เงาะ ผลไม้ตามฤดูกาลยอดนิยม

21 มีนาคม 2558 ไม้ผล 0

เงาะเป็นผลไม้ยืนต้นที่นิยมปลูกและนิยมบริโภคกันอยู่อย่างแพร่หลายในขณะนี้ นับวันจะแพร่หลายยิ่งขึ้นทุกที เพราะปลูกได้ง่าย มีโรคร้ายแรงน้อย เมื่อเทียบกับไม้ผลอื่นๆ เงาะต้องการความชุ่มชื้นมากพอสมควร

เงาะ (อังกฤษ: Rambutan; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephelium lappaccum Linn.) เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่น กำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยทั่วไปเงาะ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เงาะในประเทศไทย จึงนิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ อาทิ พันธุ์สีทอง พันธุ์น้ำตาลกรวด พันธุ์สีชมพู พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์เจ๊ะมง เป็นต้น แต่ พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกเป็นการค้า มีแค่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง และพันธุ์สีชมพู ส่วนพันธุ์อื่นๆ จะมีปลูก กันบ้างประปรายและโดยมากมักใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือใช้ประโยชน์ เพื่อการศึกษาทางวิชาการ ในอดีตประ เทศที่ผลิตและส่งออกรายใหญ่ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ngo

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium lappaceum L.
วงศ์ : Sapindaceae
ชื่อสามัญ : Rambutan
ชื่ออื่น : เงาะป่า(นครศรีธรรมราช) พรวน(ปัตตานี) กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต (มาเลย์ปัตตานี)

ลักษณะ
เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 30 C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 85 % ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ อกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น

ngopol ngopoom

  • เป็นไม้ผลยืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภูมิภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำดี ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
  • ช่วงมีดอกและผลต้องการน้ำพอดีหรือพอชื้น แต่ช่วงพักต้นต้องการน้ำมาก
  • พื้นที่มีน้ำหรือฝนมากสีผลจะออกเขียว ส่วนพื้นที่มีน้ำน้อยสามารถควบคุมปริมาณน้ำได้และอากาศเย็นสีผลจะออกแดงหรือเหลืองอมแดงชัดเจนกว่า
  • เงาะออกดอกติดผลที่ซอกใบปลายกิ่งจากกิ่งอายุข้ามปี กิ่งแขนงในทรงพุ่มอายุข้ามปีได้รับแสงแดด (ทรงพุ่มโปร่ง) ก็ออกดอกติดผลได้เช่นกัน

พันธุ์ของเงาะ
ในปัจจุบันเงาะที่ปลูกกันทั่วไป มี 2 จำพวก คือ เงาะติดกับเงาะล่อน เงาะติด หมายถึงเงาะที่มีเนื้อติดกับเมล็ดไม่สามารถแยกจากกันได้ เงาะจำพวกนี้ส่วนมากมีรสเปรี้ยว เนื้อแฉะ แต่มักจะมีลำต้นใหญ่โต แข็งแรง ปลูกง่าย แต่ไม่อยู่ในความนิยมทั้งในด้านการซื้อขาย และคิดจะปลูกเพิ่ม เติมขึ้นอีก ส่วนเงาะอีกจำพวกหนึ่ง คือเงาะล่อน ซึ่งเนื้อเงาะภายในล่อน สามารถแยกออกจากเมล็ดได้ง่าย เงาะชนิดนี้ส่วนมากมีรสหวานดีและก็มีบางชนิดที่มีรสเปรี้ยว เนื้อแฉะจนไม่น่าจะรับประทาน บางชนิดก็มีรสหวานกรอบ เป็นที่นิยมทั้งในด้านการบริโภคซื้อขายและการปลูก

ลักษณะและคุณสมบัติของเงาะบางชนิด

  • เงาะอากร ใบใหญ่ ปลูกง่าย ผลใหญ่ งามมาก สีแดงสด ขนงาม เนื้อหวานไม่แหลม เนื้อแฉะล่อนสนิท ผลไม่ค่อยดก ไม่อยู่ในความนิยมที่จะปลูกกัน
  • เงาะบางยี่ขัน ใบขนาดกลาง ปลูกง่าย ผลขนาดกลาง สีแดงเหลืองไม่สวย ขนไม่งาม เนื้อหวานแหลม กรอบ ไม่แฉะ ล่อนสนิท ผลดก ไม่ค่อยนิยมปลูกกัน
  • เงาะสีชมพู ใบขนาดกลาง ปลูกง่าย ผลขนาดกลาง สีชมพูสดขนงามมาก ผิวเป็นมันเลื่อม เนื้อหวาน กรอบแห้ง ไม่แฉะ ล่อนสนิท ผลดกนิยมปลูกกันมากในขณะนี้ ทางจังหวัดชายทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย
  • เงาะปีนังเบอร์ 4 ใบมีขนาดโต ปลูกง่าย ผลงามมาก เนื้อไม่หวานไม่กรอบ ไม่แฉะ ผลไม่ดก ไม่ค่อยนิยมปลูกกัน
  • เงาะโรงเรียน ปลูกง่าย ผลดก เมื่อสุกปลายขนจะมีสีเขียว ไม่สวยเหมือนพันธุ์สีชมพู เปลือกบาง เนื้อหนา ล่อนสนิท กรอบ รสหวานแหลม เก็บไว้ได้ทน นิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
  • เงาะตาวี ใบเล็ก ปลูกง่าย ผลงาม สีแดงดำ ขนไม่งาม ขนอ่อน เนื้อหวานอมเปรี้ยว เหนียวๆ ไม่แฉะ ผลดก ไม่นิยมปลูกกัน
  • เงาะเจ๊ะมง ใบใหญ่ ปลูกยาก ผลงามมาก สีแดงสด ผลงาม เนื้อหวานกรอบไม่แฉะ ผลไม่ดก เป็นที่นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทย

พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์ ได้แก่

  1. พันธุ์โรงเรียน เป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู ผิวสีแดงเข้มโคนขนมีสีแดง ปลายขนมีสีเขียว เนื้อหนา แห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี เมื่อขาดน้ำในช่วงผลอ่อน ผลจะแตกหรือหล่นได้มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู
  2. พันธุ์สีชมพู เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง

