เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายในลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์วิทยาในนาข้าวต่อไป
การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย
ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียเข้าทำลาย
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
การเพาะเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรีย ว่า จะต้องเตรียมอุปกรณ์ คือ เมล็ดข้าวโพดแห้ง ถุงพลาสติกเพาะเห็ด คอขวด เชื้อราบิวเวอร์เรียบริสุทธ์ แอลกอร์ฮอร์ ลวดเขี่ยเชื้อ ถังนึ่ง(แปลงมาจากถังน้ำมัน 200 ลิตร) และสำลี(หรือใช้จากไส้ในที่นอนซักให้สะอาดตากให้แห้งแล้วนึ่งฆ่าเชื้อขณะนึ่งห่อด้วยกระดาษกันความชื้น)
วิธีทำ
นำข้าวโพดแช่น้ำ 12 ชม.
นำไปผึ่งลมหรือตากแดดอ่อนๆ ทิ้งไว้ให้หมาดๆ กรอกลงถุงพลาสติกถุงละ 400 กรัม
ใส่คอขวดก่อนปิดด้วยสำลีที่เตรีมไว้เพื่อปิดกันแมลงและเชื้อโรคอื่นเข้าไป หุ้มด้วยกระดาษใช้ยางรัดไว้เพื่อกันความชื้นหรือหยดน้ำลงไป
นำลงนึ่งในถังให้ห่างจากขอบถังประมาณ 2 ซม.เพื่อกันถุงเสียหายจากความร้อน วางทับหันประมาณ 2 ชั้น เพื่อให้ความร้อนเข้าถึงอย่างสม่ำเสมอ
ใส่น้ำลงไปประมาณ 15 ซม. ปิดฝาให้มีช่องระบายไอน้ำเล็กน้อย นึ่งโดยใช้ไฟแรงให้เดือนแล้ว จับเวลาตั้งทิ้งไว้จำนวน 2 ชม. นำออกมาไว้ในที่ร่มให้อุ่น (ทดสอบโดยวางบนหน้าแขนพอทนได้สักพัก)
จึงเขี่ยเชื้อจากขวดที่ได้รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัด
การเขี่ยเชื้อ เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังความสะอาดเป็นพิเศษ จึงต้องดำเนินการในที่ปิดมิดชิดลมไม่โกรก ผู้ปฏิบัติปิดปาก ปิดจมูกและสวมถุงมือ
ก่อนเขี่ยต้องเตรียมจุดไฟด้วยการเทแอลกอร์ฮอร์ลงบนสำลีที่วางไว้บนถ้วยแก้วหรือกระเบื้อง ติดไฟไว้สำหรับฆ่าเชื้อลวดเขี่ยเชื้อ นำขวดเชื้อลงนอนตะแคง เขี่ยให้ได้ประมาณเท่าหัวไม้ขีด นำออกจากขวดพร้อมกับปิดจุกสำลีที่ขวดหัวเชื้อทันที หย่อนหัวเชื้อที่ได้ลงถุงข้าวโพด ปิดสำลีทันที
การบ่มเชื้อ นำไปเก็บไว้ในที่เย็นไม่โดนแดด แต่จะต้องให้ได้รับแสงสว่างอย่างน้อยวันละ 6 ชม.และอย่าให้ถูกความร้อน (สำหรับตนเองเอาไว้ในห้องน้ำ) ทิ้งไว้ 15 วันสังเกตเส้นใยสีขาวเดินรอบถุงจึงนำออกเก็บไว้ในที่เย็นไม่ให้โดนความร้อน ถ้าเป็นโรงเก็บรถหรือเก็บของจะต้องใช้วัสดุป้องกันไอร้อนกระทบกับก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียเสียหายได้
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น
วิธีใช้
ป้ายคำ : จุลินทรีย์