แก้วมังกรเป็นผลไม้บริสุทธิ์ปลอดภัยจากสารพิษ มีกากใยสูง แคลอรี่ต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินซี คลอโรฟิลล์ เมล็ดของแก้วมังกรยังอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว สามารถต่อต้านปฏิกริยาอ๊อกซิเดชั่น ทานแล้วนอกจากดับร้อน ผ่อนกระหาย ยังบำรุงสุขภาพผิวพรรณสดชื่น ในสุภาพสตรีจะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนม ใช้เป็นผลไม้เสริมสุขภาพ และความงามได้เป็นอย่างดี
ชื่อสามัญ Dragon fruit
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hylocereus undatus (Haw) Britt. & Rose
ชื่อวงศ์ pitahaya
แก้วมังกร หรือ ชื่อภาษาอังกฤษคือ : Dragon Fruit เป็นเผาพันธ์ในเครือเดียวกับ ต้นตะบองเพชร แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นเมื่อโตแล้วประมาณ 5 เมตร แก้วมังกรจะเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรากทั้งในดินและในอากาศ แก้วมังกรเป็นพืชที่ชอบดินร่วนและดินที่ระบายน้ำได้ดี ส่วนสถานที่ ที่แก้วมังกรเจริญเติบโตได้ดี คือที่โล่งแจ้ง มีแสงแดดเข้าถึง แต่แสงแดดจะไม่แรงจ้ามากเกินไป ดอกของแก้วมังกรมีสีขาว และมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นกลีบยาวเรียงซ้อนกัน ดอกแก้วมังกรบานตอนกลางคืนเท่านั้น ผลของแก้วมังกรมีลักษณะเป็นทรงกลมรี มีสีของเปลือกตอนดิบเป็นสีเขียว และเมื่อตอนสุกจะมีสีแดงหรือสีบานเย็น และเป็นผลไม้ที่มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผลของมัน แก้วมังกรที่เนื้อด้านในเป็นสีขาวจะเป็นพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย แต่หากเนื้อเป็นสีแดงหรือสีชมพูจะเรียกว่าพันธุ์เนื้อแดง บริเวณเนื้อของแก้วมังกรจะมีเมล็ดสีดำคล้ายๆเม็ดงา
ลูกแก้วมังกร มีสารกลุ่ม FOS ในปริมาณสูง มีคุณสมบัติเป็นสาร Prebiotic ที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ได้ ช่วยแก้ปัญหาการขับถ่ายต่างๆ ได้ดี และเนื่องจากตัวมันเองไม่ค่อยถูกดูดซึม ดังนั้น กินปริมาณมากก็ไม่ทำให้อ้วน แต่คงไม่สามารถใช้เป็นอาหารหลักในการลดน้ำหนักได้
สำหรับชื่อสามัญของแก้วมังกร ถ้ายึดตาม International Journal จะใช้ว่า Pitaya ส่วน Dragonfruit เป็นชื่อสามัญที่นิยมเรียกกันในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ-ใต้ ไต้หวัน) ที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดอีกอย่างก็คือ บางประเทศในยุโรปเรียกแก้วมังกร ว่า Pitahaya
แก้วมังกรในส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ส่วนประกอบที่เป็นไฟเบอร์ ซึ่งมีปริมาณสูงมากในแก้วมังกร ช่วยบำรุงการทำงานของระบบขับถ่าย ส่วนเนื้อจะมีสารที่เรียกว่า Complex Polysaccharides เป็นตัวที่ช่วยลดการดูดซึมของไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน หรือควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ให้ปริมาณเนื้อเยอะ สามารถทานแล้วอิ่มท้อง อิ่มทน เรียกว่าสามารถกินแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลย อีกทั้งยังสามารถทานในปริมาณมากๆ ได้โดยไม่ทำให้อ้วน มีกากใยสูง แคลอรีต่ำ มีน้ำตาลน้อย นอกจากนี้เมล็ดของแก้วมังกรซึ่งเป็นสารคลอโรฟิลล์ อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
นอกจากนี้แก้วมังกร ยังเป็นผลไม้ที่มีแร่ธาตุมากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน แคลเซียม ช่วยบำรุงสุขภาพผิว และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคท้องผูก สร้างเสริมระบบการกำจัดของเสียของร่างกาย
ประโยชน์ของแก้วมังกร
การผลิตแก้วมังกรอินทรีย์
แก้วมังกร อยู่ในวงศ์ Cactaceae หรือ ตะบองเพชร สกุล Hylocereanae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocreus undutus มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ประเทศที่ปลูกเป็นการค้า เช่น เวียดนาม ไต้หวัน นิคารากัว อิสราเอล รวมทั้งในประเทศไทย
แก้วมังกร หรือ Dragon fruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus spp. เป็นพืชในตระกูลแคคตัส หรือสกุลหนึ่งของกระบองเพชร เป็นพืช
ไม้เลื้อย มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในแถบอเมริกากลาง โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามาทางประเทศเวียดนาม เมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเป็นผลไม้ประจำถิ่นของเวียดนาม
สำหรับประเทศไทยเริ่มรู้จักผลไม้ชนิดนี้อย่างแพร่หลายเมื่อ พ.ศ. 2534 เนื่องจากมีการนำเข้าต้นพันธุ์ดีจากเวียดนามมาปลูกเพื่อเป็นพืช เศรษฐกิจ โดยพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาในช่วงแรกเป็นพันธุ์เนื้อในสีขาว ต่อมาอีกระยะหนึ่งจึงมีการนำเข้าแก้วมังกรพันธุ์เนื้อในสีแดง ที่มีชื่อว่า “แดงสยาม” ซึ่งเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เข้ามาปลูกในประเทศไทย
ลักษณะโดยทั่วไปของแก้วมังกร
แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อย มีอายุยาวนานหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็น 3 แฉก มีสีเขียวอวบน้ำ ซึ่งแท้จริงคือใบที่เปลี่ยนรูปไป ส่วนลำต้นที่แท้จริงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของแฉกทั้ง 3 บริเวณตาข้าง จะมีหนาม 1-5 หนาม ดอกจะเกิดบริเวณกิ่ง ในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคมดอกจะบานในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า หลังดอกบานและติดผล ผลจะพัฒนาจนสุกแก่ เนื้อจะมีสีเหลืองสีขาว สีชมพู หรือสีแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์และมีเมล็ดสีดำอยู่ภายในเนื้อผล
พันธุ์แนะนำ
แก้วมังกรในประเทศไทยมีผลดกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษศจิกายน แต่ก็มีผลประปรายตลอดทั้งปี มักกินเป็นผลไม้สด หรือกินรวมกับผลไม้อื่นเป็นฟรุตสลัด หรือนำไปปั่นเป็นน้ำแก้วมังกร เพราะเนื้อเยอะฉ่ำน้ำ รสหวานอ่อนๆ อมเปรี้ยวนิดๆ ส่วนแก้วมังกรแดงรสจะหวานจัดกว่าเล็กน้อย
พื้นที่ปลูกและการปลูก
พื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นที่ราบสม่ำเสมอ หากเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ทำการยกร่องปลูกระยะปลูก 3 x 2.5 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร ขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x50 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 20 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน 1 หลักใช้ต้นพันธุ์ 3 กิ่ง หลังจากปลูก ทำการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ นำวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ใบไม้เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช
การดูแลรักษา
การออกดอกและติดผล
หลังปลูกประมาณ 9 เดือน แก้วมังกรจะเริ่มให้ผลผลิตทั้งนี้ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี การออกดอกหรือติดผลมากน้อย ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งสำคัญแก้วมังกรจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง ตุลาคม รวมประมาณ 8-12 รุ่น หลังดอกบาน 45 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกรที่มีอายุประมาณ 2 เดือน นับตั้งแต่ออกดอกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือสังเกตจากผลที่จะต้องมีสีแดงทั่วทั้งผล จากนั้นใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลแก้วมังกรออกจากกิ่ง และต้องระมัดระวังอย่าให้กิ่งหัก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ควรใช้กรรไกรตัดให้มีส่วนของกิ่งติดมากับผลเพื่อป้องกันผลช้ำ และเก็บรักษาผลไว้ได้นาน หากเก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 15 วัน
การขยายพันธุ์
วิธีการขยายพันธุ์แก้วมังกรที่ง่าย และสะดวกคือการปักชำ โดยเกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น ไม่ควรใช้กิ่งอ่อนเพราะจะทำให้
กิ่งเน่า กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน ซึ่งจะต้องตัดให้มีความยาวประมาณ 12 ฟุต นำโคนกิ่งแก่ (ด้านโคนหนามจะตั้งขึ้น)
นำไปจุ่มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นจุ่มโคนให้ลึก 10 เซนติเมตร แล้วนำมาวางไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 7 10 วัน จนกิ่งเริ่มเหี่ยว
ในระหว่างนี้จึงเตรียมแปลงเพาะชำ เริ่มต้นจากการปรับพื้นที่ดินให้เรียบร้อย ใส่ขี้เถ้าแกลบดำลงในแปลงหนาประมาณ 1 คืบ ถ้าหากแปลง เพาะชำอยู่กลางแจ้งควรมุงด้วยตาข่ายพรางแสง 60% จากนั้นนำกิ่งที่ชุบน้ำยาเร่งรากแล้วไปปักชำให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยเอาด้านโคน
ปักลงและต้องตั้งกิ่งให้ตรง ที่สำคัญควรระมัดระวังในเรื่องให้น้ำ เพราะหากให้น้ำมากเกินไปอาจจะทำให้กิ่งเน่าได้ โดยปกติแล้วควรให้น้ำ 2 – 3 วัน ต่อครั้ง หลังจากปักชำได้ 1 เดือนแล้ว กิ่งแก้วมังกรจะออกราก จึงจะสามารถนำไปปลูกในแปลงได้ วิธีดูว่ากิ่งแก้วมังกรนั้นสมบูรณ์พอที่จะนำไป ปลูกได้หรือไม่ ให้สังเกตการแตกยอดอ่อน ควรใช้กิ่งที่มีการแตกยอดอ่อนไปปลูกในแปลง
เทคนิคการขยายพันธุ์แก้วมังกรโดยการปักชำ
เครื่องดื่มแก้วมังกรปั่น
ส่วนผสม
วิธีทำ
ป้ายคำ : ผลไม้