แบบที่เรียกว่า ทำ “แบบคนจน” คือทำวิธีการแบบคนจน ไม่ได้มีการลงทุนมากหลายอย่างของเขาเราก็ทำไป ก็เลยบอกว่าถ้าจะแนะนำ ก็แนะนำได้ “ทำแบบคนจน” เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศที่รวย เราก็รวยพอสมควร อยู่ได้ แต่ไม่ใช่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศอย่างก้าวหน้าอย่างมาก เพราะว่าถ้าเราเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก มีแต่.. มีแต่ถอยหลัง ประเทศเหล่านั้นที่เขามีอุตสาหกรรมสูงมีแต่ถอยหลัง และถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการปกครองแบบ แบบว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละ มีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป ไม่เหมือนคนที่ทำตามวิชาการ แล้วก็วิชาการนั้นก็เราดูตำราแล้วพลิกไปถึงหน้าสุดท้าย หนึ่งหน้าสุดท้ายนั้นเขาบอกว่า”อนาคตยังมี” แต่ไม่บอกว่าเป็นอย่างไร เวลาปิดเล่มแล้วมันก็ปิดตำรา ปิดตำราแล้วไม่รู้จะทำอะไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกใหม่ เปิดหน้าแรกก็เริ่มต้นใหม่ “ถอยหลังเข้าคลอง”แต่ถ้าเราใช้ตำราแบบที่เราอะลุ่มอล่วยกัน ตำรานั้นไม่จบ”
เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
ป้ายคำ : เศรษฐกิจพอเพียง