การขยายพันธุ์เงาะ
เงาะจัดเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น เช่นจังหวัดในทางภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด และในเขตจังหวัดภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี พันธุ์เงาะที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์สีชมพู และโรงเรียน เนื่องจากเงาะเป็นพืชที่ต้องการผสมข้าม ด้วยเหตุผลนี้ต้นเงาะที่ได้จากการเพาะเมล็ดจึงมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นวิธีการเพาะเมล็ดจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตอสำหรับการติดตา ต่อกิ่ง และทาบกิ่ง
การเพาะเมล็ด
เมื่อแกะเมล็ดออกจากเนื้อควรนำไปเพาะทันที เมล็ดจะงอกสูงถึง 87-95 เปอร์เซ็นต์ หากเก็บไว้นาน การงอกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเก็บนานเกิน 1 สัปดาห์ การงอกเหลือเพียง 50-60 เปอร์เซ็นต์ การเพาะเมล็ดอาจเพาะในภาชนะหรือในแปลงวัสดุที่ใช้เพาะคือผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1:1 ในกรณีเพาะลงถุงใช้ถุงละ 1-2 เมล็ด ส่วนการเพาะในแปลงควรวางเมล็ดให้มีระยะห่าง(ในกรณีที่ทำการติดตาในแปลง) พอที่จะปฏิบัติงานได้สะดวกหลังเพาะเมล็ดได้ 9-19 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก
เมล็ดเงาะบางพันธุ์ทำการแยกเนื้อออกได้ยากหรือเมื่อทำมากๆต้องสิ้นเปลืองเวลาเพื่อการแยกเอาเนื้อออก สำหรับเทคนิคในการที่จะทำให้เนื้อแยกออกจากเมล็ดได้ง่าย สามารถทำได้คือ แช่เมล็ดที่มีเนื้อติดในกรดเกลือเข้มข้นเป็นเวลานาน 10 นาที จากนั้นนำเมล็ดมาแช่ในน้ำไหลวิธีนี้สามารถทำให้แกะเอาเนื้อออกจากเมล็ดได้รวดเร็วและง่ายกว่าเมล็ดที่ไม่ได้แช่น้ำกรด
การตอนกิ่ง
วิธีตอนกิ่งในเชิงการค้านั้น ไม่นิยมทำเนื่องจากกิ่งตอนไม่มีระบบรากแก้ว นอกจากนั้นยังสิ้นเปลืองกิ่งเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานถึงการตอนกิ่งซึ่งทำในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และศรีลังกา วิธีทำโดยเลือกกิ่งที่มีอายุประมาณ 12-18 เดือน จะเป็นกิ่งที่เกิดรากได้ดี รากจะเกิดประมาณ 6-12 สัปดาห์ ภายหลังการตอนกิ่ง
การเสียบกิ่ง
แม้จะเป็นการขยายพันธุ์ที่ไม่ค่อยนิยมมากแต่ก็สามารถทำได้ โดยวิธีการเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือก ต้นตอที่ใช้ควรมีอายุประมาณ 4-12 เดือน และสามารถลอกเปลือกได้ดี การเตรียมรอยแผลของต้นตอ ทำโดยกรีดต้นตอเป็น 2 รอย ขนานกับลำต้นยาวประมาณ 1 นิ้วลอกเปลือกออก และตัดเปลือกออกบางส่วน การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี เลือกกิ่งพันธุ์ดีที่มีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ริบใบออกให้หมด ทำการเฉือนตรงโคนกิ่งเป็นรูปคล้ายปากฉลามยาวประมาณ 1 นิ้ว และเฉือนด้านตรงข้ามยาวประมาณ 0.5 นิ้ว สอดรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดีลงในรอยแผลของต้นตอพันด้วยพลาสติก จากนั้นนำถุงพลาสติกคลุมที่ยอด ในกรณีที่ทำมากๆ ควรนำใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เก็บไว้ในร่มประมาณ 30 วัน รอยแผลจะประสานกันสนิททำการเปิดถุงพลาสติก
การทาบกิ่ง
การเตรียมต้นตอโดยเฉพาะเมล็ดลงในถุงพลาสติก หรือเมื่อต้นตออายุได้ประมาณ 1 ปีอาจย้ายปลูกแบบเปลือยรากในถุงที่มีเครื่องปลูกเบาๆ เนื่องจากวิธีการทาบกิ่งเงาะจะทำการทาบกิ่งคล้ายมะขาม คือนำถุงต้นกล้าขึ้นไปทาบบนต้นและต้องใช้ไม้ค้ำยันผูกยึดกิ่งทาบ วิธีการนี้ต้องคอยหมั่นรดน้ำต้นตออยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย

เงาะทุกชนิดสามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการติดตาหรือการทาบกิ่ง แต่การขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ก็เป็นวิธีขยายพันธุ์ที่นิยมแพร่หลายกันมาก ตั้งแต่สมัยโบราณ สำหรับเงาะปีนังนั้นร่วนมากทำการตอนไม่ใคร่ออกราก หรือบางชนิดออกรากบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย การปลูกก็มักไม่ค่อยได้ผลดี

ngokla
แต่อย่างไรก็ดี การขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ก็ยังเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเงาะอีกหลายชนิด ซึ่งกำลังนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้

ทำเลที่เหมาะในการทำสวนเงาะ
เงาะโดยทั่วๆ ไปขึ้นได้งอกงามดีในที่ดินร่วนปนทราย และในที่ดินเหนียวที่จัดการระบายน้ำดี และควรเป็นที่ที่มีฝนตกระหว่างปีมาก เพราะเงาะต้องการที่ที่มีความชื้นในอากาศมากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องการออกดอกได้มากยิ่งกว่านี้ ความชุ่มชื้นในอากาศยังจะช่วยให้ต้นเงาะปลอดภัยจากโรคไหม้เกรียม ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเสมอๆ ในฤดูแล้ง

วิธีการปลูกเงาะ
หลังจากที่ขุดดิน หรือไถพรวนที่ดินสำหรับปลูกเงาะเรียบร้อยแล้วก็กะระยะการปลูกเงาะได้ทันที ควรขุดหลุมเป็นวงกลมกว้างประมาณ 80 ซ.ม. ลึก 60 ซ.ม. ปล่อยให้หลุมตากแดดไว้ประมาณ 6-7 วัน แล้วใช้หญ้าแห้งรองก้นหลุมบ้างเล็กน้อยหากจะมีปุ๋ยคอก เช่น มูลโค กระบือ ฯ หรือปุ๋ยดินฟอสเฟตใส่ให้บ้างรองก้นหลุมก็จะดียิ่งขึ้น จากนั้นก็ทำการปลูกเงาะลงในหลุมได้ ระยะของการปลูกเงาะ การปลูกเงาะก็เพื่อต้องการผล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกให้มีระยะปลูกห่างกันอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ปล่อยโอกาสให้ทรวดทรงของต้นเงาะแผ่กิ่งก้านสาขาได้อย่างเต็มที่ระยะที่ปลูกเงาะที่เหมาะสมควรจะเป็น 16 เมตร ทั้งระหว่างต้นและระหว่างแถวหรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเป็น 12 เมตร เป็นอย่างต่ำที่สุด ดังนี้ในเนื้อที่ 1 ไร่ ก็จะปลูกเงาะได้ราว 9-16 ต้นเป็นอย่างมาก

ngolek

การปฏิบัติบำรุงรักษา
เงาะเมื่อปลูกในระยะแรกๆ ควรมีการรดน้ำเมื่อฝนไม่ตกและบังร่มให้หลังจากปลูกใหม่ๆ และตลอดฤดูแล้งแรกหลังจากวันปลูกจะต้องคอยระวังรักษามิให้หญ้าชอนขึ้นมาได้ และเมื่อเงาะมีอายุครบ 1 ปี ก็เริ่มใส่ปุ๋ยให้ได้ เริ่มจากต้นเงาะขนาดเล็ก โดยใส่ปุ๋ยให้จำนวนน้อยๆ ก่อน ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมีต่างๆ ซึ่งมีสัดส่วนอย่างสมบูรณ์ เมื่อต้นเงาะอายุครบ 1 ปี สำหรับปุ๋ยเคมีควรจะใส่ต้นละ 50 กรัม และควรใส่ให้ปีละ 2 ครั่ง เมื่ออายุของต้นเงาะมีอายุมากขึ้น ขนาดของต้นเงาะก็โตขึ้นตามลำดับ จำนวนปุ๋ยเคมี ก็จะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยถืออัตรา 2,3,4,5 ก.ก. ติดกันต่อปี เมื่อต้นเงาะอายุได้ 2,3,4, และ 5 ปีตามลำดับ เมื่อเมื่อต้นโตและให้ผลเต็มที่แล้ว อาจต้องเพิ่มปุ๋ยให้ต้นละต่อหนึ่งปี 5-10 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งต่อปี

การบำรุงรักษาสวนเงาะ
การบำรุงรักษาสวนเงาะที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงามอยู่เสมอ ย่อมเป็นประกันได้ว่า ต้นเงาะจะงดงามและตกผลให้ได้อย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี วิธีบำรุงรักษาสวนเงาะมีหลักที่พึงปฏิบัติดังนี้คือ

ก. การกำจัดหญ้าในสวนเงาะ การกำจัดหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามโคนต้นเงาะและบริเวณทั่วๆ ไป ต้องคอยจัดทำอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะที่ขึ้นอยู่ตาม โคนต้นเงาะ จะต้องคอยกำจัดอยู่เป็นประจำจริงๆ เพื่อมิให้แย่งอาหารของต้นเงาะ ส่วนหญ้าที่ขึ้นนอกบริเวณโคนต้นเงาะก็ปล่อยให้ขึ้นได้บ้าง และควรใช้พืชคลุมปลูกเสียให้เต็มทั้งผืนดีกว่าที่จะปล่อยให้หญ้าขึ้นรก

ข. การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเป็นอาหารของต้นไม้ ช่วยเสริมสร้างพลานามัยให้แก่ต้นเงาะได้ และช่วยซ่อมแซมในส่วนที่สูญเสียไปให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีต่อไป
การใส่ปุ๋ยนั้นจะได้พิจารณาถึงสภาพของท้องที่ เช่น ประมาณว่าควรจะใส่ปุ๋ยชนิดใดจึงจะเป็นการประหยัด ในบางท้องที่อาจทำปุ๋ยคอกได้มากมาย แต่ชาวสวนบางรายก็ยังนิยมใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ ดังนี้เป็นการไม่ถูกต้อง สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจากการคมนาคมและหาปุ๋ยคอกไม่ได้ ดังนี้ก็ควรจะใส่ปุ๋ยเคมี เพราะจะเป็นการประหยัดค่าขนส่งได้ดีกว่าที่จะหาซื้อปุ๋ยอื่นๆ มาก
วิธีการใส่ปุ๋ยควรปฏิบัติดังนี้ ควรจะทำการใส่ปุ๋ยให้ปีละ 2 ครั้ง โดยถือกำหนดดังนี้

  1. เมื่อเก็บผลเงาะเสร็จ และทำการตัดแต่งกิ่งและลำต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว การใส่ปุ๋ยครั้งนี้เนื่องจากเป็นฤดูฝน การใส่ควรใส่เป็นหลุมๆ คือให้หาหลุมลึกประมาณ 60 ซม. เอาปุ๋ยหยอดลงในหลุมแล้วกลบดินให้มิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ปุ๋ยถูกน้ำพัดพาไปเมื่อฝนตกหนัก การใส่ปุ๋ยทั่วๆ ไป ตามบริเวณแนวพุ่มของต้นเงาะ
  2. เมื่อต้นเงาะออกดอกแล้ว การใส่ปุ๋ยครั้งนี้เป็นฤดูแล้ง การใส่ปุ๋ยจึงกระทำเพียงหว่านลงทั่วบริเวณพุ่มของต้นเงาะ ใช้คราดๆ กลบปุ๋ยบางๆ แล้วระบายน้ำเข้าช่วยให้ปุ๋ยละลายและซึมลงใต้ดิน

ค. การบังคับน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกเงาะ สวนเงาะที่มีน้ำขังแฉะในฤดูฝน หรือขาดน้ำในฤดูเเล้ง ล้วนเป็นสิ่งบั่นทอนความเจริญงอกงามแก่ต้นเงาะทั้งสิ้น สำหรับการบังคับน้ำควรจะปฏิบัติตามวิธีการดังนี้
ในฤดูแล้งควรทำดังนี้

  1. ก่อนต้นเงาะออกดอก ไม่มีการระบายน้ำเข้าช่วย
  2. เมื่อต้นเงาะจวนจะออกดอก ปล่อยน้ำเข้ารดทุกๆ 3-4 วันแล้วต้นเงาะออกดอกในระยะนี้ และต้องปล่อยนํ้าเข้ารดตลอดฤดูแล้ง จนกว่าจะมีฝนตกลงมา

