เชื้อแบคทีเรียบีที สารชีวินทรีย์ขนาดเล็กกับประสิทธิภาพที่ยิ่งใหญ่

29 สิงหาคม 2558 จุลินทรีย์ 0

บีที เป็นสารชีวินทรีย์กำจัดแมลงศัตรูพืช ที่มีประสิทธิภาพกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าการออกฤทธิ์ของบีทีจะต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าแมลงศัตรูพืชจะตาย แต่เป็นการทำลายแมลงศัตรูพืชที่เป็นวิธีการที่ปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมีโดย ทั่วๆ ไป

เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งในธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการทำลายแมลง โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ ที่เป็นศัตรูของพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เมื่อหนอนกินเชื้อ บี ที เข้าไปสารพิษที่ บี ที สร้างขึ้นจะไปมีผลทำให้ระบบย่อยอาหาร ของแมลงล้มเหลว กระเพาะบวมเต่งและแตก ส่งผลให้แมลงหยุดกินอาหารเคลื่อนไหวช้า ชักกระตุก เป็นอัมพาต และตายภายใน 1-2 วัน เชื้อ บี ที จึงสามารถใช้ในการควบคุม หนอนผีเสื้อ ศัตรูพืชหลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมีได้ดี ในขณะเดียวกันเชื้อ บี ที ยังเป็น เชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม

บีที (Bt) คืออะไร
เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือเรียกว่าเชื้อ บีที (Bt) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงสูในการทำลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้นเชื้อบีที จึงเป็นจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์เลือดอุ่น ปลา และนก รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำและแมลงเบียนเป็นต้น จากข้อดีของความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมาย ปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทั่วโลกจึงได้มีการวิจัยและพัฒนาเชื้อบีทีอย่างกว้างขวาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้เป็นสารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช และศัตรูมนุษย์

btaction

รูปร่างลักษณะของเชื้อบีที (Bt)
เชื้อบีทีเป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงถึง 400 เท่า จึงจะสามารถมองเห็นได้ เชื้อบีทีมีรูปร่างเป็นแท่ง ความกว้างประมณ 0.5 0.8 ไมโครเมตร ยาว 1.0 3.0 ไมโครเมตร สามารถสร้างสปอร์และสารพิษภายในเซลล์ของมัน เราเรียกสารพิษนี้ว่า เดลต้า เอ็นโดท็อกซิน (delta endotoxin) มีรูปร่างเป็นผลึกคล้ายขนมเปียกปูนหรือรูปสี่เหลี่ยม ขบวนการสร้างสารพิษนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างสปอร์ หลังจากเซลล์สร้งสปอร์และสารพิษเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซลล์จะแตกสปอร์และสารพิษหลุดออกจากเซลล์

btflow

เชื้อแบคทีเรียบีที ฆ่าแมลงได้อย่างไร
เชื้อบีทีแตกต่างจากสารเคมีฆ่าแมลงที่ส่วนใหญ่มักจะถูกตัวตาย แต่เชื้อบีทีกำจัดแมลงตัตรูพืชนั้น แมลงจะต้องกินเชื้อบีทีเข้าไปถึงจะออกฤทธิ์ทำลายแมลงได้ โดยทั่วๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายเฉพาะตัวอ่อนของเมลงเท่านั้น เช่น ตัวหนอน หรือลูกน้ำยุง จะไม่ทำลายศัตรูพืชระยะที่เป็นไข่หรือตัวเต็มวัย ยกเว้นบีทีบางสายพันธุ์ที่สามาระทำลายได้ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็งบางชนิดเมื่อแมลงกินสารพิษ และสปอร์เข้าไปในกระเพาะ น้ำย่อยในกระเพาะมีคุณสมบัติเป็นด่างค่อนข้างสูง จะย่อยสารพิษซึ่งอยู่ในรูป protoxin ให้เป็น active toxin (สารพิษแท้จริง)ซึ่งจะเข้าทำลายเซลล์เยื้อบุผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบทางเดินอาหารถูกทำลาย ระดับความเป็นกรด ด่างภายในลำตัวของแมลงเปลี่ยนไป ส่งผลให้แมลงเป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้แมลงไม่สามารถกินอาหารได้ ขณะเดียวกันเมื่อผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลาย สปอร์ของบีทีและเชื้อโรคที่อยู่ในกระเพาะสามารถไหลผ่านจากรูแผลบนผนังกระเพาะเข้าสู่ระบบเลือดของแมลง จะขยายทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้โลหิตเป็นพิษ แมลงจะตายในเวลาต่อมา โดยทั่ว ๆ ไปเชื้อบีทีจะทำลายแมลงโดยใช้ระยะเวลา 2 3 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง และปริมาณเชื้อของบีทีที่แมลงกินเข้าไปด้วย

