ตำราปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของคนไทยโบราณห้ามปลูกเพกาในบริเวณบ้าน เพราะถือว่าฝักเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจนำเรื่องเดือดร้อนเลือดตกยางออกมาสู่เจ้าของบ้านได้ อีกอย่างหนึ่ง ฝักเพกาเป็นชื่อเรียกเหล็กประดับ ยอดพระปรางค์มี 10 กิ่ง (เพราะมีรูปร่างคล้ายฝักเพกา) จึงนับเป็นของสูงไม่คู่ควรนำมาปลูกในบ้าน (เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นไทร) แต่หากนำไปปลูกไว้ตามเรือกสวนไร่นาหรือรั้วบ้านคงจะไม่ถือสากัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อสามัญ : Broken Bones Tree
วงศ์ : Bignoniaceae
ชื่ออื่น : มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น กึ่งผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ สูง 5-12 เมตร เรือนยอดเล็ก กิ่งเปราะหักง่าย แตกกิ่งก้านน้อย ต้นที่มีอายุน้อยมีกิ่งใหญ่ตรงกลางกิ่งเดียว เปลือกเรียบ มีใบเป็นกลุ่มตรงกลาง คล้ายกับต้นปาล์ม ภายหลังจากออกดอก ลำต้นจะแยกเป็นกิ่งระเกะระกะ เปลือกต้น สีน้ำตาลครีมอ่อน หรือเทาอ่อน แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม และแผลของใบยาวถึง 150 เซนติเมตร เกิดจากใบที่ร่วงไปแล้ว ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจายอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเรียบสีเทา มีรอยแผลเป็น จากการหลุดร่วงของใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ปลายคี่ ใบขนาดใหญ่ ยาว 60-200 เซนติเมตร เรียงตรงข้ามกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายยาว ขอบใบเรียบ ฐานใบสอบแคบ ใบเกลี้ยง หรือมีขนสีขาวสั้นๆ ด้านล่าง ท้องใบนวล ก้านใบบนสุดแยกออก 1 ครั้ง ก้านใบกลางแยก 2 ครั้ง และก้านใบล่างแยก 3 ครั้ง ทำให้เห็นใบทั้งหมดเป็นรูปสามเหลี่ยม ก้านใบย่อยยาว 5-8 มิลลิเมตร ก้านใบข้าง และก้านใบร่วมโค้งพองออกที่ฐานและที่ข้อ ก้านใบยาว 0.5-2 เมตร ดอกช่อขนาดใหญ่แบบกระจะ ออกที่ปลายยอดเป็นกระจุก มีดอกย่อย 20-35 ดอก จะบานพร้อมกันคราวละ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 60-180 เซนติเมตร ยื่นออกมานอกทรงพุ่มของยอด ดอกย่อยขนาดใหญ่ 8-12 เซนติเมตร กลีบดอกสีนวลแกมเขียวโคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หรือม่วงด้านนอก หลอดกลีบดอกยาว 2-4 เซนติเมตร รูปแตร กลีบดอกหนา ขอบย่น ไม่มีพู หรือพูไม่เท่ากัน มีต่อมกระจายอยู่ด้านนอก ด้านในมีขนหนาแน่น ดอกบานตอนกลางคืน มีกลิ่นสาบฉุน และร่วงตอนเช้า มักจะมีดอกและผลในกิ่งเดียวกัน เกสรตัวผู้ 5 อัน ติดกับหลอดดอก โคนก้านมีขน เกสรตัวเมียมี 1 อัน กลีบเลี้ยงยาว 2-4 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายไม่แยกเป็นกลีบอย่างเด่นชัด เมื่อเป็นผล กลีบเลี้ยงนี้จะเจริญเป็นเนื้อแข็งมาก ผลเป็นฝัก แบน โค้งเล็กน้อยที่ฐาน มีสันเล็กๆที่ด้านข้าง คล้ายรูปลิ้น ห้อยอยู่เหนือเรือนยอด กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 30-120 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม สีแดง ติดฝักยาก ฝักเป็นรูปดาบ เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีขาว ขนาด 4-8 เซนติเมตร มีปีกบางโปร่งแสง
พบบริเวณป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ บริเวณ ไร่ สวน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม ยอดอ่อนรสชาติขม และดอก นำมาลวกกินเป็นผัก ฝักแก่ที่ยังไม่แข็งจะมีรสขมใช้ประกอบอาหารได้ แต่ต้องทำให้รสขมหมดไปโดยการเผาไฟให้ผิวไหม้เกรียม แล้วขูดผิวที่ไฟไหม้ออก นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วคั้นน้ำหลายๆหน แล้วจึงนำมาปรุงอหารได้ เช่น ผัด แกง เป็นผักจิ้มน้ำพริก
เพกาเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย โดยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วๆไป
แม้เพกาจะขึ้นอยู่ในหลายประเทศ แต่ดูเหมือนจะมีแต่ชาวไทยเท่านั้นที่นำเพกามากินเป็นผัก ในตำรับสายเยาวภา กล่าวถึงเพกาไว้ว่า เป็นผักที่อยู่ในหมวดดอกฝัก ฝักเพกา ใช้ต้มหรือเผา ต้องกินสุก ฝักเพกาที่นำมาใช้เป็นผักนั้น ต้องเป็นฝักอ่อน ซึ่งมีรสขมเล็กน้อย ปัจจุบันยังพบว่ามีชาวบ้านนำมาขายในตลาดสดอยู่บ้างโดยเฉพาะในภาคอีสาน
ส่วนที่รับประทานเป็นผัก
ยอดและดอกอ่อนสีเหลืองอ่อนเกสรแดงนั้น มีรสขมอ่อนๆ คล้ายใบยอ นำมาลวก ต้ม หรือเคี่ยวหัวกะทิข้นๆ ราดไปบนยอดดอกอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาผัดใส่กุ้งก็อร่อย นำมายำใส่กระเทียมเจียวก็มีรสชาติเยี่ยม
ฝักอ่อน เลือกเอาฝักที่เขียว ๆ อายุไม่เกิน 1 เดือน ขนาดไม่ใหญ่มากนัก สังเกตได้จากฝักอ่อนกำลังน่ากินต้องใช้เล็บมือจิกลงไปได้ จิ้มกินกับน้ำพริก นิยมนำฝักอ่อนที่ได้มาเผาไฟแรงๆ จนเปลือกพองไหม้ทั่ว ขูดลอกเอาส่วนดำที่ผิวออกให้หมด จะได้ส่วนในที่มีกลิ่นหอม หั่นเป็นชิ้นตามขวางหนาพอประมาณ สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งนำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นเครื่องเคียงลาบ ก้อย ใช้ทอดกินกับไข่ ใส่แกง คั่ว ยำ ผัดกับหมูต่างผักอื่น หรือทำแกงอ่อมปลาดุกใส่ฝักเพกาแทนใบยอก็อร่อย จนทำให้ลืมอาหารรสเด็ดอื่นที่เคยลิ้มลองได้สนิท
คุณค่าทางโภชนาการ
ในยอดอ่อน 100 กรัม พบว่าให้
นอกนั้นเป็นเถ้าและน้ำ
ฝักอ่อนเพกา100 กรัม มีวิตามินซีสูงมาก ถึง484 มิลลิกรัม วิตามินเอ 8.3 กรัม มีประโยชน์ช่วยป้องกันมิให้เซลล์ร่างกายแก่เร็วเกินไป ปกป้องอนุมูลอิสระมิให้เกิดขึ้นในร่างกาย อันเป็นผลทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ หากรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินอีสูงๆ เช่น รำข้าวในข้าวกล้อง ช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
สรรพคุณ :
สรรพคุณตามตำรายาไทย พบว่ามีการใช้เพกาตั้งแต่เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ และเมล็ด จัดเป็น “เพกาทั้ง 5″ใช้รากเป็นยาบำรุงธาตุ แก้บิด ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย
สารเคมี
เทคนิคการขยายพันธุ์เพกา ด้วยการชำรากหรือชำต้น
การขยายพันธุ์ต้นเพกา(ลิ้นไม้) ทุกวิธี ใช้เวลาเพาะประมาณ 1.5 2 เดือน จึงสามารถย้ายลงหลุมปลูกได้
เทคนิคการขยายพันธุ์เพกา แบบเพาะเมล็ด
ต้นลิ้นไม้ 1 ต้นที่มีลักษณะดี เจริญเติบโตเร็ว ออกดอกเยอะ ผลดก และติดฝักดี โดยลิ้นไม้(เพกา) หนึ่งต้นสามารถขยายพันธุ์ต่อได้อีกประมาณ 500 ต้น
เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษาต้นเพกา
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน