เราทำวนเกษตรจึงมีต้นไม้และกิ่งไม้มากกิ่งใหญ่ๆใช้เผาถ่าน กิ่งเล็กก็เป็นฟืน เป็นชีวมวลที่ใช้กับเตาชีวมวลได้ดี และได้มีการสร้างเตาหลากหลายรูปแบบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานกับรูปแบบการใช้
เช่น ใช้หุงต้ม ใช้ต้มแล้วอุ่น ต้มด้วยไฟแรง ทอดด้วยไฟอ่อน ดังนั้นเราจึงสร้างเตาจรวด ไว้สำหรับการปรุงอาหาร
วัสดุอุปกรณ์
– เหล็กกล่อง 4 นิ้ว ยาว 100 ซม.
– เหล็กแบน 1×1 ซม. เหล็กฉาก 1×1 นิ้ว
– บานพับน็อต แหวนรอง
อุปกรณ์การตัดเจีย และ เชื่อมโลหะ สีทากันสนิม
ลงมือทำ
- นำเหล็กกล่อง 4 นิ้ว ตัดยาว 35 ซม.เป็นตัวเตา ตัดเป็นช่องสำหรับต่อกับช่องใส่ฟืน และตัดเป็นฉาก 45 องศา ยาว 25 ซม.เป็นฐานเตา แล้วเจาะรูด้านบน 16 แถว ตัดระหว่างรูให้เป็นร่องทำเป็นช่องตะแกรงเตา อีกด้านหนึ่ง ยาว 35 ซม. เป็นช่องให้ฟืน
2.เชื่อมต่อตัวเตากับฐานเตา นำเหล็กแผ่นมาเชื่อมปิดด้านหลังของช่องเตาให้ปิดสนิท นำช่องให้ฟืนสมเชื่อมติดกับตัวเตา
- ทำประตูปิดเปิดช่องให้ฟืน และฐานเตา รวมทั้งติดตั้งมือจับที่ด้านหลังเตาให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก
- ทำฐานรองเตาด้วยเหล็กฉากยาว 15 ซม. เชื่อมต่อฐานเตา ด้านตัวเตาทำมุม 45 องศาเพื่อรับน้ำหนักเตา ด้านปลายท่อฐานเตาทำมุม 90 องศา รักษาความมั่นคงของเตา
- ฐานรองรับภาชนะ ดัดเหล็กขนาดพอสวมตัวเตาและฐานรอง สูง 3.5 ซม. เชื่อมเป็นฐานรอง
- ประกอบเตาโดยใส่ใส้เตาลงในตัวเตา วางฐานรองรับภาชนะ แล้วนำไปใช้ได้เลย
การใช้งาน
- นำวัสดุชีวมวล เช่น กิ่งไม้ ใส่ลงในช่องใส่ฟืน จากนั้นเริ่มจุดไฟใส่ในเตา เมื่อไฟติดจะมีควันบ้างในช่วงแรกแล้วควันจะค่อยๆจางหายไป เมื่อไฟเริ่มคิดจนมีเปลวไปมากพอ ก็สามารถนำภาชนะที่ต้องการปรุงอาหาร แล้วลงมือปรุงได้
- การเผาไหม้ทำที่ห้องเผาไหม้ แล้วความร้อนและเปลวไฟส่งขึ้นทางด้านบน หากต้องการเร่งไฟให้ทำการเปิดประตูให้อากาศเข้าไป ไฟจะแรงขึ้น
ความร้อนส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนขนาดกลาง เหมาะสำหรับการทอด ต้ม นึ่ง สามารถทยอยเติมเชื้อเพลิงเข้าไปใหม่และใช้งานได้ต่อเนื่อง
เตาจรวดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเตาชีวมวล เป็นเตาที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย น้ำหนักไม่มาก เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานนอกสถานที่ที่มีไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ให้ความร้อนขนาดกลาง เหมาะสำหรับการทอด ต้ม นึ่ง สามารถทยอยเติมเชื้อเพลิงเข้าไปใหม่และใช้งานได้ต่อเนื่อง