เห็ดระโงก เป็นเห็ดในสกุล Amanita เห็ดสกุลนี้เป็นสกุลที่มีทั้งเห็ดพิษและเห็ดที่รับประทานได้ และเป็นที่รู้จักกันอย่างดี นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะเริ่มออกเมื่อต้นฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคมเรื่อยไปจนสิ้นฤดู
เห็ดระโงกมีสองชนิดสีขาวและสีเหลือง สีขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amanita citrine var citrine (Yama Kei, 1994) มีส่วนของครีบ (annulus) ยาวเป็นแผ่นใหญ่ติดอยู่กับก้านดอก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ Amanita vaginata ไม่มี สีเหลืองมีชื่อว่า Amanita wubjunguillea (Yama Kei, 1994) ด้วยเหตุผลเดียวกันคือมีครีบ ติดเป็นแผ่นกว้างอยู่กับก้านดอก ใต้หมวก และเป็นลักษณะสำคัญของเห็ดชนิดนี้
เห็ดระโงกจัดเป็นราไมคอร์ไรซา (mycorrhizas) ที่มีความสัมพันธ์กับไม้วงศ์ยางในลักษณะการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกันกับเซลล์ของรากพืช โดยที่ต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ (mutualistic symbiosis) ราจะช่วยดูดน้ำและธาตุอาหารจากดิน โดยเฉพาะฟอสฟอรัส (P) ให้แก่พืช ส่วนราก็ได้สารอาหารจากพืชที่ขับออกมาทางรากสำหรับใช้ในการเจริญเติบโต เช่น น้ำตาล โปรตีนและวิตามินต่างๆ
นอกจากนี้ราไมคอร์ไรซายังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อก่อโรคพืช ต้นกล้าที่มีราไมคอร์ไรซาจึงมีการอยู่รอดมากกว่าพืชที่ไม่มีราไมคอร์ไรซา เพราะสามารถทนแล้ง และธาตุอาหารต่ำได้ดีกว่าต้นกล้าที่ไม่มีรา ไมคอร์ไรซาเมื่อความชื้นและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เหมาะสม ราไมคอร์ไรซาจะเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดให้เห็นได้
เห็ดระโงก เป็นเห็ดในสกุล Amanita นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชีย เช่น A. caesareoiodes หรือ Caesars mushroom เป็นเห็ดป่าที่นิยมนำมารับประทานในญี่ปุ่นเพราะมีรสชาติดี มีราคาสูง เห็ดระโงกชนิดอื่นๆที่นิยมรับประทาน ได้แก่ A. hemibapha A. javanica, A. similis, A. princeps และ A. esculenta ในประเทศไทยมีเห็ดระโงกชนิด A. hemibapha และA. princeps วางขายในตลาดท้องถิ่น เป็นที่นิยมบริโภคเช่นกัน ชาวอีสานถือว่าเห็ดระโงกเป็นราชาเห็ดอีสาน เห็ดระโงกเริ่มออกเมื่อต้นฤดูฝน ราวเดือนกรกฎาคมเรื่อยไปจนสิ้นฤดูฝน เห็ดระโงกจึงเป็นทั้งเห็ดป่าไมคอร์ไรซา และแหล่งอาหารธรรมชาติ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจชุมชน
เห็ดระโงกเหลืองจะพบในบริเวณที่ค่อนข้างชื้น อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 94% pH 7 ความเข้มแสง 142 Luxหลังฝนตก 2-3 วัน มีแดดออกอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นเห็ดดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอกกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง
ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนารูปไข่ สีขาวนวล ขนาด 22 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูปไข่ สีเหลืองอ่อนหรือขาวนวล เมื่อบานกางออกเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-20 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน เมื่อจับจะหนืดมือ ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรอบเห็นชัดเจนตั้งแต่เริ่มโผล่ออกจากเยื่อหุ้มดอกเห็ด บางดอกมีเยื่อหุ้มเป็นแผ่นใหญ่ติดอยู่บนหมวก หลุดง่าย ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล ก้านรูปทรงกระบอก สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ยาว 10-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ภายในสีขาว เนื้อเป็นเส้นใยหยาบๆ เปราะและหักง่าย แอนนูลัส เป็นแผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้านเมื่อดอกบานค่อนข้างกลม ขนาด7-10 8-10 ไมโครเมตร
ดอกเห็ดอ่อนมีเยื่อหุ้มหนา รูปกลมหรือรูปไข่ ขนาด 3-43-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญขึ้นผิวด้านบนปริแตกออกเป็นรูปถ้วย หมวกเห็ดรูปไข่ สีน้ำตาลอมส้มหรือน้ำตาลอมเหลือง เมื่อกางออกจะเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมันและหนืดมือเมื่ออากาศชื้น ขอบเป็นริ้วยาว 0.5-1 เซนติเมตร โดยรวมเห็นชัดเจนตั้งแต่โผล่ออกจากเยื่อหุ้ม ครีบสีขาวนวล ไม่ยึดติดกับก้าน ก้านสีขาวนวล ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร ภายในสีขาวมีรูกลวง แอนนูลัส เป็นแผ่นบางสีขาวห้อยติดอยู่บนก้านสปอร์รูปวงรี ผิวเรียบ ผนังบาง รับประทานได้
ในป่ายางนา และป่าไม้วงศ์ยาง เช่น สะแบง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียน ฯลฯ ระยะต้นฤดูฝนสามารถพบหลายชนิดเกิดขึ้น เช่น เห็ดไข่แดง เห็ดไข่เหลือง หรือเห็ดระโงกเหลือง เห็ดถอบ เห็ดก้อนกรวด เห็ดแดง เห็ดตะไคลขาว เห็ดน้ำหมาก เห็ดหล่มกระเขียว ฯลฯ เป็นต้น เห็ดเหล่านี้เป็นเห็ดกินได้ เห็ดระโงกเหลืองเป็นเห็ดรสดี แต่ไม่พบรายงานว่ามีการปลูก, ในขณะที่เห็ดเผาะมีรายงานหลายแห่งว่าปลูกได้ โดยปลูกต้นยางนา พะยอม สะแบง มีพืชวงศ์ยางชนิดอื่นให้เป็นพืชอาศัย
นาย อดุลย์ ดีอ้อม 156 บ้านดู่ หมู่ 12 ต. ธาตุ อ. รัตนบุรี จ. สุรินทร์ ได้รับคำแนะนำจากญาติ ซึ่งญาติไปอบรมมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่องพืชอาศัยและวิธีใส่เชื้อเห็ด จึงนำเมล็ดยางนามาเพาะให้เป็นต้นกล้า แล้วนำดินใต้ต้นเห็ดแก่ที่ทิ้งสปอร์ลงดิน ไปใส่โคนต้นยางนา หรือได้เห็ดระโงกต้นแก่ที่ดอกบานจนสร้างสปอร์แล้ว, นำดอกเห็ดมาล้างน้ำ หรือถ้าเป็นดอกแก่จัดจนเกือบและก็นำมาขยี้ในน้ำ แล้วนำน้ำที่มีสปอร์ของเห็ดปนอยู่นี้โปรยที่โคนต้นยางนา สปอร์เห็ดงอกแล้วไปเจริญอยู่กับรากของยางนาแบบได้ประโยชน์กันและกัน ทำให้ต้นยางนาแข็งแรง โตเร็ว ทนแล้ง ต่ำมานำต้นยางนาปลูกลงเป็นแปลง 7 ไร่ ห่างกัน 3 ม. X 3 ม.
เมื่อยางนาอายุได้ 2 ปี ก็เริ่มเกิดเห็ดระโงก หรือเห็ดไข่เวลาฝนชุก ต้นฤดูฝน ปีต่อ ๆ มาก็เกิดเห็ดระโงกทุกปี และมีมากขึ้น เพราะรากยางนาเจริญแผ่กว้างขึ้น ปัจจุบันเก็บเห็ดได้ต่อเนื่องทุกปีมาแล้ว 7 ปี คุณ อดุลย์ ดีอ้อม ยังทดลองปลูกต้นไม้ และเพาะเห็ดจนได้เห็ดพอกินและเหลือขายได้อีกหลายชนิด เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตะไคล เห็ดเผิ่ง เห็ดแดง เห็ดหล่ม เป็นต้น เห็ดเหล่านี้ปลูกครั้งเดียวแต่ให้ผลผลิตยังยื่นยาวนานตราบใดที่ไม่ตัดโคนต้นไม้ เพราะต้นไม้คือ พืชอาศัยของเห็ด สนใจร่วมปลูกป่าปลูกเห็ด โทร. 0-4606-0578
ป้ายคำ : เพาะเห็ด