ปลาหมอไทย (Climbing perch) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus (Bloch) เป็นปลาที่รูจักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่ หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตของปลาหมอไทยส่วน ใหญ่ได้มาจากการทำประมงจากแหล่งน้ำธรรมชาติและผลพลอยได้จากการวิดบ่อจับปลาสลิดหรือปลาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลา หมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะคลองกระบือ อำเภอปากพนัง ในช่วงที่กุ้งกุลาดำประสบ กับปัญหาโรคระบาดเกษตรกรบางส่วนหันมาเลี้ยงปลาหมอไทยและประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเกษตรกรขยายพื้นที่การเลี้ยงปลาหมอไทยทั้งในสภาพบ่อ ปกติและบ่อนากุ้งกุลาดำกันอย่างมากมาย
แหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ กร่อย ที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตก ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้ เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้าน ทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ
รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะ เป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ
ลักษณะแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมีย จะอูมเป่ง
การเลือกสถานที่
การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออก แบบบ่อเลี้ยงปลา ควรทำด้วยความรอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
การเตรียมบ่อเลี้ยง
การเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อหลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะ ที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินกำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลาการตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรู ปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์สูบน้ำเข้าบ่อ
สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้อง ใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย โดยเฉพาะ ในช่วงที่ฝนตกการปล่อยปลาลงเลี้ยงการปล่อยปลาปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธี คือ
– การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้า หรือเย็นระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร โดยก่อนปล่อยลูกปลาออกจากถุงที่บรรจุ ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อ ป้องกันปลาตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน ทำได้โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาที แล้วเปิดปากถุงวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ เทลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.50 เมตร
– การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ทำโดย การคัดเลือกพ่อแม่ พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูมเมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่สีเหลืองออกมา ส่วนตัวผู้เมื่อใช้มือบีบที่ท้อง จะมีน้ำเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนมออกมา เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวรอยู่ในบ่อที่ระดับน้ำไม่ น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผุ้เท่ากับ 1:1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่วันรุ่งขึ้นเมื่อ ปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผงหรือ อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาป่น อัรา1:1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่จนได้ขนาดตลาดอย่างไรก็ตาม สามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีน้ำเชื้อและไข่สมบูรณ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้วได้เช่นกัน โดยให้มีระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซนติดมตร พร้อมทั้งใช้ทางมะพร้าวปักคลุมทำเป็นที่หลบซ่อนและอนุบาลลูกปลาวัยอ่อย
อาหารและการให้อาหาร
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อ ปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้ น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียอีกด้วย
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
