ปลาไหล เป็นปลาน้ำจืดที่บางท้องถิ่นเรียกว่า “ไหลนา” บ้างก็เรียก “เหยี่ยน” เนื้อรสชาติดี มีให้เลือกซื้อกันทั้งแบบเป็นๆ และหั่นเป็นชิ้นแล้ว ตามตลาดสดที่ขายอาหารพื้นบ้านใหญ่ๆ การซื้อปลาไหลมาทำความสะอาดเองจะได้ปลาไหลที่สด เนื้อหวาน แต่ปลาไหล เป็นปลาที่ตายยาก ต้องทุบหัวให้ตายแล้วใช้ใบข่อย ใบตะไคร้ ใบสัก ใบมะเดื่อ ทราย หรือสก็อตไบรท์รูดตัวปลาจนขาวซีด ล้างน้ำให้สะอาดจึงผ่าท้อง เอาไส้ออกหั่นเป็นแว่นหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หรือหั่นท่อนยาว ๑ นิ้ว นิยมนำมาทำผัดเผ็ด แกงเผ็ด ผัดกะเพรา และต้มยำ เคล็ดลับความอร่อยคือต้องทำความสะอาดอย่างดี เลือกปลาไหลลำตัวกว้างเท่าหัวแม่มือ จึงจะรับประทานก้างปลาได้กรุบอร่อย ใส่เครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ ให้ถึงเครื่องเทศและใส่เหล้าเพื่อดับกลิ่นคาว
ปลาไหลนา หรือปลาไหลบึง จัดเป็นปลาอยู่ในวงศ์ Synbranchiformes ครอบครัว Synbranchidae ซึ่งปลาในครอบครัวนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ
ลักษณะทั่วไป
ปลาไหลนาสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน แหล่งน้ำทั่วไป สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และสามารถใช้ลำไส้ส่วนท้าย (hindgut) เป็นเครื่องช่วยในการหายใจ ฤดูแล้งจะขุดรู อยู่อาศัยลึก 1 – 1.5 เมตร ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ (hermphrodite)โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น ด้านน้ำหนักเพศเมียจะมีน้ำหนักตั้งแต่100 – 300 กรัม เพศผู้มีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม จัดเป็นพวกปลากินเนื้อ (carnivorous) กินอาหารที่มีสภาพสดจนถึงเน่าเปื่อย ตัวหนอน ตัวอ่อนแมลง หอย ไส้เดือน และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ (benthos) มีนิสัยรวมกลุ่มกันกินอาหาร
ฤดูวางไข่ของปลาไหล
ปลาไหลจะวางไข่ช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม มากที่สุด ปลาไหลนามีการวางไข่ ๒ รูปแบบ คือ วางไข่บริเวณกอหญ้าหรือพืชน้ำอื่นๆ โดยปลาเพศเมียและเพศผู้จะจับคู่และก่อหวอดเป็นฟองขาวๆบริเวณกอหญ้าบนผิวน้ำแล้ววางไข่ และอีกแบบหนึ่งคือ วางไข่ปากรูโดยปลาไหลเพศเมียใช้ลำตัวดันดินปากรูให้เป็นโพรงและให้โพรงสูงกว่าระดับน้ำประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อให้ไข่ลอยอยู่ในโพรงได้ และจะคอยระวังศัตรูอยู่ภายในรู ปลาไหลจะเลี้ยงลูกจนมีขนาด ๓-๔ นิ้ว โดยลูกปลาจะกินซากพืชและสัตว์หรือแมลงน้ำตัวเล็กๆ
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลาไหลชอบอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ที่มีความรกด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด ชอบอาศัยในรากผักตบชวา รากวัชพืชต่างๆ เป็นปลาที่มีนิสัยอดทน อยู่ได้ทั้งในน้ำและในดินโคลนตม สามารถขยายพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่กว้างเงียบ และแหล่งน้ำสะอาดชุกชุมด้วยสัตว์น้ำเล็กๆ และมีวัชพืชปกคลุม มีรากพืชหมักหมมอยู่มาก ปลาไหลมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย บางจังหวัดมีมาก มีการจับ แปรรูปแข่งขันกัน เช่น จังหวัดสุรินทร์
การเพาะพันธุ์
การแยกเพศ สามารถแยกได้ดังนี้
การเพาะขยายพันธุ์ปลาไหล โดยปกติทำได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนการเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม ได้มีผู้ทำการทดลองฉีดฮอร์โมน Suprefect + Motilium ในระดับต่างๆ กัน ปรากฏว่าปลาไม่มีการวางไข่แต่อย่างใด
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ โดยใช้เทคนิคการเตรียมบ่อเพาะให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด สามารถเพาะเลี้ยงได้ทั้งในถังไฟเบอร์ บ่อดิน บ่อซีเมนต์และท่อซีเมนต์กลม โดยจะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การคัดแยกเพศของพ่อแม่พันธุ์ปลาไหล จะกระทำได้ยากมาก เพราะปลาไหลนามีลักษณะเพศคล้ายๆ กัน ถ้าดูจากลักษณะภายนอก จะไม่สามารถแยกเพศให้เด่นชัดได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่ปลาไม่มีการวางไข่ แต่ถ้าในช่วงฤดูวางไข่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะสามารถสังเกตเพศของปลาไหลได้เด่นชัดขึ้น ดังนี้
– เพศผู้ ความยาวมากกว่า ๖๐ เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า ๔๐๐ กรัม ท้องไม่อูม ตัวยาวเรียว ช่องเพศสีขาวซีดไม่บวม ลำตัวสีเหลืองคล้ำ
– เพศเมีย ความยาว ๒๙-๕๐ เซนติเมตร น้ำหนัก ต่ำกว่า ๓๐๐ กรัม ท้องอูมเป่ง ตัวอ้วน ท้องป่อง ช่องเพศสีแดงเรื่อๆ บวม (ช่วงผสมพันธุ์) ลำตัวมีสีเหลืองเปล่งปลั่ง
เมื่อคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลได้แล้ว ให้นำมาปล่อยในบ่อเพาะพันธุ์ที่เตรียมไว้ โดยการปล่อยพ่อแม่พันธุ์จะพิจารณาจากขนาดของบ่อเป็นหลัก เช่น ถ้าเป็นบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ควรปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ ๑ : ๓ ต่อพื้นที่ ๑ ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นท่อซีเมนต์กลม ควรปล่อยพ่อพันธุ์ ๑ ตัว และแม่พันธุ์ ๓ ตัวต่อ ๑ ท่อ
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เมื่อปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาไหลลงบ่อเพาะแล้ว ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาไหล โดยให้อาหารและดูแลทำความสะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารที่นำมาให้พ่อแม่พันธุ์ปลาไหลควรเป็นพวกอาหารปลาสดหรือเป็ดสับเป็นชิ้น พอเหมาะกับปากของปลา ในปริมาณร้อยละ ๓ ต่อน้ำหนักตัว โดยให้วันละ ๑ ครั้งในช่วงเย็น เนื่องจากปลาไหลนามีอุปนิสัยชอบออกหากินในที่มืด และสภาพแวดล้อมเงียบสงบ การถ่ายน้ำในบ่อเพาะพันธุ์ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ปลาจะต้องใช้เวลาปรับตัว ๒-๔ เดือน จะพบว่า น้ำฝนเป็นสิ่งกระตุ้นให้แม่พันธุ์ปลาไหลวางไข่ได้เป็นอย่างดี และปลาไหลนามักวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงใกล้หน้าฝน แต่ช่วงที่ปลาไหลไข่ชุกที่สุด คือ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และจะพบไข่ปลาไหลทุกครั้งหลังจากฝนตก เมื่อพ่อแม่ปลาไหลพร้อมที่จะวางไข่แล้ว ปลาเพศผู้จะสร้างหวอดและแม่ปลาวางไข่สีขาวมีช่องว่างอยู่ตรงกลาง โดยไข่ปลาจะติดอยู่ใต้หวอดและกองอยู่ตามพื้น ไข่ปลาไหลที่ออกใหม่ๆ มีขนาดใหญ่ประมาณ ๓ มิลลิเมตร สีเหลืองทอง เปลือกไข่มีลักษณะแข็งและกลม แม่พันธุ์ปลาไหล ๑ ตัว สามารถให้ไข่ได้ไม่เกิน ๒,๐๐๐ ฟอง ลูกปลาที่ฟักออกมาใหม่จะมีความยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร ไข่ปลาไหลบางฟองอาจฟักออกเป็นตัวห่างกันนานถึง ๖ ชั่วโมง เนื่องจากแม่ปลาไหลอาจวางไข่ไม่พร้อมกันและในช่วงวางไข่ แม่ปลาไหลจะมีนิสัยดุร้ายมาก หลังจากก่อหวอด ๗-๑๐ วัน ก็รวบรวมลูกพันธุ์ขึ้นมาอนุบาลต่อไป
