เต็ง ไม้ต้นผลัดใบแข็งแรงทนทาน

8 กรกฏาคม 2559 ไม้ยืนต้น 0

เต็งเป็นไม้ต้นผลัดใบ กระจายพันธุ์เป็นกลุ่มใหญ่ ในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ดินลูกรัง และเขาหินทรายทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1501,300 ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์พฤษภาคม ผลแก่เดือนเมษายนกรกฎาคม

เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแกมแดง ใช้ก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน เช่น เสา รอด ตง ขื่อ กระดานพื้น ไม้หมอนรถไฟ โครงเรือเดินทะเล ฯลฯ เปลือกใช้เป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด รักษาแผลเรื้อรัง แผลพุพอง ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และยาแนวเรือ

ชื่อสามัญ Teng, Thity, Burmese sal
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea obtusa Wall. ex Blume
ชื่อท้องถิ่น แงะ (เหนือ) จิก (อีสาน) ชันตก (ตราด) เต็งขาว (ขอนแก่น) เน่าใน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ

  • ต้น: ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นเปลาตรงหรือคดงอ
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ขนาดของใบ ใบบิดขี้นลง เนื้อใบหนา สีเขียวอมเหลือง ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่เกลี้ยง โคนใบทู่หรือมน ปลายใบมนหรือแหลม ก้านใบมักคดงอ ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง ส้ม แดง
  • ดอก: ดอกเป็นช่อแยกแขนง ดอกขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวแกมเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม โคนกลีบซ้อนทับกัน ปลายกลีบแยกกันและจีบเวียนตามกันเป็นรูปกังหันกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ ขนาดเล็ก จำนวนมาก อยู่รอบเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียเป็น 3 พู
  • ผล: ผลรูปไข่ ปีกรูปใบหอกกลับ ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก เมล็ดมี 1 เมล็ด
  • เปลือก: เปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด

tenglek tengtons tengdok

การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด

tengkla

กระจายพันธ์
ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ในป่าเต็งรัง ที่เป็นดินลูกรังและดินหินทราย ในป่าภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลได้ถึง 1,300 เมตร ต่างประเทศพบในพม่า และภูมิภาคอินโดจีน ออกดอกและเป็นผลระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน

tengpa tengpah tengton

การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องมือเครื่องใช้
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:

  • ไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol ใช้เป็นยาสมานแผล ห้ามโลหิต
  • เปลือก ใช้ฝนกับน้ำปูนใส เป็นยาสมานแผลเรื้อรังและแผลพุพอง
  • ราก แก้ท้องร่วง แก้บิด เป็นยาห้ามโลหิต ยาสมานท้อง
  • เปลือกต้น ยาสมานท้อง สมานแผลเรื้อรัง สามนแผลพุพอง
  • แก่น แก้กระษัย แก้เลือดลม
  • ยาง แก้บิด ปิดธาตุ แก้ฝีในท้อง สมานบาดแผล แก้น้ำเหลืองเสีย
  • ใบ รักษาบางแผลแผลพุพองของเด็ก

ที่มา
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น