ngoking

แผนการทำงานในสวนเงาะในรอบ 12 เดือน

เดือน มกราคมงานที่ต้องทำ

  1. ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ ระบาดมาก ในช่วงแล้งและระยะออกดอก หากระบาด ควรพ่นด้วย สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
  2. เฝ้าระวังโรคช่อดอกแห้ง ชำลายช่อดอก ระยะก่อนดอกบาน และระยะดอกบาน เมื่อ พบระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด โรคช่อดอกแห้ง
  3. ราแป้ง พบระบาดตั้งแต่ช่วงก่อนดอก บานจนถึงติดผลอ่อน หากพบระบาดควรพ่น ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคราแป้ง
    การให้น้ำ
    1. กระตุ้นการออกดอกโดยปล่อยให้ต้นเงาะ ขาดน้ำหลังฝนทิ้งช่วงแล้วประมาณ 25-30 วัน เมื่อสังเกตใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้น พร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้าจัดการให้น้ำต้นเงาะในปริมาณมากทันทีเพียง 1 ครั้ง แล้วหยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วัน เมื่อตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดำเป็นสี น้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตราเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด
    2. ควบคุมการให้น้ำเพื่อป้องกันการแตกใบ อ่อน ถ้ามีใบอ่อนแซมช่อดอกมากควรงดให้น้ำ สักระยะจนกว่าใบอ่อนที่แซมมาจะร่วงหมด จึงเริ่มให้น้ำใหม่ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป ต้องให้น้ำ 1 ใน 3 ของการให้น้ำตามปกติและ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ
    3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

เดือน กุมภาพันธ์ งานที่ต้องทำ

  1. ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควร ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทําให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
  2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้ รถตัดหรือสารเคมีควบคุม
  3. การให้ปุ๋ย
    3.1 ให้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เงาะ 5-10 กิโลกรัม/ต้น
    3.2 ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนให้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรเร่งผล อัตรา 4-6 กิโลกรัม/ต้น หว่าน ให้ทั่วบริเวณทรงพุ่มแล้วใช้คราดกลบ บางๆ หลังรดน้ำ
  4. เฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูเงาะ เช่น เพลี้ยแป้ง /หนอนเจาะขั้วเงาะ / แมลงวันผลไม้ /โรคราแป้ง

ngooon

เดือน มีนาคม งานที่ต้องทำ

  1. ช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลควร ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทําให้ผลเล็กลีบ และมีเปลือกหนา
  2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้ รถตัดหรือสารเคมีควบคุม
  3. การให้ปุ๋ย
    3.1 ให้ปุ๋ยอินทรีย์แก่เงาะ 5-10 กิโลกรัม/ต้น
    3.2 ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนให้อินทรีย์สูตรเร่งผล อัตรา 4-6 กิโลกรัม/ต้น หว่านให้ทั่ว บริเวณทรงพุ่มแล้วใช้คราดกลบบางๆ หลังรดน้ำ
  4. เฝ้าระวังป้องกันกำจัดศัตรูเงาะ เช่น เพลี้ยแป้ง /หนอนเจาะขั้วเงาะ / แมลงวันผลไม้ /โรคราแป้ง

ngokings

เดือน เมษายน งานที่ต้องทำ

  1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
  2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
  3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
  4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ

ngotonngobai

เดือน พฤษภาคม งานที่ต้องทำ

  1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
  2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
  3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
  4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ

 

ngopon

เดือน มิถุนายน งานที่ต้องทำ

  1. เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดย ใช้กรรไกรคมและสะอาดตัดช่อผล จากต้น
  2. รวบรวมช่อผลเงาะใส่ตะกร้า พลาสติก หรือเข่ง จากนั้นขนย้ายไป ยังโรงเรือนภายในสวน หรือในที่ร่ม ด้วยความ ระมัดระวัง ทันทีที่เก็บ เกี่ยวเสร็จ
  3. ตัดแต่งให้เหลือเป็นผลเดี่ยว โดย ตัดขั้วผลให้มีก้านติดอยู่ไม่เกิน 5 มิลลิเมตรในกรณี จำหน่ายเป็นผล เดี่ยว แล้วบรรจุลงตะกร้าพลาสติก
  4. ตัดก้านช่อผลให้ยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร เงาะแต่ละช่อควรมีผลติด อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 ผล นำมามัดรวมกัน น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในกรณีจำหน่าย เป็นเงาะช่อ

เดือน กรกฎาคม งานที่ต้องทำ

  1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
  2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
  3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์แก่เงาะ 3-8 กก./ต้น
  4. การเฝ้าระวัง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน สิงหาคม งานที่ต้องทำ

  1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
  2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
  3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์แก่เงาะ 5-10 กิโลกรัม/ต้น
  4. การเฝ้าระวัง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน กันยายน งานที่ต้องทำ

  1. ตัดแต่งกิ่งก่อนการใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งที่ระดิน กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดก้านผลที่เหลือค้างออก ให้หมด เพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดี
  2. กำจัดวัชพืชทุกครั้งก่อนใส่ปุ๋ย อาจใช้รถตัด หรือสารเคมีควบคุม
  3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์แก่เงาะ 3-8 กก./ต้น
  4. การเฝ้าระวัง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดหนอนคืบกินใบ
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดแมลงค่อมทอง
    – เฝ้าระวังป้องกันกำจัดโรคราแป้ง ราสีชมพู

เดือน ตุลาคม งานที่ต้องทำ

  1. เตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออก ดอกในฤดูถัดไป
  2. การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2 ชุด และรักษาใบอ่อนที่ แตกออกมาให้สมบูรณ์
  3. หมั่นเฝ้าระวังและป้องกันกำจัดโรคราแป้ง และหนอนคืบกินใบ

เดือน พฤศจิกายน งานที่ต้องทำ

  1. เตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออก ดอกในฤดูถัดไป
  2. การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อน อย่างน้อย 2 ชุด และรักษาใบอ่อนที่ แตกออกมาให้สมบูรณ์
  3. หมั่นเฝ้าระวังและป้องกันกันกำจัดโรค ราแป้ง และหนอนคืบกินใบ

เดือน ธันวาคม งานที่ต้องทำ

  1. ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ ระบาดมาก ในช่วงแล้งและระยะออกดอก หากระบาด ควรพ่นด้วย สารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
  2. เฝ้าระวังโรคช่อดอกแห้ง ชำลายช่อดอก ระยะก่อนดอกบาน และระยะดอกบาน เพื่อ พบระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด โรคช่อดอกแห้ง
  3. ราแป้ง พบระบาดตั้งแต่ช่วงก่อนดอก บานจนถึงติดผลอ่อน หากพบระบาดควรพ่น ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคราแป้ง
    การให้น้ำ
    1. กระตุ้นการออกดอกโดยปล่อยให้ต้นเงาะ ขาดน้ำหลังฝนทิ้งช่วงแล้วประมาณ 25-30 วัน เมื่อสังเกตใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้น พร้อมกับมีอาการใบห่อในเวลาเช้าจัดการให้ น้ำต้นเงาะในปริมาณมากทันทีเพียง 1 ครั้ง แล้วหยุดเพื่อรอดู อาการภายใน 7-10 วัน เมื่อตายอดเปลี่ยนจากสีน้ำตาลดําเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่ม ให้น้ำอีกครั้งหนึ่งในอัตรา เท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาการของตายอด
    2. ควบคุมการให้น้ำเพื่อป้องกันการแตกใบ อ่อน ถ้ามีใบอ่อนแซมช่อดอกมากควรงดให้น้ำ สักระยะจนกว่าใบอ่อนที่แซมมาจะร่วงหมด จึงเริ่มให้น้ำใหม่ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป ต้องให้น้ำ1 ใน 3 ของการให้น้ำตามปกติและ เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ
    3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

การเก็บผลเงาะ
การเก็บเงาะต้องเก็บเมื่อผลเงาะสุกเต็มที่ อย่าเก็บผลเงาะที่ยังห่ามอยู่ ตามธรรมดาผลเงาะช่อหนึ่งๆ ย่อมมีผลสุกและผลห่าม และผลดิบปนกันอยู่ จำเป็นจะต้องเลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกเต็มที่เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นสวนเงาะที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี เช่น สวนเงาะที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ย สวนเงาะที่ไม่มีการระบายน้ำ หรือสวนเงาะที่ไม่ได้รับการตกแต่งกิ่งและลำต้น สวนเงาะเช่นนี้บางที่ก็ออกผลเป็น 2-3 รุ่นในต้นเดียวกัน ดังนี้การเก็บผลก็ยิ่งต้องลำบากขึ้นอีกมิใช่น้อย
การเก็บผลเงาะ ใช้ไม้ไผ่ปลายติดขอเหล็กมีคม กระชากให้ขั้วของผลเงาะขาดตกลงมายังพื้นดิน การกระทำเช่นนี้ ไม่ทำให้ผลเงาะช้ำ เพราะผลเงาะมีขนสามารถยืดหยุ่นตัวเองได้ดี ไม่เหมือนกับผลไม้ชนิดอื่นๆ เมื่อเก็บผลเงาะมาแล้ว ก็ต้องตัดและแต่งขั้วของผลเงาะให้มีขนาดสั้นลงอีกตามสมควร แล้วทำการคัดเลือกและใส่ภาชนะส่งไปจำหน่าย

