เคี่ยม ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

15 เมษายน 2560 ไม้ยืนต้น 1

เคี่ยม เป็นไม้ยืนต้นพบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ไม่มีพูพอน เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมดำ ผิวแตกเป็นร่องลึก หลุดออกได้ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ ดอกสีเหลืองอ่อน บานเต็มที่ กลีบดอกบิดห่อเข้าหากัน ผลเดี่ยว มีปีกสีเขียวทรงลูกข่าง ผลแก่สีน้ำตาล ปลิวตามลมได้ เนื้อไม้แข็งแรงทนทาน ใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกไม้ใส่ในภาชนะรองรับน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelolbium melanoxylon Pierse
วงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่ออื่น เคี่ยม (ทั่วไป) เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)

ลักษณะ
ไม้ต้น สูง 20-40 เมตร ลำต้นตรง เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีช่องอากาศทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบรูปเจดีย์ ต่ำๆ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายสอบเรียว โคนนม หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอก สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ ผลกลมเล็ก มีขนนุ่ม มีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป


เคี่ยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีมากในป่าดิบ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมี 2 ชนิด คือ เคี่ยมดำและเคี่ยมขาว ซึ่งเคี่ยมดำเปลือกหนาและเข้มกว่าเคี่ยมขาว ต้นเปล่ากลม เรือนยอดเป็นพุ่มคล้ายพุ่มสน มีกิ่งใบทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีรอยแต้มสีเทา และเหลือง แตกเป็นร่องตามยาว มีต่อมระบายอากาศ
ใบเดี่ยวสลับกัน โคนใบมน ปลายสอบเรียว หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบมีขนเป็นกระจุก ๆ สีน้ำตาล
ดอกเล็กสีขาว ออกตามง่ามใบ ปลายกิ่งเป็นช่อยาว กลิ่นหอม ผลกลมเล็กสีน้ำตาล มีขน เหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาล มีปีก 5 ปีก ยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก รองรับผล

ขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เด็ดปีกก่อนนำไปเพาะ เมล็ดจะงอกภายในระยะเวลาประมาณ 8 วัน ช่วงระยะเวลา 8 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 35 ซม. สามารถย้ายปลูกได้

สภาพที่เหมาะสม
ดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง

ถิ่นกำเนิด
ป่าดงดิบภาคใต้ของประเทศไทย

ประโยชน์

  • เนื้อไม้ ทีความละเอียด แข็ง เหนียวหนักและทนทาน จึงใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพาน รองหนุนเสาเรือน เพื่อลากเรือนทั้งหลังในการย้ายบ้าน หรือทำเลื่อนในการชักพระ นอกจากนี้ใช้ไม้เคี่ยมทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ ทำสะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ
  • เปลือกไม้ เคี่ยม นำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ขนาดประมาณ 1 X 2 นิ้ว ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กระบอกตาลรองรับน้ำหวานจากต้นตาล เพื่อใช้รสฝาด รักษาน้ำตาลไม่ให้บูดก่อนนำมาเคี่ยว หรือ ใช้ใส่น้ำตาลเมา นอกจากนี้เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน สำหรับห้ามเลือดบาดแผลสด
  • ชันจากไม้เคี่ยม เป็นยาสมานแผล และแก้ท้องร่วง
  • ยอด ราก ดอก ลำต้น ใช้ตำพอกแผล แก้ฟก บวม เน่าเปื่อย หรือใช้ผสมกับ เปลือกหว้า ต้มบ้วนปาก แก้ปากเปื่อย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

1 ความคิดเห็น

  1. เฉลิมพล
    บันทึก กรกฏาคม 20, 2018 ใน 22:12

    รูปที่ลงมันเป็นต้นคนละชนิดกันครับ ข้างบนคือเคี่ยมไม้ประจำจังหวัดสุราษ แต่รูปข้างล่างคือเคี่ยมคะนองเป้นไม้คนละชนิดกัน

แสดงความคิดเห็น