เอื้องเพ็ดม้า ผักไผ่น้ำ

26 กุมภาพันธ์ 2559 สมุนไพร 0

เอื้องเพ็ดม้า หรือ ผักไผ่น้ำ ต้มทั้งต้นทั้งราก ต้มน้ำดื่ม กินแก้โรคไต โรคกระษัย เอื้องเพ็ดม้า
เอื้องเพ็ดม้าเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยพบทุกภาค ชอบขึ้นในพื้นที่แฉะมีน้ำขัง ออกดอกเกือบตลอดปี ใช้รากเป็นยาขับโลหิต ขับเสมหะ แก้กระษัย แก้ริดสีดวง ยาพอกท้อง แก้ปวดท้อง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ แพทย์แผนไทย แผนโบราณ วัดโพธิ์ ขึ้นตามร่องน้ำ ชอบชื้นแฉะ ต้นสูงเลยเอว ลำต้นมีข้อปล้องคล้ายต้นไผ่ ลักษณะคล้ายผักไผ่ที่กินกับลาบ แต่ต้นใหญ่กว่ามาก ดอกออกเป็นรวงเหมือนรวงข้าว ดอกเป็นสีชมพู บางทีก็เป็นสีขาว

ชื่อสามัญ : Knotweed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polygonum tomentosum Willd.
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ชื่ออื่น : เอื้องเพ็ดม้า ผักไผ่น้ำ

ลักษณะทั่วไป
เอื้องเพ็ดม้าเป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู ชอบขึ้นในที่น้ำท่วมขังตื้น ๆ ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินเห็นข้อปล้องชัดเจน มีรากออกตามข้อ กิ่งตั้งตรงขึ้นไป สูงประมาณ 1 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบค่อนข้างกว้างเป็นรูปหอกปลายแหลม เป็นขนทั้ง 2 ด้าน ก้านใบสั้นและกาบใบเป็นแผ่นบางหุ้มรอบลำต้น ทำให้บริเวณข้อโป่งพองออก ดอกออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอดหรือซอกโคนกิ่ง ดอกมีสีขาวเกสรตัวผู้มีสีชมพู ติดเมล็ดได้ดี

aungpetmaton

พืชล้มลุก อายุข้ามปี ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยชูยอดตั้งขึ้น สูงประมาณ 75 ซม. มีข้อปล้องชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรอบต้น รูปหอก กว้าง 5 8 ซม. ยาว 15 30 ซม. ผิวใบมีขนขาวปกคลุมทั้งสองด้าน โคนก้านใบแผ่เป็นแผ่นบางหุ้มบริเวณข้อ ดอก สีขาวออกเป็นช่อจากซอกใบ หรือปลายยอด ยาวประมาณ 10 15 ซม. ดอกย่อยเรียงตัวรอบก้านช่อดอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มม. กลีบรวม 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน ปลายเกสรเมียแยกเป็น 2 เส้น ผล แห้งแล้วไม่แตก ทรงกลมนูนสองข้าง สีน้ำตาล มีเมล็ดเดียว เป็นรูปสามเหลี่ยมแข็ง สีดำ

aungpetmas

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา แล้วกระจายทั่วไปในเขตร้อนชอบขึ้น ในพื้นที่แฉะมีน้ำขัง ในประเทศไทยพบทุกภาค ออกดอกเกือบตลอดปี

สรรพคุณ :

  • เป็นยาขับโลหิต ขับเสมหะ แก้กระษัษ แก้ริดสีดวง ใช้เป็นยาพอกท้อง แก้ปวดท้อง
  • ต้นและใบคั้นเอาน้ำทาตา รักษาตาเจ็บ
  • ต้มทั้งต้นทั้งราก ต้มน้ำดื่ม กินแก้โรคไต โรคกระษัย แก้ปวดหลัง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น