การเลี้ยงจิ้งหรีด?

13 พฤษภาคม 2557 สัตว์ 0

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย จะหลบซ่อนตัวตามสนามหญ้าและทุ่งหญ้า ตามรอยแตกของดิน รูใต้ดิน หรือใต้กองเศษหญ้า จิ้งหรีดมีลำตัวกระทัดรัดมีขาคู่หน้าที่ใหญ่แข็งแรงมาก กระโดดเก่ง กินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร ให้สารอาหารโปรตีนสูง ปลอดสารพิษสามารถรักษา โรคขาดสารอาหารได้

ชนิดของจิ้งหรีด
จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 ชนิด

  1. จิ้งหรีดดำ ลำตัวกว้างประมาณ 0.70 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ตามธรรมชาติมี 3 สี คือ สีดำ สีทอง สีอำพัน โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ จะมีจุสีเหลืองที่โคนปีก 2 จุด
  2. จิ้งหรีดทองแดง ลำตัวกว้างประมาณ 0.60 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือ มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก จิ้งหรีดม้า เป็นต้น
  3. จิ้งหรีดเล็ก มีขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางท้องที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด เป็นต้น ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทอดแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนึ่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง
  4. จิ้งโก่ง เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็นต้น
  5. จิ้งหรีดทองแดงลาย มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครึ่งตัว และชนอดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองดแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด

  1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
  2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลดสารพิษไว้บริโภค
  3. เป็นกิจกรรมยามว่าง ส่งเสริมสุขภาพจิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
  4. เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ เป็น ปลา และอื่น ๆ
  5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง (จิ้งหรีดกระป๋อง)
  6. เพื่อการกีฬา เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา

จิ้งหรีด เป็นแมลงที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง) มีขนาดประมาณ 4.85 ซม. x 1 ซม. มีสีน้ำตาลปนเหลือง ชอบกระโดด กินพืชเป็นอาหาร ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร โดยการทอดคั่ว แกง ห่อหมก และยำ จิ้งหรีดมีสารอาหารโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาขาดสารอาหารได้ เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์เร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะที่เกษตรกรจะนำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ไว้บริโภคและจำหน่ายเพิ่มรายได้ เนื่องจากเลี้ยงไม่มาก สามารถใช้เวลาว่างจากการเพาะปลูกมาดูแลจิ้งหรีดได้ภายในเวลา 1 ปี จะสามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 5 รุ่น

jingredpid

ปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้

  • ขันไข่ บ่อละ 5 ขัน
  • ท่อปูนพร้อมฝาปิดท่อ ขนาดกว้าง 80 ซม. สูง 50 ซม. จำนวน 1 ท่อ หรือกะละมังพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 72 ซม. สูง 30 ซม. หรือจะเป็นภาชนะที่ใส่ได้ทุกขนาด
  • ตาข่ายไนล่อนเขียว 100 x 100 ซม. จำนวน 1 ผืน
  • แผ่นพลาสติก ขนาด 25 x 270 ซม. จำนวน 1 ผืน
  • ยางรัดปากบ่อหนา 1 ซม. จำนวน 1 เส้น
  • ถาดอาหาร-น้ำ กว้าง x ยาว = 5 x 10 ซม. ลึก 1.5 ซม. 2 ถาด
  • กระบอกไม้ไผ่ ยาว 20 ซม. ผ่าครึ่งจำนวน 10 อัน หรือกระดาษรังไข่ 3 อัน
  • ถาดหรือถุงพลาสติกใส่ดินร่วนปนทราย หนา 2 ซม.
  • เศษหญ้าแห้งวางหนา 2 ซม.
  • เทปกาว

โรงเรือนหรือสถานที่เลี้ยงจิ้งหรีด
สถานที่เลี้ยงจิ้งหรีด จะต้องป้องกันแดดและฝนได้ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนวัสดุที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีด หรือภาชนะที่จะใช้เป็นที่อยู่ของจิ้งหรีดนั้น เป็นอะไรก็ได้ ที่สามารถขังจิ้งหรีดได้และระบายอากาศได้ดี เช่น กล่องฟิวเจอร์บอร์ด ท่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น

jingredrean

การจัดการการเลี้ยงจิ้งหรีด

  • สร้างเรือนโรง หรือหลังคาป้องกันแดดและฝนโดยให้แดดส่องเช้าเย็น
  • การปรับพื้นที่กำจัดมดและศัตรูจิ้งหรีด
  • การวางปอบนฝาใช้ปูนผสมทรายฉาบริมขอบภายใน-ภายนอกป้องกันมดเข้าทำลายลูกจิ้งหรีด
  • ติดแผ่นพลาสติกด้วยเทปกาว
  • พันธุ์จิ้งหรีด การเริ่มครั้งแรก หาพันธุ์ได้จากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีตัวโต แข็งแรงมากอวัยวะครบทุกส่วน สีเข้ม อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 3 ตัวต่อ 1 บ่อ หลังปล่อยแล้วต้องตรวจนับทุก 3 วัน หากพ่อ-แม่พันธุ์ตาย ให้หาพันธุ์มาทดแทนจิ้งหรีดจะผสมพันธุ์วางไข่และฟักออก เป็นตัวอ่อนหลัง วันที่ 10 เลี้ยง 1 บ่อจะให้ลูกจิ้งหรีดได้ระหว่าง 2,100-2,500 ตัว
  • การให้น้ำควรเปลี่ยนน้ำทุก 2 วัน

