เหียง ยางเหียง สะแบง

9 เมษายน 2560 ไม้ยืนต้น 0

เหียง ไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก. เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 8-30 เมตร ผลัดใบ ดอกสีแดง หรือสีชมพูสด ดอกเดี่ยว เป็นพวง ใบลักษณะคล้ายต้นซาด แต่เล็กกว่า ดอกมีขาดเล็กกว่า ทนแล้ง ชอบดินทรายแบบอีสาน ปรับตัวได้ยอดเยี่ยม ยางของไม้ชนิดนี้ ใช้ยาเครื่องจักรสาน ยาแนวเรือ ใบใช้เย็บเป็นตับมุงหลังคาเถียงนา และฝากั้น ใช้ห่ออาหาร หลายส่วนของต้นไม้ชนิดนี้ ใช้เป็นยาสมุนไพร จึงนับว่ามีประโยชน์มาก

ชื่อสามัญ Hairy Keruing
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.
ชื่อท้องถิ่น ยางเหียง (จันทบุรี ตราด) ซาด (อีสาน) กุง (มาเลเซีย-มลายู) เกาะสะเตียง ตะแบง ตะลาอ่ออาหมื่อ ตาด ยางเหียง ล่าทะยอง สะแบง สาละอองโว เห่ง เหียงพลวง เหียงโยน สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เหียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ); เหียงพลวง เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)

ลักษณะ

  • ต้น: ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 12-30 เมตร กึ่งผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับกัน ใบรูปไข่ ขนาดของใบ 10-20×13-25 เซนติเมตร ฐานใบและปลายใบกลม เนื้อใบหนาและมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องแบบรางน้ำบริเวณเส้นแขนงใบ ใบแก่หลังใบค่อนข้างเกลี้ยง ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม หูใบลักษณะเป็นกาบหุ้ม
  • ดอก: ดอกเป็นช่อสั้นๆแบบช่อแยกแขนง เกิดระหว่างง่ามใบค่อนไปทางปลายกิ่ง ช่อดอกมีกาบหุ้มเมื่อยังอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบซ้อนทับกัน ปลายกลีบบิดเวียนแบบกังหัน ดอกสีชมพูเข้ม เกสรเพศผู้ 30 อัน ล้อมเกสรเพศเมีย รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลช่องละ 2
  • ผล: ผลเป็นผลแห้งแล้วไม่แตก เปลือกผลแข็งติดแน่นอยู่กับเมล็ด มี 5 ปีก ซึ่งเจริญเติบโตมาจากกลีบเลี้ยง ปีกยาว 2 ปีก ขนาด 3-5×10-15 เซนติเมตร ปลายปีกกว้างและสอบเรียวไปหาโคนปีก ผลกลมเกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาล ผิวเป็นมัน เส้นปีก 3 เส้นบนปีกเห็นเด่นชัด ส่วนอีก 3 ปีกสั้นติดกับตัวผลบริเวณโคนปีกใหญ่ ผลแก่สีน้ำตาลเข้ม
  • เปลือก: เปลือกนอกสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดหนาและแตกเป็นร่องลึกตามความยาวของลำต้นและแตกตามขวางตื้นๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง

การกระจายพันธ์
ขึ้นเป็นกลุ่มๆ บริเวณดินทราย เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าชายหาด ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและใต้ ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม

การใช้ประโยชน์ ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,เนื้อไม้ใช้ทำกระดานและพื้นบ้าน น้ำมันจากลำต้นใช้ยาไม้ ยาแนวเรือ

สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสฝาด ต้มน้ำผสมน้ำเกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ใบและยาง รสฝาดร้อน กินเป็นยาตัดลูก (ทำให้ไม่มีบุตร) น้ำมันยาง สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว ยาง รสร้อน สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว น้ำมัน ใช้ทาแผลภายนอก เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น