การผลิตข้าวระบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” กล่าวว่า การปลูกข้าวที่มีการใช้น้ำแช่ไว้ในแปลงนาตลอดเวลาเพื่อควบคุมหญ้า ผลที่ตามมาคือข้าวไม่กินปุ๋ย แตกกอน้อย เกิดนาหล่ม อ่อนแอต่อโรค ทำให้ถูกแมลงเข้าทำลายได้ง่าย เกษตรกรจึงต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง และตัวเกษตรกรเองก็มีสุขภาพทรุดโทรม จากการที่ได้ไปศึกษดูงานด้านการเกษตรในหลายประเทศ และได้มีการลงมือปฏิบัติร่วมกับชาวนาในหลายพื้นที่ ทำให้พบว่าเทคนิคการปลูกข้าวระบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” เป็นการปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย ช่วยป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแก้ปัญหานาหล่ม ข้าวไม่ล้มตอนเกี่ยว
หลักการที่ใช้คือ ไม่ต้องปล่อยน้ำแช่ไว้ในแปลงนาตลอดเวลา ให้ใช้ท่อวัดระดับน้ำไปติดตั้งไว้ในแปลงนาเพื่อดูระดับน้ำใต้ดิน โดยใช้ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 25 เซนติเมตร เจาะเป็นรู 40 รู นำไปฝังในนาข้าว ให้ขอบท่ออยู่พ้นจากพื้นนา 5 เซนติเมตร เมื่อน้ำหน้าดินในนาแห้งให้ดูน้ำใต้ดินในท่อก่อน ถ้าน้ำยังลดลงไม่ถึง 15 เซนติเมตร ก็ยังไม่จำเป็นต้องให้น้ำ วิธีนี้ช่วยทำให้ไม่สิ้นเปลืองสูบน้ำเข้านาเกินความจำเป็น และช่วยทำให้รากข้าวเจริญเติบโตได้ดีขึ้นด้วย ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำมาก และให้ใช้แหนแดงหว่านลงไปในนาข้าวที่ปักดำแล้ว 7-15 วัน แหนแดงจะช่วยคลุมหน้าดิน ป้องกันวัชพืชขึ้นหลังปักดำ ช่วยประหยัดยาคุมหญ้าและยาฆ่าหญ้าเฉลี่ยไร่ละ 250 บาท และยังเป็นปุ๋ยพืชสด ช่วยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 6-12 กิโลกรัม วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 3,000 บาทต่อไร่ และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ 1 ตันต่อไร่
น้ำคุมหน้าดิน 5 เซนติเมตร และปล่อยให้แห้ง ลงไป 15 เซนติเมตร ให้หน้าดินแตกระแหง
ข้อดี และการปฎิบัติ
ทำได้ตั้งแต่ สัปดาห์ที่สอง เว้นช่วงข้าวตั้งท้อง ปล่อยให้แห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน
1.ความชื้นที่โคนกอข้าว ต่ำ อุณหภูมิหน้าผิวดิน จะสูงๆ ต่ำ ๆ เพลี้ยไม่ชอบ
2.ต้นข้าว จะไม่อวบน้ำ ผนังเซลล์จะแข็งแรง เพลี้ยก็ไม่ชอบอีก
3.หน้าดินแตกระแหง รากข้าวได้ออกซิเจนมากขึ้น ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง
4.ระบบราก ทำงานอย่างเต็มที่ มีการแตกกอดี
5.หน้าดินได้มีเวลา เซทตัว ลดปริมาณน้ำในแปลงนาข้าวลง ช่วยลดปัญหานาหล่ม
6.หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอย crack (เหมือนกับการฝังปุ๋ยไว้ในดิน ทำให้รากข้าวดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น) ดีกว่าการหว่านแบบเดิม ที่เม็ดปุ๋ยอยู่หน้าดิน รากไม่เจอปุ๋ย และทำให้รากข้าวลอย มีการคายประจุ ออกไปในอากาศ ข้าวไม่ได้สารอาหารเต็มที่
7.เติมน้ำลงในแปลงนา ปุ๋ยที่อยู่ในดิน ละลายน้ำ ต้นข้าว กินอย่างหิวกระหาย ต้นข้าวแข็งแรง
8.หากมีหญ้าขึ้นระหว่างแถว ก็พรวนดินปิดหน้าดิน ฝังปุ๋ยไว้ในนา กำจัดหญ้า ไปในตัว ด้วย Rotary weeder ครับ
9. เลี้ยงเป็ด ในร่องนาดำ (บ้านที่มีคนอยู่ปลวก แมลงไม่ขึ้นบ้าน แปลงนามี เป็ดอยู่ ก็จะมีเสียง และคลื่นความร้อน รบกวนการอยู่ของแมลง)
ข้อจำกัด
1.เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ทำได้ ในพื้นที่ ควบคุมน้ำได้
2.ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ดินเค็ม อาจทำให้ข้าวตายได้
3.งดเว้น การปล่อยน้ำให้แห้ง ช่วงข้าวตั้งท้อง
4.ปล่อยให้หน้าดินแห้งต่อก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน
5.ดินที่เหมาะ คือดินที่ ไม่เผาตอฟางข้าว (มีอินทรียวัตถุในดินให้ข้าว เลี้ยงตัวระหว่างหน้าดินแห้ง )
ป้ายคำ : นาข้าวอินทรีย์
ควรระบุแหล่งทีมาของข้อมูล ด้วยครับ
แหล่งข้อมูลรวมรวมจากหลายแหล่ง ทั้งจากการศึกษาข้อมูลจากเว็บ จากผู้รู้ การฝึกอบรม ดูงาน สัมนาทางวิชาการ และการทดลองปฏิบัติจริง แล้วสรุปเป็นแนวทางและรายละเอียดตามที่ปรากฏ และหากมีข้อมูลตรงกับการรวบรวมจากข้อเขียนในเว็บอื่น ก็นำมาใช้ในบางส่วนแล้วเรียบเรียงตามความเข้าใจของผู้เขียนครับ