การเลี้ยงปลาสลิดแบบธรรมชาติ

8 ธันวาคม 2559 สัตว์ 0

การบันทึกข้อมูลในงานวิจัยทุกขั้นตอน มาปรับใช้กับการเลี้ยงปลาสลิด รวมทั้งจดบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดในช่วงระยะเวลา 2 ปี จดบันทึกการเลี้ยงทุกขั้นตอน จนเข้าใจวิธีการเพาะฟักลูกปลาให้มีอัตราการรอดสูง วิธีการให้อาหารที่เหมาะสมกับปลาแต่ละช่วงวัย วิธีการดูแลให้ปลาแข็งแรงปลอดโรค วิธีลดปริมาณศัตรูปลาที่แย่งอาหาร และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วางแผนการเลี้ยงปลาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีผลผลิตเพิ่มและรายได้เพิ่ม

ใช้วิธีการศึกษาปัญหา หาวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ภูมิปัญญา ใช้ความรู้ จากวิถีชีวิตชาวบ้านมาพัฒนาวิธีการเลี้ยงและดูแลปลาสลิดที่เป็นรูปแบบของตัวเอง โดยใช้หลักการเลี้ยงปลาตามหลักธรรมชาติแบบง่ายๆ คือ ฟันหญ้าเป็นอาหารเลี้ยงปลา ปรากฏว่าได้ผลผลิตที่ดีแถมมีต้นทุนต่ำ ฟาร์มเลี้ยงปลาจึงเริ่มมีผลกำไรเป็นกอบเป็นกำไรในปีที่ 3 และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

plasaalidtambo

เน้นการเลี้ยงและดูแลปลาสลิดแบบธรรมชาติ ก่อนเลี้ยง ต้องตากบ่อ ประมาณ 45 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยปลาเข้าเลี้ยงในบ่อ แต่ละบ่อมีความกว้าง ประมาณ 1.5-2 เมตร ระดับความลึก 1-1.2 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 50-70 เซนติเมตร ระดับน้ำในบ่อสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร

plasaalidtamna

ปล่อยให้ต้นหญ้าขึ้นหนาแน่นบริเวณขอบบ่อเลี้ยงปลา เพื่อใช้เป็นที่ก่อหวอดและวางไข่ของปลาสลิด แล้วต้นหญ้ายังมีประโยชน์ เป็นที่หลบภัยของลูกปลาวัยอ่อนจากศัตรู ยังสามารถใช้ต้นหญ้ามาหมักในแปลงนาก่อนเพาะฟัก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อแก้ปัญหาความเป็นกรดของน้ำ ข้อดีประการต่อมาคือ ปลาสลิด อายุราว 20 วัน คุณปัญญาสามารถใช้ต้นหญ้าเป็นอาหารเลี้ยงปลาได้อีกทางหนึ่ง โดยจะฟันหญ้าอ่อนให้ลูกปลากินทุกๆ 15 วัน จนกระทั่งลูกปลาอายุประมาณ 4 เดือน สำหรับปลาสลิดที่อายุ 3 เดือน คุณปัญญาจะให้หญ้าอ่อน ควบคู่กับอาหารเม็ดสำเร็จรูป โดยทำยอเป็นที่ให้อาหาร ในอัตรา 2% ของน้ำหนักตัว เพียงวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเช้า

plasaalidtampy

คุณปัญญาบอกว่า ควรให้อาหารปลาสลิดอย่างถูกวิธี การให้อาหารปลาแต่ละครั้งควรจดบันทึกปริมาณอาหารที่ให้ปลา และคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารหมดช่วงเวลาไหน ถ้าปลาสลิดกินหมดช่วงเวลาเย็น แสดงว่าอาหารพอดีกับความต้องการของปลา หากปลาสลิดกินอาหารหมดเร็ว แสดงว่าอาหารไม่พอ ควรเพิ่มปริมาณอาหารอย่างเหมาะสม

วิธีการบันทึกการให้อาหารปลาสลิดของคุณปัญญา คือเมื่อปลาสลิดมีอายุได้ 3 เดือน จะใช้วิธีการจับปลาแบบยกยอ ทุกๆ 15-20 วัน จนกว่าจะจับขาย เพื่อตรวจสอบดูว่า 1 กิโลกรัม มีปลากี่ตัว และใน 1 บ่อ มีปลากี่ตัว เพื่อเป็นการคำนวณน้ำหนักของปลาที่เลี้ยงในบ่อทั้งหมด ก่อนที่จะนำมาคำนวณหาอัตราส่วนการแลกเนื้อของปลา และอาหาร รวมทั้งคำนวณต้นทุนกำไร

“เกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิดในชุมชนแห่งนี้จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันตลอด เน้นเลี้ยงปลาสลิดแบบธรรมชาติ เลี้ยงในปริมาณที่ไม่หนาแน่น เพื่อให้ปลาเจออากาศบริสุทธิ์ ผมเน้นเลี้ยงปลาสลิดทุกตัวให้มีความสุข เพื่อให้เกิดสารความสุขอยู่ในตัวปลา คนกินปลาก็จะมีความสุขไปด้วย” คุณปัญญากล่าว

คุณปัญญา โตกทอง ได้โดยตรงที่ โทร. (083) 706-6006

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น