เพชรสังฆาต รักษาริดสีดวง เพิ่มมวลกระดูก

9 พฤษภาคม 2557 สมุนไพร 0

เพชรสังฆาต หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่าตำลึงทอง เป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานานแล้ว จัดเป็นไม้เลื้อยลักษณะลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมครีบ ผิวเรียบ มีรอยคอดบริเวณข้อ ใบเดี่ยว ออกข้อละ 1 ใบ บริเวณปลายเถา รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ ขอบใบหยักมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ตรงข้ามใบมีมือเกาะ สามารถขึ้นได้ทั่วไป ชอบดินร่วนซุยไม่มีน้ำขัง ขึ้นง่าย ทนแล้ง ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

ในตำรายาโบราณว่าไว้ เถาเพชรสังฆาตมีรสร้อน ขม และคัน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ริดสีดวงทวาร แก้ลมในลำไส้ กร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
วงศ์ : Vitaceae
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด

pechsangkatking pechsangkatdok pechsangkatbai

สำหรับการวิจัยในประเทศไทยนั้น มีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้เพชรสังฆาตเพื่อการรักษาโรคริดสีดวงทวาร โดย พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของ เพชรสังฆาตในผู้ป่วยริดสีดวงทวาร จำนวน121 คน จากโรงพยาบาลชุมชนในต่างจังหวัด 4 แห่งในประเทศไทย เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน คือดาฟลอน(Daflon) พบว่าประสิทธิภาพไม่ต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผู้วิจัยได้มีการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของการรักษา พบว่า ค่าใช้จ่ายของ แคปซูลเพชรสังฆาตเท่ากับ 5% ของค่ายาดาฟลอน สรุปว่าการใช้ยาไทยอย่างเพชรสังฆาต นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่านั่นเอง และข้อสำคัญคือเจ้าเพชรสังฆาตนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงในระยะเริ่มต้น แต่สำหรับระยะที่มีการติดเชื้อ อักเสบรุนแรงอาจต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

นอกจากเพชรสังฆาตจะช่วยรักษาริดสีดวงทวารได้แล้วยังมีประโยชน์ในเรื่องของการบำรุงกระดูกได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้อย่าง แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทอินเดีย โดยสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก

ริดสีดวงทวารคือ การที่เส้นเลือดดำ รอบๆทวารหนักเกิดการโป่งพองขึ้น ทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวารขึ้น ซึ่งอาการเริ่มต้นจะมีตั้งแต่คันที่ปากทวารหนัก จนไปถึงเจ็บทวารหนักเวลาขับถ่าย หรือบางทีมีเลือดปนมากับอุจจาระ ลักษณะเป็นเลือดสดๆหลังการขับถ่าย จะว่าไปอาการค่อนข้างน่ากลัวนะครับ ใครที่เคยเป็นคงทราบถึงความทุกทรมานดี ส่วนสาเหตุที่เป็นนั้นส่วนใหญ่เกิดมาจากพฤติกรรมการขับถ่าย หรืออาการท้องผูกเรื้อรัง ทำให้ต้องใช้กำลังภายในในการเบ่งมาก (พูดเหมือนหนังจีนเลย)จึงทำให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักเกิดการโป่งพองจนกลายมาเป็นโรคริดสีดวงในที่สุด

pechsangkathor

การใช้ภายนอกจะใช้เถาเพชรสังฆาตโขลกจนแหลกและเนียนเพื่อทำเป็นยาพอกบริเวณที่กระดูกหักซึ่งจะช่วย เยียวยากระดูกที่หัก และลดอาการบวมและอักเสบได้ การทำเป็นยาพอกนี้นอกจากใช้กับคนแล้วยังมีการ ใช้กับสัตว์ได้เช่นกันส่วนการใช้เป็นยาภายในจะใช้เป็นส่วนผสม ในตำรับยารักษากระดูกหัก

มีการวิจัยพบว่าเพชรสังฆาตมีส่วนประกอบของวิตามินซีในขนาดสูง และมีแคโรทีน เอ (Carotene A) ซึ่งคาดกันว่าทำให้เพชรสังฆาตมีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังมีอนาโบลิกสเตียรอยด์(Anabolic steroids) และแคลเซียม โดยที่อนาโบลิกสเตียรอยด์มีฤทธิ์ช่วยเร่งปฏิกิริยา การหายหรือสมานกระดูกที่แตกหักโดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกที่หักให้กลับมาเท่ากับก่อนที่จะหักภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์

pechsangkattao

สรรพคุณของเพชรสังฆาต

  • เพชรสังฆาต ใช้ปรุงเป็นยาธาตุช่วยให้เจริญอาหาร (น้ำจากต้น)
  • น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล (น้ำจากต้น)
  • น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ (น้ำจากต้น)
  • ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ต้น)
  • ใช้เถาเพชรสังฆาตคั้นเอาน้ำมาดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (เถา,น้ำคั้นจากต้น)
  • ช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ใบยอดอ่อน)
  • เพชรสังฆาต สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ (เถา)
  • แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ (เถา,น้ำคันจากต้น)
  • แก้กระดูกแตก หัก ซ้น (เถา)
  • ใช้เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก (ใบ,ราก)

สรรพคุณเพชรสังฆาตใช้เป็นยารักษาริดสีดวง
ด้วยการใช้เถาเพชรสังฆาตสดๆ ประมาณ 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้ออาหาร นำรับประทานด้วยการสอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขามเปียก หรือใบผักกาดดองแล้วกลืนลงไป ห้ามเคี้ยว เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึก Calcium Oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมาก การรับประทานสดๆอาจทำเกิดอาหารคันในปาก ระคายต่อเยื่อบุในปาก และในลำคอได้ และการรับประทานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน อาการของโรคริดสีดวงก็จะดีขึ้น (เถา)
หรือจะใช้เถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลเบอร์ 2 ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและช่วงก่อนนอน รับประทานไปสัก 1 อาทิตย์ก็จะเห็นผล (เถา)

pechsangkat

วิธีการใช้รักษาโรคริดสีดวง จะใช้เพชรสังฆาตสดหนึ่งปล้อง แต่เนื่องจาก เพชรสังฆาตมีรสขม และคันคอมาก หากรับประทานไปตรงๆ ปากอาจจะพองได้ แถมยังคันคอมากอีกด้วย คล้ายกับเวลาเราทานพืชจำพวกบอน ฉะนั้นจึงแนะนำให้ ตัดเถาสดเป็นปล้องเล็กๆ ปล้องละ 1 เซนติเมตร หุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก แล้วกลืนวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังอาหาร โดยให้ทานติดต่อกัน 10 วันจึงจะเห็นผล ถ้ายังไม่หายดี หรือหายขาด แนะนำ ให้ทานต่ออีก 5 วัน

อีกวิธี เป็นวิธีการใช้เพชรสังฆาต แบบแห้ง โดยให้ใช้เพชรสังฆาตไปตากแห้ง จากนั้นนำมาบดใส่แคปซูลเบอร์ 2 (หาซื้อได้ตามร้านขายยา) จะได้ผงยานี้ 250 มิลลิกรัม โดยให้รับประทานครั้งละสองแคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร และ ก่อนนอน โดยรับประทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้น ถ้าเริ่มหายดีแล้ว ให้รับประทานติดต่อกันอีก 7 วันจะทำให้หายขาด

แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น