การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ เป็นการเลี้ยงที่มีผู้นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะดูแลรักษาง่าย กบมีความเป็นอยู่ดีและเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการสะดวกสบายต่อ ผู้เลี้ยงในด้าน การดูแลรักษา บ่อกบดังกล่าวนี้สร้างด้วยการก่อแผ่นซีเมนต์ หรือที่เรียกว่า แผ่นซีเมนต์บล๊อก และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบจะหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บกักขังน้ำ คือมีความสูงจากพื้นเพียง 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนา เพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดสุด พื้นที่ ๆ เป็นที่ขังน้ำนี้ นำวัสดุลอยน้ำ เช่น ไม้กระดาน ขอนไม้ ต้นมะพร้าวทิ้งให้ลอยน้ำเพื่อให้กบขึ้นไปเป็นที่อาศัยอยู่ บางแห่งในส่วนพื้นที่ใต้น้ำยังเป็นที่เลี้ยงปลาดุกได้อีก โดยปล่อยปลาดุกลงเลี้ยงร่วมกับกบในอัตรา กบ 100 ตัว ต่อปลาดุก 20 ตัว ซึ่งเป็นผลดีเมื่อเปรียบเทียบเห็นได้ชัด คือ ปลาดุกจะช่วยทำความสะอาดภายในบ่อโดยเก็บเศษอาหารและมูลกบกิน ทำให้น้ำในบ่อสะอาดและอยู่ได้นานกว่า บ่อที่ไม่ได้ปล่อยปลาดุก ซึ่งนอกจากจะเป็นการทุ่นแรงงานแล้ว ยังทำให้ผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งระยะเวลาเลี้ยงและจำหน่ายกบและปลาดุกอยู่ในโอกาสและ เวลาเดียวกัน
กบ เป็นสัตว์สี่เท้าจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
กบจัดอยู่ในวงศ์รานิดี (Ranidae) สกุลรานา (Rana) ผิวหนังขรุขระ ไม่มีขนและเกล็ด
ที่บริเวณผิวหนังของกบจะมีต่อมเมือกและน้ำใส ๆ เพื่อช่วยให้ผิวหนังของกบนั้น มีความชุ่มชื่นอยู่เสมอ กบไม่มีคอและหางซึ่ง เป็นประโยชน์ต่อการว่ายน้ำ มีขา 2 คู่ ขาด้านหน้ามีขนาดเล็กและสั้น มีนิ้วเท้าสี่นิ้วที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยนิ้วที่หนึ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก ขาคู่หลังมีมัดกล้ามเนื้อที่มีความแข็งแรง คอยประคองและค้ำจุนให้กบสามารถกระโดดไปด้านหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีข้อเท้าขนาดยาวช่วยในการกระโดด ระหว่างนิ้วเท้าทั้งห้าของขาคู่หน้าและหลัง มีหนังบาง ๆ เป็นแผ่น ๆ ยึดติดกันใช้สำหรับว่ายน้ำ
ลักษณะทั่วไป
กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำตื้น ๆ หรือแอ่งน้ำเล็ก ๆ มีหัวลักษณะคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม มีสัณฐานค่อนข้างแบนเรียบ ปากกว้าง นัยน์ตากลมโตและโปนโดยบริเวณหนังตามีแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิดนัยน์ตาดำของกบ มีหูอยู่บริเวณด้านหลังของนัยน์ตาที่มีลักษณะเป็นแอ่งกลม ๆ ทำหน้าที่เหมือนกับแก้วหูของมนุษย์ มีรูจมูกสองรูอยู่ด้านหน้าของนัยน์ตา ภายในปากมีฟันขนาดไล่เลี่ยกันคล้ายกับซี่เลื่อย ลิ้นมีปลายแยกออกเป็นสองแฉก ใช้สำหรับจับแมลงและสัตว์อื่นเป็นอาหาร หายใจโดยใช้ปอดและสามารถหายใจได้ทางผิวหนัง มีการพบกบบางชนิดในอินโดนีเซียไม่มีปอด
หายใจโดยผิวหนังอย่างเดียว
ในช่วงฤดูแล้ง กบโดยทั่วไปจะอยู่แต่ในรูและไม่ออกหาอาหารชั่วคราว ภาวะนี้มักเรียกว่า กบจำศีล
กบกลายเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเนื้อกบมีโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทุกส่วนของร่างกายสามารถนำไปทำประโยชน์ได้หลากหลายชนิด เช่น หนังกบสามารถนำไปทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องดนตรี และของชำร่วยต่าง ๆ ส่วนหัว อวัยวะระบบทางเดินอาหารและกระดูกที่ตัดชำแหละแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ ปัจจุบันกบได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงในการเกษตรของเกษตรกร
ลักษณะทางกายวิภาค
กบ เป็นสัตว์ที่มีไข่แดงปานกลาง ใช้เวลาประมาณ 6 วันหลังจากการปฏิสนธิ เอมบริโอจะเจริญเป็นลูกอ๊อด (tadpole) และสามารถหาอาหารกินเองได้พวกเอมบริโอที่เจริญนอกตัวแม่ จะมีส่วนที่ช่วยป้องกันอันตราย เช่น ไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม ไข่กบมีวุ้นหุ้ม