ฤดูวางไข่
สามารถเพาะพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุด ในเดือนสิงหาคม ปริมาณความดกของไข่ปลาไหลขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักและความยาว คือ
ความยาว ปริมาณไข่
การพัฒนาของไข่
ปลาไหลนาจะมีไข่เพียง 1 ฝัก ไข่ปลาไหลนาเป็นลักษณะไข่จมไม่ติดวัสดุเมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตรมีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบหู อายุ 5 – 6 วันถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบหูหายไป และเริ่มกินอาหารได้ อัตราการฟัก 70 – 80 เปอร์เซ็นต์
นิสัยการกินอาหาร
ปลาไหลนาขนาด 2.5 – 3.0 เซนติเมตร กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ คือ ไรแดง วันละ 2 ครั้ง ขนาดความยาว 5 เซนติเมตร เริ่มฝึกให้กินอาหารผงสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดงจนอายุได้ 6 สัปดาห์ ปลาจะมีขนาด 8 – 10 เซนติเมตร เริ่มให้ปลาสดบดวันละ 2 ครั้ง และสามารถนำไปเลี้ยงเป็นปลา ใหญ่ต่อไป
การเพาะขยายพันธุ์ โดยปกติสามารถทำได้โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติควรทำ ในบ่อซีเมนต์ขนาด 5 x 10 x 1 เมตร ใส่ดินเหนียวหนา 30 เซนติเมตร ให้ดินสูงด้านใดด้านหนึ่งใส่พ่อแม่ตารางเมตรละ 4 ตัว ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ปลูกพรรณไม้น้ำ เพื่อให้คล้ายกับธรรมชาติมากที่สุด ให้ปลาสดสับผสม น้ำมันตับปลากินวันละ 1 มื้อ ๆ ละ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อ น้ำหนักตัว ให้กินตอนเย็น ถ่ายเทน้ำสัปดาห์ ละ 1 ครั้ง ปลาจะต้องใช้เวลาปรับตัว 2 – 4 เดือน เมื่อปลาเพศผู้พร้อม จะสร้างหวอดไข่สีขาวมีช่องว่าง อยู่ตรงกลาง คล้ายกับขนมโดนัท ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์ วางไข่ในตอนใกล้รุ่ง หลังจากก่อหวอด 7 – 10 วัน ก็รวบรวมลูกพันธุ์ขึ้นมาอนุบาลต่อไป
ส่วนการเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียม ได้มีผู้ทำการทดลองฉีดฮอร์โมน Suprefect + Motilium ในระดับต่าง ๆ กัน ปรากฎว่าปลาไม่มีการวางไข่แต่อย่างใด
การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
การเลี้ยงปลาไหลนาให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงได้ในบ่อซีเมนต์ และท่อซีเมนต์กลมโดยมีวิธีการ คือ
ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา
การรวบรวมพันธุ์ปลาจากธรรมชาติ เข้ามาเลี้ยงควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไปปลาจะบอบช้ำได้
ควรคัดปลาขนาดเดียวกันลงเลี้ยงรวมกันเพื่อลดปัญหาการกินเองโดยเฉพาะในปลา อายุต่ำกว่า 2 เดือน
พื้นบ่ออนุบาลควรฉาบผิวให้เรียบป้องกันปลาเป็นแผลถลอกได้
ฟางข้าวที่ใช้เพื่อการเลี้ยงควรเป็นฟางข้าวที่แห้ง
บ่อควรมีร่มเงาบังแสงแดดบ้าง
ที่มา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดปัตตานี