู้อุดหนุนข้าวคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น เราเองก็ภาคภูมิใจอย่างมากที่ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์กลุ่มสังคมชาวนาที่มีคุณธรรมให้เกิดขึ้น จริงในสังคม เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่ช่วยกันปลูกคุณความดีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการประยุกต์ใช้ หลักศีลธรรมเบื้องต้นให้สามารถกลายเป็นวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงคุณธรรมในจิตใจ ที่ดีงาม

เป็นรากฐานความมั่นคงทางสังคมอันแท้จริง ที่เกิดขึ้นมาจากจิตใจภายใน ซึ่งเครือข่าย ชาวนาคุณธรรม โดยการนำของคุณพ่อวิจิตรก็มีความเชื่อว่าการพัฒนากลุ่ม โดยอาศัยพื้นฐานด้านศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่าง ยั่งยืน ดังจะห็นได้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับภาคครัวเรือนของชาวนาคุณธรรมว่า…

ไม่เพียงแต่ผลผลิตจะมีช่องทางในการจำหน่าย โดยใช้จุดแข็งในด้านศีลธรรมเป็นหลักเพื่อสร้างรายได้ให้ชาวนาได้ดีขึ้นเท่า นั้น ความมั่นคงเชิงสังคมที่เกิดขึ้นตามมาต่างหาก ที่ทำ ให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง เพราะเมื่อห่างไกลการพนัน ไม่มึนเมาไปกับเหล้ายา ก็ทำให้ครอบครัวของชาวนาคุณธรรมที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา ด้วย จากที่ไม่เคยมีเงินเหลือ เก็บ เกิดการทะเลาะวิวาทเมื่อเหล้าเข้าปาก ก็เปลี่ยนมาเป็นการหันหน้าพูดคุยอย่างเข้าใจกัน ไม่ติดหนี้สินเพราะการพนัน จึงส่งผลให้กลุ่มชาวนาคุณธรรมในวันนี้ มีรอยยิ้ม และยินดีมีส่วนร่วมในการหาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้อย่างเข้าถึงและเข้าใจกันมากขึ้นตามมา

ความภาคภูมิใจของการหว่านเมล็ดพันธุ์คุณธรรม
ไม่มีอะไรที่เราในฐานะชาวนาผู้ปลูกข้าวคุณธรรม จะภาคภูมิใจมากไปกว่าการที่ได้มี ส่วนกระตุ้นให้คนกลุ่มหนึ่งในสังคม กลุ่มชาวนากลุ่มหนึ่ง ได้หว่านเมล็ดพันธุ์คุณธรรมลง ไปในการทำการค้าและการดำเนินชีวิตประจำวัน กลายเป็นวิถีชีวิตที่หยั่งรากลงลึกจนกลาย เป็นวิถีชีวิต พื้นฐานความคิดและการกระทำที่กระตุ้นให้หลายๆ ฝ่ายหันมาเอาใจใส่คนดี สนับสนุนการทำความดี ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะเป็นใครในสังคมนี้ก็ตาม เพื่อเป็นการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับสังคมส่วนรวมในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป คุณพ่อวิจิตร กล่าว

ด้าน รศ. จุฑาทิพย์ ในฐานะฝ่ายสนับสนุน ผู้จุดประกายให้โครงการนี้เกิดขึ้นสานฝันของ ชาวนาให้เป็นจริงโดยไม่ให้ชาวนาติดกับดักตัวเอง หันมาใช้คุณธรรมประจำใจสร้างคุณค่าให้ ผลผลิตข้าวในระยะยาว ซึ่งอาจารย์ก็เชื่อไม่ต่างกันว่า แนวทางของชาวนาคุณธรรมที่เริ่มจาก เจ้าของแปลงนาผู้มีความตั้งใจเลิกเหล้า บุหรี่ และการพนัน เหล่านี้จะสามารถใช้เป็นต้นแบบ ของความสำเร็จอีกรูปแบบหนึ่ง โดยข้าวคุณธรรมสามารถที่จะป็นสินค้าเชื่อมคุณค่าของคนมี คุณภาพผู้รักษาศีล ให้เข้ามาร่วมมือกันพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวอินทรีย์ซึ่งนอกจากจะได้ข้าวหอม มะลิที่มีคุณภาพ ให้ความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้ว

ทุกๆ กระบวนการตามความตั้งใจของเกษตรกรกลุ่มนี้ ยังเป็นการสร้างจิตวิญญาณความ ร่วมมือกันในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์สังคมให้เป็นสุข ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปพร้อมๆกัน และยังสามารถขยายผลของการสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเปรียบได้ดั่งมหาวิทยลัยชีวิต ที่จะนำไปสู่การขยายผลต่อไปใน เครือข่ายเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ

ข้าวคุณธรรมทุกเม็ด เต็มอิ่มด้วยศีล 5 อีกหนึ่งแง่มุมความดีที่อบอวลอยู่ในสังคมไทย ปีใหม่นี้ข้าวคุณธรรมน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางลือกที่จะมอบเป็นของขวัญให้แก่กัน

ปฏิญญาเมษา 50 : ชาวนาคุณธรรมณ มูลนิธิธรรมะร่วมใจ อ. ป่าติ้ว จ. ยโสธร วันที่ 17 เมษายน 2550

  1. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการยึดมั่นในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์บนหลักการพึ่งพาตนเอง
  2. สมาชิกของแต่ละศูนย์จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เดือนละ 1 ครั้ง
  3. สมาชิกจะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  4. จะมีการพัฒนาชุดความรู้กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวของสมาชิก
  5. การพัฒนาช่องทางการตลาด 2 แนวทาง ได้แก่ ข้าวเปลือกและข้าวสาร
  6. เราจะผลิตข้าวเปลือกให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ36 กรัม
  7. เราจะยึดมั่นในศีล 5 เลิกอบายมุข 3 (ไม่เล่นการพนัน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า)
  8. เราจะมุ่งมั่นสร้างแบรนด์ ข้าวคุณธรรม ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม
  9. ต้องสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับตัวเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกข้าวเพื่อกิน เพื่อแจกจ่าย ถ้ามีเหลือจึงแบ่งขาย

สำนักงานและศูนย์เรียนรู้ข้าวคุณธรรม
Office and Learning Center

80 หมู่ 8 ตำบลกระจาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 35150
โทร 045 795505
e-Mail : suantham@hotmail.com
Web : http://www.moralrice.net

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น