เสื่อลำแพน

เสื่อลำแพนหรือเสื่อกะลา เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ ในอดีคเสื่อลำแพนเป็นที่นิยมทำฝาบ้าน และเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวชาวนามักใช้เสื่อลำแพนรองพื้นบริเวณที่ฟาดข้าว

การจักสานไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านทำกันมานานจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนชาวบ้านสานไม้ไผ่เป็นของใช้ภายในครัวเรือน ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกัน มีการรวมกลุ่ม และ มีการพัฒนาภูมิปัญญา

lumpantam

เขตที่มีไม้ไผ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชาวบ้านจึงได้นำไม้ไผ่มาจักสานเพื่อใช้ประโยชน์มานานกว่าร้อยปีแล้ว โดยเริ่มแรกตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ได้จักสานเสื่อลำแพนไว้เพื่อใช้เอง เช่น ตากข้าว ตากของ ใส่ข้างเกวียน มีกระโซ่ใส่หัวท้าย บรรจุข้าวเปลือก และผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรแต่ต่อมาได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่น และ ละแวกใกล้เคียงมาพบภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของชาวบ้าน จึงได้สั่งทำไว้ใช้บ้าง ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันทำเสื่อลำแพนเพื่อจำหน่าย จึงเกิดเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น และได้เรียกกันว่า เสื่อลำแพน เพราะเป็นเสื่อที่ผลิตจากลำต้นของไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ตง หรือ ไม้ไผ่ดำ เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 7 10 เซนติเมตร จักสานให้เป็นเสื่อแผ่นใหญ่ตามขนาดที่ต้องการได้
เสื่อลำแพนในยุคแรกมีลายสองเพียงลายเดียว ไม่มีลวดลายวิจิตรงดงามดังปัจจุบัน ต่อมามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีมาช้านานแล้ว จึงได้จัดตั้งกลุ่มสตรีแม่บ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มสหแสงชัยเสื่อลำแพนในปัจจุบันนี้ และได้พัฒนาให้มีขนาดและคุณภาพ เหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้ตามความต้องการของลูกค้า และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นสินค้าสร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน มาจนปัจจุบัน

วัตถุดิบ

  1. ไม้ไผ่
  2. มีด
  3. เลื้อย

ขั้นตอนการผลิต

  1. นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ มาตัดเป็นท่อน ๆ
  2. ผ่าไม้ไผ่เป็นซีก แล้วจักเป็นตอก
  3. นำไปผึ่งแดด
  4. นำตอกมาสานเป็นเสื่อลำแพน
  5. นำเสื่อลำแพนไปแช่น้ำยากันมอด
  6. เสร็จแล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
  7. ม้วนจัดเก็บไว้ในร่ม ไกลจากละอองฝน

lumpantog lumpansan lumpans

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

แสดงความคิดเห็น