เชียงดา ราชินีแห่งผักภาคเหนือ

27 พฤษภาคม 2558 พืชผัก 0

ผักเชียงดาหรือผักจินดา เป็นผักไม้เลื้อยที่ทนฝนและทนแล้ง มีโรคพืชน้อย บำรุงรักษาง่าย แตกยอดเร็วและสามารถจัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มซึ่งใบผักจะมีรสชาติดีกว่าแบบที่เลื้อย ผักเชียงดา ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งผักภาคเหนือมักนำมาปรุงอาหารร่วมกับผักอื่น ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะแกงแค อาหารขึ้นชื่อของทางภาคเหนือจะเห็นได้ว่าจะมีผักเชียงดาเป็นส่วนผสมหลักในแกงแค แกงเเคจะเป็นการนำเอาผักที่มีประโยชน์หลาย ๆอย่างมารวมกันอยู่ในหม้อเดียวกัน ซึ่งรสชาติของแกงแคถ้าใครได้กินแล้วจะติดใจกันทุกคนเลยทีเดียว

ผักเชียงดานับเป็นผักที่ปลูกง่าย และเป็นผักที่หาได้ตามธรรมชาติ ลักษณะการดำรงอยู่จะเหมือนกับตำลึงที่ธรรมชาติค่อยดูแลเราไม่ต้องดูแลอะไรมากมายและขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน

ชื่อท้องถิ่น: ผักเซี่ยงดา ,ผักเซ่งดา,ผักฮ้วน,ผักม้วนไก่,ผักเซ็ง,ผักจินดา
ชื่อวงศ์: ASCLEPIADACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gumnema inodorum (Lour.) Decne.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้เถาเลื้อย ความยาวของเถาเลื้อยไปได้ไกลขึ้นกับอายุของไม้นั้น
ลำต้นสีเขียว ทุกส่วนของต้นที่อยู่เหนือดินมียางสีขาว ขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง๐.๕-๕ ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน หน้าใบเขียว เข้มมากกว่าหลังใบ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีรูปร่าง กลมรี ปลายเรียว แหลม ฐานใบมน ใบกว้าง ๙-๑๑ ซม. ยาว ๑๔.๕-๑๘.๕ ซม. ผิวใบเรียบ ไม่มีขน ก้านใบยาว ๓.๕-๖ ซม.

chiangdaton

ประโยชน์ของผักเชียงดาต่อสุขภาพ
ด้านอาหาร ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา น ามารับประทานเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ในผัก ๑๐๐ กรัม มีวิตามินซี ๑๕๓ มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน ๕,๙๐๕ ไมโครกรัม และวิตามินเอ ๙๘๔ ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุและสารโภชนาการอื่นๆ เช่นแคลเซียม (78 มิลลิกรัม) ฟอสฟอรัส (๙๘ มิลลิกรัม) เส้นใยอาหาร (crude fiber ๒.๕ กรัม) โปรตีน (๕.๔ กรัม) ไขมัน (๑.๕ กรัม) และคาร์โบไฮเดรต (๘.๖ กรัม)

chiangdayod

ด้านสมุนไพร ในตำรายาไทยไม่มีการบันทึกสรรพคุณทางยาของผักเชียงดา ทางภาคเหนือใช้ใบผักเชียงดามาพอกกระหม่อมรักษาไข้และอาการหวัด หรือนำไปประกอบในตำรับยาแก้ไข้ประกอบในตำรับยาแก้ไข้

สรรพคุณ

  • ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทางานของตับอ่อนให้เป็นปรกติ
  • ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างและฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง
  • ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทางานของไตให้สมบูรณ์
  • ช่วยปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือเบาหวาน
  • ช่วยปรับและควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปรกติ
  • ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมัน (Cholesterol) ในร่างกายให้สมดุล
  • ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหืดหอบ
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ จากโรคเก๊าต์

ผักเชียงดาใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า ๒๐๐๐ปีแล้ว มีสารสำคัญคือ Gymnemic acid ซึ่งสกัดมาจากรากและใบของผักเชียงดาซึ่งมีรูปร่างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงไปจับเซลรีเซพเตอร์ในลำไส้ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล The U.S. National Library of Medicine (NLM) and the National Institutes of Health (NIH) พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า ผักเชียงดาสามารถที่จะช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดพึ่งอินซูลิน (type ๑) และไม่พึ่งอินซูลิน (type ๒) ได้เมื่อให้ร่วมกันอินซูลินและยารักษาเบาหวานอื่นๆและยังมีรายงานว่ามีบางรายใช้ผักเชียงดาตัวเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องพึงยาแผนปัจจุบัน

chiangdabai

แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบของผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ซึ่งในหนึ่งแคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัมการศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒กรัมของผงแห้งต่อวัน โดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้ง

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี ๑๙๒๖และในปี ๑๙๘๑มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนอาสาสมัครที่แข็งแรงซึ่งพบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูเบต้าเซลของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน)ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิด type ๑ และ type ๒ตั้งแต่ในปี ๑๙๙๐ เป็นต้นมา มีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพกลไกออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด และมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมายยกตัวอย่างเช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัยมาดราส ในประเทศอินเดียศึกษาผลของผักเชียงดาในหนู โดยให้สารพิษที่ทำลายเบต้าเซลในตับอ่อนของหนูพบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัดมีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลเพิ่มขึ้น
ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน ในบางรายถึงกับสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดนอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของ hemoglobin A1C ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง ๒-๔เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดีซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวานนอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณของ hemoglobin A1C ยังเพิ่มขึ้นอีกด้วยนอกจากนี้ยังมีการศึกษาการพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย

chiangdasuan

ในปี ๑๙๙๗ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาไปยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
ในปี ๒๐๐๑ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (Pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-Activity Relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสารสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GIA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมาวิธีการนี้ช่วยให้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำ และในปริมาณสูงช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก
ในปี ๒๐๐๓ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลิน แล้วยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วยทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอีในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วยและยังพบว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานชื่อ glibenclamide
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
สำหรับท่านที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าทั้งสองโรคนี้ไม่หายขาดแต่ท่านสามารถมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลหรือระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติสม่ำเสมออาจจะใช้ยาแผนปัจจุบันหรือใช้สมุนไพรหรือใช้ทั้งยาแผนปัจจุบันและสมุนไพรก็ได้…

การปลูกและขยายพันธุ์
ใช้การปักชากิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น
ผักเชียงดา จะเป็นผักที่นิยมการปลูกด้วยการปักชำโดยการตัดเถาที่แก่พอสมควรมาปักชำ โดยเถาแก่ที่ทำการตัดมานั้นควรมีความยาวประมาณ 1 ศอก นำไปปักชำในถุงที่เตรียมไว้ก่อน พอเริ่มมีรากแตกออกมาและแทงยอดอ่อนก็ค่อยนำไปปลูกที่ในกระถางหรือสถานที่ที่จะปลูกก็ได้

chiangdakla

การดูแลผักเชียงดา
การดูแลผักเชียงดาควรที่จะรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเช้าเย็น และควรที่จะใส่ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับการรดน้ำ โดยสูตรที่ใช้ในการรดนั้นต้องเป็นสูตรบำรุงดินทุก ๆ 10 วันในช่วงแรกที่ทำการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปลูก

พอผักโตขึ้นมาหน่อยก็ค่อย ๆใส่ทุก 20 ถึง 30 วันตัดกิ่งพุ่มอย่าให้ทึบมากไป และเด็ดใบแก่ทิ้ง เพื่อให้เกิดพุ่มและแตกยอด โดยหมั่นฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงใบ

การเก็บผักเชียงดา
ผักเชียงดาที่มีอายุประมาณ 8 เดือน ก้สมารถที่จะเก็บยอดกินได้แล้วละครับ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น