ngos

การแปรรูป
เงาะสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้ ผู้บริโภค และที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าของเงาะให้มีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้วไม่สามารถเก็บได้นาน เพราะเนื้อผลจะเละและมีน้ำหวานไหลเยิ้ม โดยเฉพาะในปี ใดที่ผลผลิตเงาะออกสู่ท้องตลาดมาก ราคามักตกต่ำ การนำมาแปรรูปเป็นการแก้ปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำได้เช่น การทำเป็นเงาะแช่อิ่มอบแห้ง การทำเงาะกระป๋อง เงาะกวน

การตัดแต่งกิ่งและต้นเงาะ
หลังจากเก็บผลประจำปีเสร็จสิ้นลงแล้ว ให้ทำการตัดแต่งกิ่งและลำต้น โดยตัดกิ่งที่ชอกช้ำเพราะการเก็บผล กิ่งที่สลับซับซ้อนกันหลายๆ กิ่งคัดออกเสียบ้าง นอกจากนี้ยังมีการแซมเล็กๆ ที่หลบซ่อนอยู่ตามกิ่งใหญ่ภายในพุ่มก็ให้ตัดออกเสียเช่นเดียวกัน เพราะกิ่งไม้ชนิดนี้ไม่มีทางตกผลให้เลย นอกจากจะทำให้พุ่มของต้นเงาะรกรุงรัง เป็นที่หลบซ่อนของ

แมลงต่างๆ ได้เท่านั้น นอกจากนี้กิ่งและลำต้นที่ถูกแมลงเจาะ ไชเป็นแผล โรคราต่างๆ และแผลธรรมดาทั่วๆ ไปก็ควรได้รับการตกแต่งไปพร้อมๆ กันด้วย รอยตัดและรอยแต่งแผลทุกๆ แห่งให้ตกแต่งให้เป็นรอยเรียบ แล้วใช้สีน้ำมันทาเสียทุกๆ แผล เป็นการรักษาอนามัยของต้นเงาะไปด้วย ถ้าหาก เกิดมีกิ่งหรือลำต้นได้รับความชอกช้ำเพราะเหตุใดๆ ก็ดี ก็ควรที่จะได้รับการตัดแต่งเช่นนี้ทันที

การกำจัดโรคแมลง
ตามปกติต้นเงาะไม่ค่อยมีแมลง และโรคต่างๆ มารบกวน เหมือนกับผลไม้อื่นๆ นอกจากปีใดเกิดฝนฟ้าวิปริต เช่น ฝนแล้งจัด ฝนมากเกินไป มักจะเกิดโรคและแมลงต่างๆ เกิดขึ้น สำหรับแมลงนั้นก็มักมีแมลงกินดอกเงาะ หนอนไชต้น แมลงปีกแข็งกินใบในเวลากลางคืน สำหรับโรคนั้นก็มีราขาวตามกิ่ง และมีโรคขอบใบไหม้เกรียมในฤดูแล้ง
โรคและแมลงที่เกิดขึ้นนี้ หากปรากฎขึ้นก็ควรได้จัดการกำจัดทันที ไม่ควรปล่อยให้โรคและแมลงทำลายเสียจนเกิดความเสียหาย แล้วจึงหาทางกำจัดในภายหลัง รายละเอียคในการป้องกันควรปรึกษาเกษตรอำเภอ หรือเกษตรจังหวัด

ที่มา :
กรมวิชาการเกษตร
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น