การขยายพันธุ์มะขามอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันคือ การเปลี่ยนยอด เนื่องจากการเปลี่ยนยอดมีข้อดีหลายประการ คือ ได้ต้นพันธุ์ที่มีระบบรากแข็งแรง มีการเจริญเติบโตเร็วไม่ชะงัก และสามารถบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการ
ขั้นตอนในการเปลี่ยนยอดมะขาม
การเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
เทคนิค
มีดขยายพันธุ์ จะต้องเป็นมีดที่คมและพอเหมาะต่อการปฏิบัติงาน ไม่จำเป็นต้องเป็นมีดที่มีราคาแพงแต่จะต้องลับให้คมอยู่เสมอ
การเตรียมต้นตอ
การเปลี่ยนยอดมะขาม ทำได้ 2 วิธีคือ
เทคนิค
ต้นตอที่ปลูกในแปลงมีอายุระหว่าง 8 เดือน ถึง 2 ปี หรือต้นตอที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป (ปลูกโดยวิธีเพาะเมล็ด) โดยใช้ระยะปลูก 88 เมตร ขุดหลุมปลูกขนาด 60 x60 x60 เซนติเมตร ผสมปุ๋ยคอกหลุมละ 1-2 บุ้งกี๋ คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากัน นำต้นตอที่เพาะในถุงพลาสติกลงปลูก หลังจากปลูกต้นตอได้ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี เช่น ใช้ปุ๋ยยูเรียประมาณต้นละ 1 ช้อนชา โรยรอบโคนต้นให้ห่างจากต้นพอประมาณ พรวนดินรอบโคนต้นเพื่อให้ปุ๋ยคลุกเคล้าเข้ากับดิน แล้วจึงรดน้ำตาม
ควรใส่ปุ๋ยยูเรียประมาณ 2-3 ครั้ง โดยใส่ห่างกันครั้งละ 1 เดือน 1 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนทำการเปลี่ยนยอดประมาณ 10-15 วัน ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง เพื่อให้ต้นตอลอกเปลือกได้ง่ายขึ้น
ต้นตอที่ทำการเปลี่ยนยอดควรมีอายุ 8 เดือนถึง 2 ปี ไม่ควรเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่มีอายุมากกว่านี้ เพราะจะไม่ค่อยติดเนื่องจากต้นตออายุมากเกินไป
การเตรียมยอดพันธุ์
เทคนิค
ควรเป็นยอดที่สมบูรณ์ปราศจากโรค-แมลงเปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล ใบชุดสุดท้ายเริ่มเปลี่ยนเป็นใบแก่
ใช้กรรไกรตัดยอดพันธุ์ให้ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตัดแต่ใบออกให้หมดเพื่อป้องกันการคายน้ำตัดส่วนยอดพันธุ์ออกเล็กน้อย จากนั้นนำยอดพันธุ์ใส่ในถุงพลาสติกและเก็บในที่ร่ม เพื่อรักษายอดพันธุ์ให้สดอยุ่เสมอ ข้อสำคัญ ไม่ควรตัดยอดพันธุ์ทีละมาก ๆ เพราะจะทำให้ยอดพันธุ์คายน้ำซึ่งจะมีผลทำให้เปอร์เซนต์การติดลงลง
วิธีการเปลี่ยนยอด
เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการเปลี่ยนยอด โดยเฉือนยอดพันธุ์ให้แผลยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร เฉือนให้ตาของยอดพันธุ์ดีอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เสร็จแล้วจึงเปิดเปลือกต้นตอโดยกรีดแผลจากบนลงมาล่าง 2 แผล ให้แผลห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วกรีดแผลด้านบนให้ประสานกัน
ใช้ปลายมีดขยายพันธุ์เปิดเปลือกต้นตอ แล้วลอกเปลือกให้มีความยาวเท่ากับแผลของยอดพันธุ์ สอดยอดพันธุ์ดีเข้ากับแผลของต้นตอ แล้วเฉือนเปลือกต้นตอออกให้เหลือประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ใช้พลาสติกใสพันต้นตอและยอดพันธุ์ดี โดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบน พันให้ปิดยอดพันธุ์ ควรพัน 2 รอบ ระหว่างพันพลาสติกควรดึงพลาสติกให้ตึงอยู่เสมอเพื่อให้รอยแผลสนิทกันดียิ่งขึ้น
การดูแลรักษาหลังเปลี่ยนยอด
หลังเปลี่ยนยอด 1 สัปดาห์ ให้ตรวจดูยอดพันธุ์ถ้ายอดพันธุ์ดีเปลี่ยนเป็นสีดำหรือน้ำตาลแสดงว่ายอดไม่ติดควรเปลี่ยนยอดใหม่ให้สูงจากรอยแผลเดิมเล็กน้อย ถ้ายอดพันธุ์ดีเป็นสีเขียวสดอยู่แสดงว่ายอดติด ใช้ปลายมีดกรีดพลาสติกเฉพาะบริเวณยอดใหม่ที่จะผลิออกมาเพื่อให้ยอดพันธุ์โผล่ออกมานอกพลาสติกได้
เมื่อยอดพันธุ์ดี แตกยอดมาได้ 1 ชุด และใบเริ่มแก่ จึงตัดต้นตอทิ้ง โดยตัดให้สูงจากรอยแผลที่เปลี่ยนยอดประมาณ 1 นิ้ว ให้เฉียงไปด้านตรงข้ามกับยอดพันธุ์ดีใช้ปูนขาวหรือสารกันรา ทารอยแผลเพื่อป้องกันรอยแผลเน่า จากนั้นเมื่อยอดพันธุ์อายุได้ 2 เดือน จึงกรีดพลาสติกออกให้หมด แล้วใช้ไม้หลักผูกยึดยอดพันธุ์ดีป้องกันการฉีกขาดจากลมพายุ เนื่องจากแผลยังไม่ประสารเป็นเนื้อเดียวกัน
ป้ายคำ : การขยายพันธุ์