เสลา เปลือกลำต้นสีน้ำตาลดำหรือสีคล้ำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว ปลายกิ่งย้อยลู่ลงสู่พื้น ใบมีขนปกคลุมประปราย ช่อดอกออกตามกิ่ง ตามง่ามใบและปลายกิ่ง แต่ช่อไม่ชูตั้งขึ้นเมื่อดอกในช่อบานจะชิดกัน ดอกสีชมพูอมม่วง ออกดอกช่วงฤดูร้อน ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลไหม้ มีชื่ออื่น ๆ ว่า เสลาใบใหญ่, อินทรชิต
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.
วงศ์ LYTHRACEAE
ชื่ออื่น เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป)
ลักษณะ
เสลา เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 10-20เมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10ซม. ยาว 16-24ซม. ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่เป็น 6 กลีบ รูปกลมบางยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4ซม. เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลรูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2ซม. ผลแห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบและป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ออกดอก มีนาคม – เมษายน ผลแก่ประมาณเดือน พฤศจิกายน เก็บเมล็ดเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด 1 กิโลกรัมมีเมล็ดประมาณ 170,000 เปอร์เซนต์การงอก 75 %ช่วงเวลาที่ใช้ในการงอก 20 วัน ช่วงเวลาใช้เพาะชำ 4 เดือน จะได้ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูง 600-700 เมตร ออกดอกเดือน มี.ค.-เม.ย. ติดผลเดือน เม.ย.
ประโยชน์
เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน
ไม้ทำเครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือ ทำพื้น รอด ตง คาน ได้ดี ปลูกเป็นไม้ประดับ
ที่มา
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล
ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
ป้ายคำ : ไม้ดอก