การเลี้ยงปลาดุกในท่อปูนซีเมนต์เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่ สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย สำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อน ย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไป ประกอบเป็นอาชีพเสริมได้และผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ
ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
- ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
- ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 – 120 วัน
- ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
- สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
- ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
- มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
- การสร้างบ่อ
- บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
- ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
- ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
- มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
- การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 – 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
- ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
- น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
- น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 – 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้
อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยง
- ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.
- อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 – 100 ตัว
- ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 – 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
- ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.
- การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
- ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
- ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
- ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง
- ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด
การถ่ายน้ำ
- เริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึก 10 – 15 ซม.
- เพิ่มระดับน้ำอีก 5 – 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ 10 – 15 วัน
- ระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม.
- ถ่ายเทน้ำทุก 5 -7 วัน
- ถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ
- ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหาร
- อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
– ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
– ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น
- อาหารสด เช่น เศษปลา ไส้ไก่ ปลวก โครงไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น ให้อาหารประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)
การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก
- ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไป
- ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป
- รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม
- ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน
โรคปลาดุกและการรักษา
- โรคกระโหลกร้าว แก้ไขโดยผสมวิตามินซี 1 กรัมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 15 วัน
- โรคจากเชื้อแบคทีเรียและแผลข้างตัว ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเททราไซคลิน 1 กรัม ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 7-10 วัน
- หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์กลมแบบง่ายๆ
คุณชา ลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลขที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ. สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลา ดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการเลี้ยงดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์
- ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
- ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
- ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
- ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
- ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
- ตาข่าย
- น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
- ปูน ทราย หิน
- อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
- พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
- ลูกปลาดุก 70-80 ตัว
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
- จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย
- นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง
- นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 3 การเลี้ยง
- นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
- นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง
- วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
- นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
- การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น
หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที เหตุผลเพื่อ
- ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
- ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
- ปลาไม่ป่วย
- การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
- อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
- ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ
ขั้นตอนที่ 5 การจำหน่าย
- ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
- ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
- ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี
การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
- ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
- น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
- ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
- มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
- กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม
วิธีทำ
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน
ประโยชน์
- เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
- ปลาไม่เป็นโรค
- ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
- ปลาไม่มีมันในท้อง
- ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย