พลังงานชีวมวลเป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ใกล้ตัวชุมชน และเตาแก๊สชีวมวล เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการหุงต้ม เพราะทำให้ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อเพลิงแอลพีจีได้
เนื่องจากเตาแก๊สชีวมวลใช้ได้กับวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เศษไม้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ เศษไม้ทั่วไป กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่เหลือใช้มากที่สุดในประเทศไทย
เตาแก๊สชีวมวลเป็นเตาที่จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการหุงต้มอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษไม้และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง โดยมีหลักการท างานแบบการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวล(Gasifier) แบบอากาศไหลขึ้น (Updraf Gasifier) เป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนแล้วไปเร่งปฏิกริยาต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง ที่สามารถติดไฟได้ ได้แก่ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเธน (CH2) เป็นต้น
เทคโนโลยี แก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเปลี่ยนรูปเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง โดยแก๊สที่ผลิตได้ จะเรียกว่า โปรดิวเซอร์แก๊ส ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอนมอน๊อคไซด์ (CO) มีเทน (CH4) และไฮโดรเจน (H2) ที่สามารถจุดติดไฟและให้ความร้อนได้
เทคโนโลยี แก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับเตาแก๊สชีวมวล เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการหุงต้มและการให้ความร้อนจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้ครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อเพลิง LPG ได้ เตาแก๊สชีวมวลใช้ได้กับวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น เศษไม้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ เศษไม้ทั่วไป กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด และโดยเฉพาะแกลบ ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่เหลือใช้ มากที่สุดในประเทศไทย ทางกลุ่ม KBD เราเคยคุยกันเล่น ๆ ว่า ตราบใดที่คนไทยยังกินข้าว แกลบจะเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีวันหมด… (แต่อาจจะไม่จริงก็ได้ เพราะตอนนี้บางองค์กรใหญ่ ๆ กว้านซื้อแกลบเอาไปผลิตไฟฟ้า แกลบที่เคยไร้ค่า จึงมีราคาพุ่งสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 1 บาท) อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเชื้อเพลิงแกลบ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการให้ความร้อน สำหรับเตาเผาดิน
ประโยชน์ของการใช้เตาแก๊สชีวมวลแกลบ
แนวคิดที่เกิดการสร้างเตาเผาดินจากแกลบ
จากการศึกษาการสร้างเตาเผาดินในแบบต่าง ในแต่ละยุคสมัย มีรายละเอียดย่อยดังจะกล่าวต่อไปนี้
ทั้งสามตัวอย่างที่ยกขึ้นมา เป็นโจทย์ให้คิดอย่างรอบคอบ เพื่อลดและแก้ปัญหาจากการรบกวนเหล่านั้นออกไป และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร อย่างน้อยที่สุด กระบวนการเผาไหม้ จะต้องไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างสภาวะเสื่อมโทรมให้กับธรรมชาติ เช่นภาวะเรือนกระจกจากการเผาไหม้ จึงได้หยิบยกเอาเชื้อเพลิงแกลบ มาใช้เป็นต้นทุนให้เกิดประโยชน์ และได้ค้นคว้าทดลองออกแบบเตาที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เป็นเตาสำหรับเผาเครื่องปั้นดินเผา
เจ้าของผลงาน คุณสุทธิพร เนียมหอม ฝ่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน ติดต่อสอบถาม โทร.0-3435-1397 ,0-3435-1946
หลักการทำงาน
เชื้อเพลิงจะถูกใส่ด้านบนของเตา อากาศไหลผ่านเข้าตะแกรงเตาด้านล่าง
บริเวณเหนือตะแกรงขึ้นไปจะเกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ
น้ำที่มีอุณหภูมิสูงไหลเข้าสู่ Reduction Zone ที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่จำนวนมากและอุณหภูมิสูง
มากกว่า 400 องศาเซลเซียล บริเวณนี้คาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับคาร์บอนอุณหภูมิสูง
ได้ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซมีเทน ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถติดไฟได้ แต่ปริมาณเปอร์เซ็นต์ที่เกิดขึ้น
มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเพลิงที่เผาไหม้
วัสดุ อุปกรณ์
ขั้นตอนการทำ
1. เสื้อเตา ปี๊บขนาด 20 ลิตร หรือถังสี(เหล็ก/สังกะสี)
2. ห้องเผาไหม้ (ท่อชั้นใน)
3. ขาตั้งห้องเผาไหม้
นำแหล็ก กลมหรือแบบความยาว 9 ซม.มาเชื่อมทำขาตั้ง โดยเมื่อเชื่อมแล้ว ห้องเผาไหม้จะต้องมีความสูง เสมอกับปากของปี๊บ
4. ท่อชั้นที่ 2 (ผนังกั้นไอร้อน และกั้นฉนวนนำท่อ 8 นิ้ว ตัดให้ได้ ความยาว 31 ซม.(จะต่ำกว่าปี๊ป 3 ซม.) ตัดช่องลมหน้าเตา โดยช่องลมมีขนาด 6x 11 ซม.
5. นำห้องเผาไหม่(ท่อชั้นใน) มาเชื่อมยึด กับท่อชั้นนอก
การประกอบเตา
6. ช่องลมหน้าเตา
วางปี๊บให้เอียงพิงกับผนัง โดยให้ช่องลมอยู่ด้านบน ตัดเชือกแกะเอากระดาษที่ปิดช่องลมที่ปี๊บ และใส้เตาออก ปรับแต่งช่องหน้าเตาโดยให้รอบช่องหน้าเตามี่พื้นที่สำหรับอัดและฉาบซิเมนต์หน้าเตา 1.5 ซม. ฉาบและแต่งให้เรียบร้อย ทิ้งให้แห้ง จึงนำมาใช้งาน
(ขาตั้งภาชะนะ ใช้หัวรองภาชนะเตาแก๊ส หรือนำเหล็กมาดัดเชื่อมเป็นขาตั้ง )
สำนักงานพลังงานจังหวัดอ่างท่อง
ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง 14000
โทรศัพท์ : 0-3561-2019
โทรสาร : 0-3561-2019
http://angthong.energy.go.th
อีเมล์ : angthhong@energy.mail.go.th
ป้ายคำ : พลังงานทดแทน, เตาชีวมวล