กบในประเทศไทย
กบที่พบในประเทศไทยมี 38 ชนิด แต่ที่พบทั่วๆไป มีดังนี้ คือ
วัสดุ/อุปกรณ์
แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต
แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ
ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป
บ่อซีเมนต์
นิยมใช้เลี้ยงกันทั่วไปทั้งกบนาและกบบูลฟร๊อก มีขนาดตั้งแต่ 2x 2.5×1 ลบ.ม. จนถึง 3x 4×1 ลบ.ม. บ่อกักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร มีหลังคาหรือสิ่งคลุมปิดบังแสงสว่างบางส่วน เพื่อทำให้กบไม่ตื่นตกใจง่ายและช่วยในการป้องกันศัตรู บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์ การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก ความหนาแน่นที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ คือ 50-80 ตัว /ตารางเมตร กบรุ่นหรือกบเนื้อ คือ 100-120 ตัว/ตารางเมตร และลูกอ๊อด คือ 1,000-1,500 ตัว/ตาราง (ขึ้นอยู่กับขนาดของลูกอ๊อดแต่ละชนิด)
การสร้างบ่อเลี้ยงกบ
บ่อเลี้ยงกบควรจะสร้างด้วยคอนกรีต หรือวัสคุอี่น ๆ ที่มีความแข็งแรงพอสมควร สามารถป้องกันไม่ให้กบหนี และป้องกันศัตรูจากภายนอกไม่ให้เข้าไปทำลายกบได้ บ่อเลี้ยง กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ
สำหรับการสร้างบ่อเลียงกบด้วยคอนกรีตนั้น หลังจากการสร้างบ่อเสร็จน้ำในบ่อ จะมีสภาพ
เป็นด่างมาก ยังไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงกบ ให้แก้ไขโดยใช้สารส้มหนัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำนบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ์งไว้ 3-4 วัน จึงถ่ายน้ำทิ้งแล้วขัดให้สะอาดด้วยแปรง ตากบ่อให้แห้งเติมน้ำใหม่ลงไปก็เริ่มใช้เลี้ยงกบได้ ข้อควรระวังดืออย่าตากบ่อคอนกรีต ไว้นานจะทำให้บ่อแตกร้าวได้
การสร้างบ่อในรูปแบบต่างๆ ตามกำลังทุนของเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งสภาพโดยทั่วไป ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้เกษตรกรยังสามารถเลือกรูปแบบการสร้างบ่อ ตามที่ตนเองถนัดได้อีกด้วย แต่ประการที่สำคัญก็คือ บ่อเลี้ยงกบที่สร้างนั้นจะต้องมีการถ่ายเทน้ำได้ สะดวก แสงแดดส่องถึง ทำความสะอาดง่ายและอยู่ใกล้ต่อการดูแล เป็นต้น
การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อ ควบคุมโรครวมถึงการจับ บ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นที่ที่เป็นพื้นบกสำหรับกบอาศัยอย่างน้อย 2/3 ของบ่อ ที่เหลือเป็นพื้นน้ำ
วิธีดำเนินการ
การเพาะพันธุ์กบ
ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก
การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน
เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้น ไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว
การอนุบาลลูกกบจะแบ่งเป็น 2 ระยะ
การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต
เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้
การรักษาโรคของกบ
การที่กบที่เลี้ยงไว้เป็นโรคต่าง ๆ นั้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความสกปรกของบ่อ การจัดการและดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้กบมีสภาพอ่อนแอ หรือในกรณีที่กบไม่มีบาดแผล อาจเกิดจากอาหารสกปรกก็ได้ เมื่อผ่าอวัยวะภายในพบว่าถุงน้ำดีมีสีเขียวเข้มถึงน้ำเงินแก่ ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ลำไส้เล็กส่วนท้ายเกิดการตกเลือด ปอดมีตุ่มหนอง
วิธีการรักษา
สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้กบเกิดโรคคือ
การป้องกันโรคกบแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
จากประสบการณ์ในการเลี้ยงกบนาหลากหลายรูปแบบ เกษตรกรได้พบปัญหาเรื่องโรคกบ และได้ค้นหาวิธีการป้องกันแบบภูมิปัญญาชาวบ้านหลายวิธีดังนี้
สถานที่ให้คำปรึกษา
1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
ป้ายคำ : สัตว์น้ำ