ถึงแม้ว่าปลาหมอเป็นปลาที่มีความอดทนทนทาน และสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำกว่าปกติก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งต้องแน่ใจว่าคุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ ไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก และสะอาดเพียงพอที่จะไม่ทำให้ปลาในบ่อเป็นโรคได้ ในช่วงเดือนแรกไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่ม ระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้วจึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้งโดยเปลี่ยนถายน้ำครั้งละ 1ใน3 ของน้ำในบ่อหรือขึ้นอยุ่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อ ด้วย
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดย ทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน หนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งเพื่อเตรียม บ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป ทั้งนี้ การเลี้ยงปลาหมอไทยในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีการเจริญเติบโตและผลผลิต ดังนี้
ตารางที่ 1 การเจริญเติบโตและผลผลิตการเลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดินของเกษตรกร อำเภอปากพนังและอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตารางที่ 2 ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงปลาหมอไทยในบ่อดินขนาด 1 ไร่
ในการจำหน่ายปลาหมอไทยจะมีการคัดขนาดปลาหมอไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขนาด มีราคาแตกต่างกันดังนี้
การเพาะพันธุ์ปลาหมอ เป็นแบบแยกเพศ ซึ่งเป็นวิธีการสืบพันธุ์ของปลาส่วนใหญ่ ปลาจะมีการแยกเพศกันเด่นชัด เพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่าเพศผู้อย่างชัดเจน เมื่อมีขนาดความยาวเท่ากัน ปลาตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวยาวเรียว ตัวเมียมีความลึกของลำตัวมากกว่าตัวผู้ ในฤดูวางไข่ปลาตัวเมียจะมีส่วนท้องอูมเป่ง และโคนหางของตัวเมียจะมีความหนากว่าตัวผู้ ปลาหมอเพศผู้จะผลิตเชื้อตัวผู้ และตัวเมียสร้างรังไข่ โดยปลาเพศเมียจะปล่อยไข่ลงในน้ำ แล้วปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาจะปล่อยน้ำเชื้อลงในน้ำเช่นกัน เชื้อตัวผู้จะว่ายน้ำอย่างรวดเร็วเข้าผสมกับไข่ทางช่องเปิด จากนั้นไข่ปลาที่ได้รับกาผสมแล้วจะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนในน้ำ ปลาหมอจะวางไข่ในน้ำไหล เป็นปลาที่ไม่มีการดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน และการแพร่พันธุ์มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ปลาหมอไทยเป็นพวกมีไข่ลอยก็จะขึ้นไปวางไข่ในบริเวณต้นน้ำ ปล่อยไข่ลอยมาตามกระแสน้ำ
การเพาะพันธุ์ปลาหมอโดยฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมน
เป็นวิธีการที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาที่ไม่สามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงหรือในบ่อเพาะได้ หรือเป็นปลาที่วางไข่ยาก ถึงแม้ปลาพวกนี้จะมีการสร้างรังไข่และน้ำเชื้อได้ดี แต่จะไม่เกิดพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่ ทั้งนี้เนื่องจากปลาต้องการความจำเพาะจากสภาพแวดล้อม เช่นต้องการการว่ายน้ำสวนน้ำหลาก หรือเลือกพื้นที่วางไข่ที่เฉพาะเจาะจง โดยปลาที่จะนำมาฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมน จะต้องเป็นปลาที่มีไข่แก่และน้ำเชื้อดีแล้วเป็นวิธีการที่เมื่อฉีดฮอร์โมนให้แก่พ่อแม่พันธุ์เรียบร้อยแล้ว จะปล่อยปลาลงบ่อ หลังจากนั้นประมาณ 4-6 ชั่วโมง ปลาจะเกิดการผสมพันธุ์วางไข่กันเอง
ฮอร์โมนสังเคราะห์ เป็นฮอร์โมนที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากใช้ง่าย สะดวกเก็บรักษาง่าย และให้ผลดี ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่จำหน่ายในท้องตลาดจะบรรจุขวดละ 10 ซีซี มีตัวยาฮอร์โมนอยู่ 10 มิลลิกรัม ก่อนใช้ควรนำฮอร์โมนมาเจือจางก่อน เพราะในการใช้ฉีดปลาจะใช้ในปริมาณที่น้อยมาก เตรียมขวดขนาดเล็กมีความจุประมาณ 15-20 ซีซี มีจุกปิดสนิท ใช้เข็มฉีดยาขนาด 1 ซีซีที่สะอาด ดูดน้ำยามา 1 ซีซีถ่ายลงในขวดที่เตรียมไว้ แล้วเติมน้ำกลั่นลงไปอีก 9 ซีซี ปิดจุกแล้วเขย่าให้เข้ากัน ดังนั้นฮอร์โมนใหม่จะมีปริมาณ 10 ซีซี มีตัวยาอยู่ 1 มิลลิกรัม หรือเท่ากับ 1000 ไมโครกรัม การใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์จะต้องใช้ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ เพื่อช่วยให้ฮอร์โมนที่ฉีดเข้าไปมีประสิทธิภาพดี ยาเสริมฤทธิ์ที่นิยมใช้มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว บรรจุแผงๆละ 10 เม็ด จะมีตัวยาอยู่ 10 มิลลิกรัม อัตราการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับปลาหมอไทย จะใช้ในอัตรา 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ปลาหมอ
วิธีการฉีดและช่วงเวลาของการฉีดฮอร์โมน คือ ก่อนทำการฉีดต้องชั่งน้ำหนักปลา โดยเลือกแม่ปลาที่มีขนาดเดียวกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน แล้วหาน้ำหนักเฉลี่ย เช่น ชุดแรกได้ 30 ตัว ชุดที่สอง 20 ตัวชุดแรกหนัก 10 กิโลกรัม ชุดที่สองหนัก 5 กิโลกรัม (ปกติฉีดไม่เกิน 2 ซีซี ถ้าฉีดมากกว่านี้ปลาจะบอบช้ำ) เนื่องจากปลาชุดแรกมี 30 ตัว ใช้เข็มฉีดยาดูดสารละลายฮอร์โมน แบ่งฉีดตัวละ 0.1 ซีซีจนหมด ชุดที่สองก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ในการดำเนินการ ส่วนตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมนโดยทั่วไปแล้วจะฉีดฮอร์โมนในบริเวณใต้ครีบหลังเหนือเส้นข้างตัว
การป้องกันและกำจัดโรค
ในการเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำจืดหรือสัตว์น้ำกร่อย ปัญหาที่ผู้เลี้ยงประสบอยู่เสมอ คือปัญหาการเกิดโรค ดังนั้น การจัดการบ่อที่ถูก ต้องเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันมิให้เกิดโรคกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพราะการปล่อยสัตว์น้ำเกิดโรคจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่การตายของปลาที่เลี้ยงไม่จำ เป็นเสมอไปว่าจะเกิดจากการเป็นโรค เพราะบางครั้งอาจเกิดจากสภาพต่างๆ ในบ่อเลี้ยงไม่เหมาะสม เชายคุณสมบัติของน้ำ ความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยง ชนิด และคุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยง ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์จะสามารถแยกได้ว่า สาเหตุการตายของปลาเกิดจากสาเหตุใด โดยทั่วไปโรคปลา หมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่านลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำในภาชนะแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้
โรคจุดขาว
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร
การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิตชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมงและแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ
โรคจากเห็บระฆัง
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก
สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะแพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง
โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้าน บนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่
สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำ อีก 1-2 ครั้ง
โรคจากเชื้อรา
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง
โรคแผลตามลำตัว
อาการ ในระยะเริ่มแรกจะทำให้เกล็ดปลาหลุดและผิวหนังเริ่มเปื่อยลึกลงไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวเป็นสาเหตุให้ ปลาเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราต่อไป
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
การป้องกันและการรักษา
1.ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวก ไนโตรฟูราซาน ในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาเป็นโรคในสารละลายออกซิเตตร้าซัยคลินในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของดรค อาจผสมยาปฏิชีวนะจำพวกออกซิเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปล่ 1 กิโลกรัมหรือ ใช้ยาปริมาณ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 5-7 วัน
วิธีปฏิบัติและข้อควรระวังในการใช้ยาและสารเคมี
การใช้ยาและสารเคมีทุกชนิดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และมีสิ่งควรปฏิบัติ ดังนี้
ข้อควรระวังในการใช้ยา
การคำนวนยาเพื่อใส่ในบ่อปลา
วัดขนาดความกว้าง ความยาวของบ่อ และระดับความลึกของน้ำในบ่อ (หน่วยเป็นเมตร) แล้วคำนวณปริมาณยาที่จะใช้ เช่น บ่อมีความกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ระดับน้ำลึก 1.50 เมตร
ปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ
= 40 x 40 x 1.50 เมตร
= 2400 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลิน ความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม ในการรักษาโรคจะต้องใช้ 25 x 2400 = 60000 ซีซี หรือประมาณ 60 ลิตร
แนวโน้มการเลี้ยงปลาหมอไทยในอนาคตปลาหมอไทยในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียได้อีกด้วย ทำให้แนวโน้มของ การ เลี้ยงปลาชนิดนี้ในอนาคตมีลู่ทางแจ่มใส นอกจากนี้เป็นปลาที่อดทนสามารถเลี้ยงแบบหนาแน่น ทั้งในบ่อทั่วไปหรือนากุ้งในพื้นที่น้ำจืด และหากมีการ จัดการบ่อ ที่เหมาะสมถูกต้องแล้ว จะมีปัญหาเรื่องโรคระบาดน้อย
ที่มา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครราชสีมา
ป้ายคำ : สัตว์น้ำ