jingredkai jingredarharnjingredleang jingredmung
การให้อาหารและน้ำ
พืชอาหาร ได้แก่ ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืชหรือหญ้าสดทุกชนิด หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง โดย 2 วัน ให้หญ้า 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือโดยหญ้าเก่าไม่ต้องนำออก จะเป็นที่อาศัยของจิ้งหรีดต่อไป

jingredya

อาหารเสริม รำอ่อน หรืออาหารสำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงไก่จิ้งหรีด 1 บ่อ ใช้อาหาร 3กก./รุ่น ราคาประมาณ 15 บาท/กก. อาหารเสริมควรให้ในปริมาณที่กินหมดภายใน 2 วัน
การให้น้ำ ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูข้างขวด 2 รู ใช้ผ้าทำความสะอาดม้วนใส่รูเพื่อให้น้ำซึมสำหรับจิ้งหรีดวัยตัวอ่อน

jingredrung

ภาชนะสำหรับวางไข่จิ้งหรีด ใช้ดินร่วนปนทรายและแกลบเผาใส่ขันสำหรับอาบน้ำ ใช้ฟ๊อกกี้ฉีดน้ำทุก 3 วัน พอขึ้นไม่แฉะก่อนฉีดน้ำนำถาดอาหารออกก่อน ถ้าเปียกจะเกิดเชื้อรา ใช้เฉพาะในช่วงที่มีตัวเต็มวัยที่จะวางไข่

jingredwangkai

วงจรชีวิตจิ้งหรีด

  • ระยะไข่ รูปร่างยาวเรียว คล้ายเมล็ดข้าวสาร สีน้ำตาลอ่อน ความกว้างของไข่ 5.1 มม. ความยาว 2.38 มม. แม่พันธุ์ 1 ตัวสามารถ วางไข่ได้ถึง 1,000 ฟองทีเดียว โดยมีการวางไข่แบ่งเป็น 4 รุ่น แม่พันธุ์จะใช้เข็มแทงลงดิน วางไข่ไว้ใต้ดินที่มีความชื้น ไข่จะฟักออกเป็นตัว เมื่ออายุครบ 7 วัน
  • ระยะตัวอ่อน ลำตัวสำน้ำตาลปนเหลือง ฟักออกจากไข่ช่วงแรกยังไม่มีปีก จะเริ่มมีตุ่มปีกในเมื่อถึงกลางวัยอ่อน พอลอกคราบ 8 ครั้ง จึงเข้าสู่วัยแก่ (รวมอายุวัยอ่อนระหว่าง 42 55 วัน)
  • ระยะตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น มีหนาม ไว้ทำเสียง เพศเมีย มีปีกเรียบ และมีเข็มวางไข่อยู่ส่วนท้ายของลำตัว อายุวัยแก่ประมาณ 38 49 วัน
  • การผสมพันธุ์ ตัวเต็มวัยอายุ 3 4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ตัวผู้จะขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงหลายจังหวะ หลายสำเนียงในการสื่อสารความหมายต่างๆ สำหรับการผสมพันธุ์จะเกิดตลอดช่วงอายุตัวเต็มวัย โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้
  • การวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อผสมพันธุ์ผ่านไป 3 4 วัน แบ่งการวางไข่เป็น 5 รุ่น วางไข่ได้เฉลี่ย 1,200 1,700 ฟอง/จีง โดยวางไข่ไว้ใต้ดิน และฟักออกเป็นตัวเมื่อไข่อายุครบ 7 วัน

ผลผลิต
เลี้ยง 1 บ่อ จะให้ลูกจิ้งหรีดในวัยที่สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 5 กก./บ่อ/รุ่น

โรคและศัตรูของจิ้งหรีด

  • จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูรบกวนมากนัก ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการกำจัด ซึ่งจะเป็นอันตราต่อจิ้งหรีดและผู้บรืโภค
  • โรคทางเดินอาหาร เกิดจากจิ้งหรีดได้รับอาหารที่ไม่สะอาด เกิดเชื้อรา วิธีป้องกัน คือ การให้อาหารที่มีจำนวนพอเหมาะกับจำนวนจิ้งหรีดเมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรทำ ความสะอาดบ่อก่อนนำจิ้งหรีดรุ่นใหม่มาเลี้ยง
  • สัตว์ศัตรู เช่น มด จิ้งจก ไร แมงมุน ป้องกันโดยโช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด

แหล่งข้อมูลและสอบถาม
กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ
โทร/โทรสาร 0-2940-6102
http://www.moac.go.th (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ )

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น