ชนิดของแมลงศัตรูพืชที่สำคัญที่สามารถควบคุมด้วยเชื้อบีที
หนอนใยผัก หนอนคืบกระหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนแปะใบ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนแก้วส้ม หนอนกินสนสามใบ

  • พืชผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนผีเสื้อขาว และหนอนกินใบผัก เป็นต้น
  • พืชไร่ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนบุ้ง และหนอนคืบละหุ่ง เป็นต้น
  • ไม้ผล หนอนประกบใบส้ม หนอนกินใบชมพู่ หนอนร่าน หนอนแก้วส้ม หนอนไหมป่า และหนอนแปะใบองุ่น เป็นต้น

btnone btnon btmalang

วิธีการใช้เชื้อบีที

  1. ควรอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุเสียก่อน เพื่อให้ทราบว่าเชื้อบีทีชนิดนี้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดใดได้บ้าง มีเชื่อแมลงศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดระบุอยู่บนฉลากหรือไม่ ทั้งนี้ ในท้องตลาดมีบีทีหลายสายพันธุ์ ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงจะแตกต่างไป
  2. เชื้อบีทีเป็นสิ่งมีชีวติ จะถูกทำลายโดยรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากแสงแดด ดังนั้น จึงควรพ่นบีทีหลังบ่ายสามโมงเย็นไปแล้ว จะช่วยยืดอายุเชื้อบีทีบนต้นพืชให้มีรปะสิทธิภาพอยู่ได้นานขึ้น
  3. แมลงต้องกินเชื้อเข้าไป บีที จึงจะสามารถทำลายแมลงได้ แมลงศัตรูผักบางชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ มักอาศัยกัดกินอยู่ด้านล่างของใบ ดังนั้น การพ่นบีทีควรครอบคลุมบริเวณส่วนล่างของใบพืชด้วย จึงจะสามารถควบคุมหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การปรับหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้ละอองเล็กที่สุดจะช่วยให้ละอองยาเกาะผิวใบได้ดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ดีขึ้น
  5. ควรผสมสารจับใบในการพ่นเชื้อบีทีทุกครั้งตามอัตราแนะนำการใช้ที่ข้างขวด
  6. การพ่นเชื้อบีทีควรพ่น เมื่อสำรวจพบหนอนตัวเล็ก ซึ่งเป็นหนอนวัยแรก ๆ (วัย 1 3) จะให้ผลในการควบคุมดีกว่าการพ่นเชื้อเมื่อพบหนอนตัวใหญ่ (วัย 4 5)
  7. ไม่ควรผสมเชื้อบีทีกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อใช้พ่นในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดอาจทำให้เชื้อบีทีเสื่อประสิทภาพได้
  8. เนื่องจากเชื้อบีทีออกฤทธิ์ช้า ใช้เวลา 2 3 วัน แมลงถึงจะตาย ดังนั้น การใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ช่วยให้แมลงตายเร็วขึ้น การใช้อัตราต่ำกว่าคำแนะนำ จะส่งผลทำให้แมลงไม่ตาย และทำความเสียหายแก่ผลผลิต จึงควรใช้เชื้อบีทีตามอัตราที่แนะนำ
  9. เมื่อพบการระบาดของแมลงรุนแรง ควรพ่นเชื้อบีทีตามอัตราแนะนำ โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ระยะห่างกัน 3 4 วัน จะช่วยลดความเสียหายจากแมลงได้ดีกว่าการพ่นเพียงครั้งเดียว

วิธีการใช้เชื้อ บี ที
เชื้อ บี ที ที่มีจำหน่ายมีหลายชนิด หลายความเข้มข้น ทั้งในรูปผงแห้ง และน้ำเข้มข้น การใช้ บี ที ควรใช้ตามอัตราแนะนำตามฉลาก โดยมีวิธีการดังนี้

  1. สำหรับ บี ที ผงแห้งควรผสมในน้ำประมาณ 1 ลิตร แล้วคนให้ละลายก่อนจะนำไปผสมลงในน้ำที่จะใช้ฉีดพ่นทั้งหมด
  2. หลังจากผสม บี ที แล้วให้พักไว้ 2-3 ชั่วโมง ให้เชื้อ บี ที แตกตัวและสร้างสารพิษในถังฉีดพ่น
  3. ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น เพื่อช่วยให้เชื้อ บี ที ติดอยู่กับส่วนต่างๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น
  4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำให้มากที่สุด ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชมากที่สุด และควรฉีดพ่นในเวลาเย็น
  5. ควรพ่น บี ที 3 – 5 วัน ติดต่อกัน 2 – 3 ครั้ง ในช่วงที่หนอนเกิดการระบาด

เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที ให้ได้ผลดี

  1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังเล็กอยู่
  2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และการฉีดพ่นในขณะมีความชื้นในแปลงสูง จะได้ผลดียิ่งขึ้น
  3. ควรฉีดพ่น บี ที ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง และควรผสมสารจับใบทุกครั้ง
  4. ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยังใหม่และยังไม่หมดอายุการใช้งาน หรือยึดเกณฑ์
    บี ที ผงแห้ง จะมีอายุ 2-3 ปี นับจากวันผลิต
    บี ที น้ำเข้มข้น จะมีอายุ 1-2 ปี นับจากวันผลิต
  5. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฏิชีวนะและสารประกอบทองแดง คอปเปอร์ คลอไรด์ เป็นต้น
  6. ควรเก็บภาชนะบรรจุ บี ที ไว้ให้พ้นจากแสงแดดและความร้อน

การขยายเชื้อบีที

  1. ขยายเชื้อบีทีด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาพอใส่เชื้อลงไปได้ ใส่เชื้อบีที 10 กรัม ปิดฝาทิ้งไว้ 1 วัน นำมาผสมน้ำฉีดพ่นได้ 20 ลิตร
  2. การขยายเชื้อบีทีด้วยนมกล่อง ใช้นมกล่องพาสเจอร์ไลท์ตามท้องตลาดทั่วไป 1 กล่อง(ผลิตภัณฑ์จากนมวัวมีรสหวานจะดีที่สุด) 200-250 ซี.ซี. เปิดฝาออกให้เทเชื้อใส่ได้ เติมเชื้อบีที 10 กรัม หมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงมาผสมน้ำฉีดพ่นได้ 20 ลิตร

คำแนะนำสำหรับการใช้เชื้อบีที

  1. สำรวจแปลงปลูกพืชสัปดาห์ละสองครั้ง
  2. ควรฉีดพ่นเชื้อบีทีในตอนเย็นแดดอ่อนๆ
  3. การฉีดพ่นควรฉีดให้ครอบคลุม ด้านล่างของใบพืช เช่นเดียวกับด้านบน
  4. ใช้หัวฉีดคุณภาพดี ปรับหัวฉีดให้ได้ละอองสารที่มีขนาดเล็ก สม่ำเสมอ
  5. ควรผสมเชื้อบีทีกับสารจับใบ หรือ สารช่วยแพร่กระจายในการฉีดพ่นทุกครั้ง
  6. การรดน้ำภายหลังการฉีดพ่น น้ำจะไปชะล้างเชื้อบีทีออกจากพืช และหากภายใน 48 ชม. หลังฉีดพ่นมีฝนตกหนักให้ฉีดพ่น เชื้อบีทีซ้ำอีกครั้ง
  7. ในกรณีที่จำเป็นต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกันหลายสัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ห้ามใช้เชื้อบีทีทุกครั้งที่ทำการฉีดพ่น แต่ให้ใช้สารสกัดสะเดา หรือ สารกำจัดแมลงชนิดอื่นที่มีพิษต่ำ(บีเอ็มพีพลัส ท๊อกซิน-ไอ พลัส) สลับ กับการใช้เชื้อบีที 2-3 ครั้ง สารสะกัด สะเดาได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ได้ แต่อาจเป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ได้มากกว่า เชื้อบีที

ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้เชื้อ บี ที
ข้อดี

  1. เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่นๆ ที่ไม่ต้องการกำจัด เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
  2. ปลอดภัยต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ การใช้เชื้อ บี ที จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้ใช้
  3. ไม่มีพิษตกค้างเมื่อพ่น บี ที แล้วจึงสามารถนำพืชมาบริโภคได้ทันที
  4. มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ จึงสามารถใช้แทนสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืชได้ และหาซื้อได้ง่าย

ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที ฉีดพ่นกำจัดหนอนในแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม

หากผู้อ่านหรือเกษตรกรท่านใดสนใจในรายละเอียดของบีที สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทรศัพท์ 0 2940 7493 ได้ในวัน เวลา ราชการ

กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-2825, 0-2940-6864
โทรสาร : 0-2579-4406

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด จุลินทรีย์

แสดงความคิดเห็น