หลักการทำงานของปั้มแบบนี้คือ การเพิ่มอัตราการไหลของน้ำในท่อให้เพิ่มมากขึ้นโดยการทำท่อให้คอดลงเพื่อให้สามารถสร้างแรงดูดในท่อเวนจูรี่ เพื่อดูดของเหลวเข้าท่อนั้น ส่วนประกอบของปั้มเป็นแบบง่าย ๆ คือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ สารละลายปุ๋ยเคมีที่ใช้จะบรรจุอยู่ในถังพลาสติกที่เปิดฝาไว้ อัตราส่วนความเจือจางของสารละลายปุ๋ยมีค่าคงที่ สามารถจะเลือกแบบและขนาดของปั้มได้ตามต้องการ ทั้งราคายังถูกกว่าแบบอื่น ๆ
ปั้มแบบนี้จะมีข้อเสียคือมีการสูญเสียความดันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของความดันที่ทางเข้า การสูญเสียความดันทำให้อัตราส่วนของส่วนผสมระหว่างน้ำชลประทานและปุ๋ยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นอกจากนี้ความดันที่ได้จากปั้มแบบนี้ยังไม่ค่อยคงที่อีกด้วย ดังนั้นถ้าเราจะเลือกใช้ปั้มแบบนี้ควรเลือกต้นกำลังที่ให้ความดันได้สูงพอ เพื่อชดเชยความดันที่ลดลงของปั้ม
วาล์วแบบเวนจูรี่ เป็นวาล์วที่ใช้ในการให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำมีหลายขนาด ส่วนประกอบภายในมีบอลวาล์ว,สปริง,ยางกันซึม เป็นลักษณะวาล์วกันกลับ คือน้ำเดินทางเดียว หลักการทำงานคือ ทำให้เกิดความแตกต่างของแรงดันโดยเปิดวาล์ว LV2 และ LV3 ก่อน แล้วหรี่วาล์ว LV1(ตามภาพประกอบ) เพื่อให้วาล์วเวนจูรี่ทำงาน โดยวาล์วเวนจูรี่จะดูดน้ำปุ๋ยขึ้นไปตามท่อ ไมโครพีอี(ตามภาพ) เพื่อจ่ายน้ำปุ๋ยเข้าไปในระบบน้ำ แต่ของที่มีข้อดีมันก็มีข้อเสียครับ ข้อเสียของวาล์วตัวนี้คือ เมื่อใช้งานจะต้องหรี่วาล์วเมน ทำให้เกิดการสูญเสียแรงดันไปมากพอควร เท่าที่ทราบบางสวนแก้ปัญหาโดยการเพิ่มโซนจ่ายน้ำให้แก่พืช แต่ที่สวนผมทดลองใช้วิธี หรี่วาล์ว LV1 ให้เวนจูรี่ทำงานสักพักเพื่อให้น้ำปุ๋ยเข้าไปในระบบน้ำ แล้วเปิดวาล์ว LV1 ให้สุดเพื่อให้แรงดันเท่าเดิม ทำสลับกันไปเรื่อย อาจจะดูยุ่งยากไปบ้างแต่การให้ปุ๋ยทางดินเราก็ไม่ได้ให้ทุกวัน ที่สำคัญการละลายปุ๋ยทางดินผสมไปกับระบบน้ำเพื่อให้รากพืชได้ดูดซึมไปใช้ได้เลย น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าการใช้วิธีการหวานซึ่งเสี่ยงต่อการระเหิดของปุ๋ย และน่าจะลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลงได้
ข้อดีของปั้มแบบเวนจูรี่
ข้อเสียของปั้มแบบเวนจูรี่
ป้ายคำ : ระบบน้ำ