สาหร่ายน้ำจืด เทา หรือ เตา เป็นสาหร่ายน้ำจืด พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ในแหล่งน้ำนิ่ง สะอาด ใส รูปร่างเป็นเส้นยาวคล้ายผม ไม่มีกิ่งก้าน จะพบมากในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านจะนำมาขายโดยม้วนเป็นก้อนกลมๆ เทา ส่วนมากนำมากินเป็นผักสด ผักลวกกับน้ำพริก หรือเอามายำ แกงส้ม มีแคลเซี่ยมและเบต้า-แคโรทีนสูงมาก
ชื่อสามัญ Fresh – water algae
ชื่อวืทยาศาสตร์ : Spirogyra sp.
วงศ์ : Zygnemataceae
ชื่ออื่น เตา เทา ไก ผักเตา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพืชน้ำพวกสาหร่าย รูปร่างเป็นสายเล็กๆ เส้นยาวคล้ายผมรวมกันเป็นกลุ่มสีเขียว อยู่ในน้ำนิ่งและสะอาด ไม่มีกิ่งก้าน
ในบ้านเราเองก็มีสาหร่ายที่นำมาประกอบอาหารได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นสาหร่ายน้ำจืดที่มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ทางภาคเหนือและภาคอีสานจะเรียกว่า “เทา” หรือ “เตา” แต่คนลาวและบางจังหวัดของประเทศไทยจะเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า “ไก” สาหร่ายน้ำจืดชนิดนี้จะพบในแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำใสสะอาด ลักษณะของมันจะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นผมมีสีเขียว ไม่มีกิ่งก้าน จะพบมากในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านจะนำมาขายโดยม้วนเป็นก้อนกลมๆ ส่วนการนำมาประกอบอาหารนั้นก็สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือนำมาลวกกินกับน้ำพริก หรือนำไปทำลาบ ที่เรียกว่าลาบเทา และในบางพื้นที่ก็ยังนำเอามาแปรรูปเป็นสาหร่ายแผ่นกรอบปรุงรส ใส่ห่อขายดูน่ากิน
ส่วนประโยชน์ของสาหร่ายชนิดนี้ก็พบว่า ในไก 10 กรัม จะมีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 20% มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 31 % ให้เส้นใยสูงถึง 21% และยังมีวิตามินบีโดยเฉพาะ บี 2 ถึง 355 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม นอกจากนั้นก็มีกรดโฟลิค และ กรดแพนโทธีนิก ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินที่สำคัญอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมอีกด้วย จึงนับว่าเป็นอาหารให้คุณค่าที่มาจากพื้นบ้านเราอีกอย่างหนึ่ง
สาหร่ายไกมี 3 ชนิด คือ
สาหร่ายไกมักถูกนำมารับประทานแบบสด และยังสามารถนำมาปรุงเป็น ยำ ห่อนึ่ง โดยให้โปรตีนสูงกว่าการรับประทานเนื้อปลา มีวิตามินและเกลือแร่อยู่กว่า 18 ชนิด อีกทั้งมีสารต้านมะเร็ง และมีกากใยอาหารสูง
ปกติแล้วเราจะพบสาหร่ายได้มากในช่วงฤดูหนาว และ ร้อน ซึ่งจะเจริญได้ดีในสภาพน้ำสะอาดใสและตื้น พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอมีฝนตกลงมามาก สาหร่ายชนิดนี้ก็จะหายไป ดังนั้นในแต่ละปีจะมีสาหร่ายให้เราหามาปรุงอาหารได้เพียง 3-5 เดือนเท่านั้น แต่ความที่สาหร่ายน้ำจืดเป็นที่ต้องการของตลาดได้ทั้งปี รวมทั้งตอนนี้ก็มีกิจการเลี้ยงปลาบึก ซึ่งต้องการใช้พืชชนิดนี้เป็นอาหารจำนวนมาก จึงเกิดการเพาะเลี้ยงขึ้นมา
กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งนำโดย รศ.ดร.ศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร เป็นหัวหน้าทีม ได้ร่วมกันศึกษาหาวิธีเพาะเลี้ยงสาหร่าย โดยใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหาร ซึ่งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารต่างๆ อยู่มาก มาเป็นเครื่องมือสำหรับเลี้ยงสาหร่าย โดยนำน้ำดังกล่าวมาผสมน้ำในอัตราส่วนต่างๆ กัน แล้วก็ไปเก็บสาหร่าย มาจากแม่น้ำน่าน ซึ่งปกติสาหร่ายเหล่านี้จะเกาะอยู่บนก้อนหิน ก็เก็บมาทั้งก้อนหินแล้วมาลองเลี้ยงในอ่างแก้วเหมือนตู้ปลาขนาดใหญ่แล้วให้ อากาศเหมือนการเลี้ยงปลาทั่วไป
เลี้ยงไว้อย่างนั้น 1 เดือน ก็พบว่าการใช้น้ำทิ้งที่ได้มาจากโรงอาหารโดยไม่ต้องนำมาผสมน้ำให้เจือจางเลย หรือผสมน้ำเพียง 20% ทำให้สาหร่ายเติบโตได้ดีที่สุด เพราะสาหร่ายได้อาหารจากน้ำทิ้งดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในการเติบโต ผลผลิตที่ได้ก็มากเกือบครึ่งกิโลกรัมต่อตารางเมตร สรุปก็คือน้ำทิ้งที่ปกติจะต้องปล่อยลงท่อระบายน้ำ เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน
อย่างในกรณีนี้ เมื่อนำน้ำทิ้งมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ และสร้างแหล่งอาหารสำหรับการเลี้ยงปลาบึก เหตุที่ไม่ได้แนะนำให้นำมาใช้เป็นอาหารของคนก็คงเป็นเพราะว่าวัตถุดิบที่ใช้ ในการเพาะเลี้ยงนั้น ดูแล้วคงไม่เหมาะที่จะผลิตอาหารบริโภค แต่แนวคิดเรื่องการเพาะเลี้ยงไกจนได้ผลเช่นนี้ ก็หมายความว่าถ้ามีการจัดระบบการเลี้ยงที่ได้สุขลักษณะ รวมทั้งใช้สารอาหารที่เหมาะสมเหมือนกับการปลูกผักแบบใช้สารละลายหรือไฮโดรโปนิกส์ ก็น่าจะได้ไกที่มีคุณภาพสูงและถูกสุขลักษณะที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารคนได้ทั้งปี แทนที่จะต้องรอเก็บจากธรรมชาติในบางฤดูเท่านั้น
และที่สำคัญคือตอนนี้ความนิยมในการบริโภคไกก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ไม่เฉพาะในหมู่คนพื้นบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำเท่านั้น แต่บรรดานักท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือนเมืองน่านหรือเชียงราย เมื่อได้ลองชิมไกในรูปแบบต่างๆ แล้ว รู้สึกพอใจในรสชาติ และอีกอย่างหนึ่งคือคุณค่าทางอาหารของไกก็สูงมากด้วยเช่นกัน กลายเป็นอาหารสุขภาพอย่างดีอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นของพื้นเมืองไทยเรา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเพาะเลี้ยงสาหร่ายไก โดยการใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหารได้แล้ว เรื่องการพัฒนาต่อโดยใช้ความรู้ดังกล่าวต่อยอดต่อไปถึงการผสมสูตรอาหารที่ เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก ก็หวังว่าคณะนักวิจัยกลุ่มนี้คงจะช่วยกันพัฒนาต่อไป เพราะมีโอกาสสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรหรือคนที่อยู่ใกล้แม่น้ำได้สร้างรายได้เสริม หรือยิ่งไปกว่านั้นคือกลายเป็นอาชีพหลักก็เป็นได้ โดยสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือความสะอาดและถูกสุขลักษณะ เพราะไกเมื่อเก็บจากธรรมชาตินั้น
บางครั้งก็ยังมีทรายติดมาด้วย แต่หากเพาะเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสมก็คงจะหมดปัญหาเรื่องนี้ไป และน่าจะเป็นการขยายตลาดไกให้กว้างขวางมากขึ้นได้
ว่ากันแล้วก็ลองหันมาเลี้ยงสาหร่ายกันดีกว่านะค่ะ แต่ต้องศึกษาให้ละเอียด เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การขยายพันธุ์ ต้น
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในน้ำสะอาดใสและน้ำนิ่งไม่ไหล
การปรุงอาหาร สาหร่ายน้ำจืด นำมาล้างให้สะอาดรับประทานเป็นผักสด หรือลวกร่วมกับน้ำพริก หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ยำ ลาบ ตำดิบ แกงส้ม
ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล นักวิจัย คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำสาหร่ายเตา หรือเทาน้ำ มาศึกษาคุณสมบัติและทดสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต้านการอักเสบ ป้องกันการเกิดฝ้าและจุดด่างดำ จึงนำมาใช้เป็นส่วนผสมโลชั่นทาผิว และแนะนำให้เกษตรกรที่เลี้ยงสาหร่ายเตาในพื้นที่จังหวัดแพร่ นำไปทำตาม
วิธีการ โดยนำสาหร่ายเตาตากแห้ง ปริมาณ 1 กรัม ใส่ในภาชนะ เทน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุกลงไปจนท่วม เคี่ยวบนไฟร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อสกัดสารที่อยู่ในสาหร่ายเตาออกมา นำสารสกัดน้ำที่ได้มาผสมในน้ำ แล้วยกทั้งภาชนะลงไปอุ่นในหม้อที่มีน้ำเดือดอยู่ ขั้นตอนต่อไปนำเนื้อครีม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านเวชสำอางค์ทั่วไป มาอุ่นด้วยวิธีการเดียวกัน จนเนื้อครีมละลายจึงค่อยนำส่วนผสมทั้ง 2 ส่วน มารวมกันคนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวัดอุณหภูมิให้ได้ 40 องศาเซลเซียส จึงแต่งกลิ่นหอมตามต้องการแล้วบรรจุลงขวดทันที นอกจากนี้ ยังได้ทดลองนำสาหร่ายเตาไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ลิปสติกบำรุงริมฝีปากให้ชุ่มชื้น เจลอาบน้ำ เจลล้างมือ สบู่เหลว
การนำสาหร่ายเตามาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสาหร่ายเตามีรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการเก็บไปขายสด
เอกสารอ้างอิง
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน