แตงกวา สมุนไพรสำหรับทุกสภาพผิว

22 ตุลาคม 2556 ไม้เลื้อย 0

แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส และแมกนีเซียม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis Sativus Linn.
ชื่อสามัญ Cucumber
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นๆ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยงและแม่ฮองสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)

แตงกวา เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง

tangkwhapols

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นพืชปีเดียวลำต้นเลื้อยพันหรือทอดนอนไปตามพื้นดิน อาจยาวได้ถึง 5 เมตร มีขนเล็กๆ อยู่โดยรอบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ระบบรากแก้วแผ่กว้าง ลำต้นมี 4-5 เหลี่ยม มีการแตกแขนง ลำต้นแข็งแรง มีมือพัน

  • ใบเป็นใบเดี่ยว การเรียงใบแบบสลับ รูปร่างแบบรูปไข่ผสมสามเหลี่ยม กว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร ก้านใบยาว 5-20 เซนติเมตร แผ่นใบมีรอยเว้า 3-7 รอย โคนใบรูปหัวใจ ปลายแหลม รอยหยักเว้าเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนปลายของรอยเว้าแหลม ขอบใบแบบหยักซี่ฟัน
  • ดอกเกิดจากตาข้าง แยกเพศ ดอกมีสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4 เซนติเมตร ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นกระจุกมี 3-7 ดอกย่อย ก้านดอกย่อยยาว 0.5-2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ 3 อันเป็นอิสระแยกออกจากกัน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว อยู่บนก้านดอกที่มีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว 3-5 มิลลิเมตร รังไข่ยาว 2-5 เซนติเมตรอยู่ด้านบนก้านดอก ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมรวมกันเป็นอันเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกออกเป็นสามแฉก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงระฆังความยาว 5-10 มิลลิเมตร มีขนเล็กๆ จำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปทรงระฆังกว้างความยาว 2 เซนติเมตร กลีบดอกย่น มีขน
  • ผลแบบแตง มีรูปร่างขนาดและสีสันแตกต่างกันไป ตั้งแต่รูปกลมจนถึงทรงกระบอก มีหนามเล็กๆ และตุ่มกระจายอยู่ทั่วผลเมื่อยังอ่อนอยู่ หนามมีสีขาวหรือสีดำ เนื้อผลสีเขียวอ่อน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดแบนรูปไข่ขอบขนานสีขาว ผิวเรียบ กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร

ประโยชน์ของแตงกวา
ซิลิก้าเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก
ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีสในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการหมุนเวียนเลือด เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

tangkwhapon

แตงกวาเป็นผักที่เหมาะกับการกินยามอากาศร้อนเพราะลดความร้อนและช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีสารฟีนอลทำหน้าที่ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น นอก จากนี้ น้ำแตงกวายังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ลดอาการนอนไม่หลับ ลดกรดกระเพาะอาหาร แก้กระหายน้ำ และลดอาการโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติสม์ และอาการบวมน้ำอีกด้วย

  • แก้อาการเจ็บคอ แก้อาการเจ็บคอโดยกลั้วคอด้วยน้ำคั้นผลแตงกวาวันละอย่างน้อย 3 ครั้ง
  • แก้อาการท้องผูก น้ำคั้นผลแตงกวาเป็นยาระบายอย่างอ่อน ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะและช่วยการขับถ่าย
  • มิตรแท้ของดวงตา หั่น แตงกวาเป็นแว่นตามขวาง หลับตาวางแว่นแตงกวาลงบนเปลือกตา นอนในที่เงียบแสงสลัวๆ จะบรรเทาอาการเหนื่อยล้าของดวงตา ที่เกิดจากการใช้งานนานๆ ได้รับฝุ่นควัน แสงจ้า หรือใส่คอนแท็กเลนส์นานเกินไป

แตงกวากับสุขภาพและความงาม

  • ป้องกันสิวและสิวหัวดำ ใช้เนื้อแตงกวาขูดฝอยพอกบริเวณหน้าและคอเป็นเวลา 15-20 นาที บำรุงผิว ถ้าใช้บ่อยจะป้องกันผิวหน้าแห้ง ป้องกันการเกิดสิวและสิวหัวดำ
  • ผิวหน้าสดใส ใช้ น้ำมะนาวเล็กน้อยและน้ำลอยกลีบกุหลาบ (ที่ปลูกเองแบบปลอดสาร ใช้กลีบกุหลาบมากหน่อย น้ำไม่ต้องมาก วัตถุประสงค์คือให้น้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบออกมาอยู่ในน้ำ) ผสมกับน้ำคั้นผลแตงกวา ทาบนผิวหน้าเพื่อทำให้ใบหน้าสดใส (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีผิวมัน)
  • ผิวหน้าผุดผ่อง ใช้น้ำคั้นผลแตงกวาและนมสดปริมาณเท่าๆกัน เติมน้ำลอยกลีบกุหลาบ 2-3 หยด ทาหน้านาน 15-20 นาที ทำให้ผิวหน้านุ่มและขาวขึ้น
  • ลบถุงดำใต้ตา ใช้น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำคั้นมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ ทารอบขอบตา พักราว 15 นาทีจึงล้างออก
  • บำรุงผิว ผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำแช่กลีบกุหลาบ กลีเซอรีน และน้ำผึ้งอย่างละเท่าๆกัน ใช้ทาผิวให้ตึงกระชับเพิ่มความอ่อนเยาว์
  • ลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ ผสม น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำคั้นผลแตงกวา 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา หลังจากอาบน้ำเช็ดตัวให้ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวเช็ดบริเวณใต้รักแร้เป็นวง กลม หลังจากนั้นผสมน้ำแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน ทาใต้รักแร้ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกและเช็ดให้แห้ง ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  • ช่วยการเจริญของผม ให้ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาและน้ำแครอตเป็นประจำ ซิลิก้าและกำมะถันในน้ำแตงกวาบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนัง
  • ทรีตเม้นท์ลดความเสียหายของผมจากคลอรีน ผสมไข่ 1 ฟอง น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา และแตงกวาปอกแล้ว 1 ส่วน 4 ผล ชโลมบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีจึงล้างออก
  • ลบรอยด่างดำ การ ดื่มน้ำคั้นผลแตงกวาจะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่องรอยยุงกัด และให้ทาน้ำแตงกวาผสมน้ำลอยกลีบกุหลาบอัตราส่วนเท่าๆ กันด้วย

การปลูกแตงกวา
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

tangkwhaplang

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยรองพื้นในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

tangkwhayod

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้

  1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน
  2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 ต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
  3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป
  4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก

การปลูกโดยไม่ใช้ค้าง

tangkwhasuan

การปลูกโดยใช้ค้าง สำหรับแตงกวาบางชนิด

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

tangkwhadok

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

tangkwhaton

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้

  1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่
  2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
  3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร พรวนดิน

น้ำคั้นผลแตงกวา

  • แตง กวา 2 ผลหรือแตงร้านหนึ่งผล น้ำ 2 ถ้วย
  • น้ำแข็ง 1 ถ้วย
  • น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะหรือตามชอบ
  • น้ำมะนาวครึ่งผล

ใส่เครื่องปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจใส่ผลไม้อื่นด้วยเช่นแคนทาลูปหรือแตงโม ถ้าใส่ผลไม้อื่นสามารถลดน้ำตาลได้อีกด้วย หรืออาจใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นแล้วเทใส่แก้วเติมโซดาเย็น 1 ถ้วยก็ได้

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น